วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ

แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ

ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกหรือความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ ความเชื่อ ซึ่งจะขอกล่าวถึง ความหมาย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ดังนี้

ความหมายของความพึงพอใจ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542: 775) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ
พฤติกรรมเกี่ยวกับความพึงพอใจของมนุษย์คือความพยายามที่จะขจัดความตึงเครียด หรือ ความกระวนกระวาย หรือภาวะไม่ได้ดุลยภาพในร่างกาย ซึ่งเมื่อมนุษย์สามารถขจัดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แล้ว มนุษย์ย่อมได้รับความพึงพอใจในสิ่งที่ตนต้องการ (เศกสิทธิ์, 2544: 6)
อุทัยพรรณ สุดใจ (2545:7) ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อ สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอาจจะเป็นไปในเชิงประเมินค่า ว่าความรู้สึกหรือทัศนคติต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางลบ
สุพล (2540: 27) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็นในลักษณะเชิงบวกของบุคคลเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการหรือได้รับสิ่งตอบแทนที่คาดหวังไว้
สุภาลักษณ์ ชัยอนันต์ (2540: 17) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกส่วนตัวที่รู้สึกเป็นสุขหรือยินดีที่ได้รับการตอบสนองความต้องการในสิ่งที่ขาดหายไป หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สมดุล ความพึงพอใจเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมที่จะแสดงออกของบุคคล ซึ่งมีผลต่อการเลือกที่จะปฏิบัติในกิจกรรมใดๆ นั้น
อรรถพร (2546: 29) ได้สรุปว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติหรือระดับความพึงพอใจของบุคคลต่อกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกิจกรรมนั้นๆ โดยเกิดจากพื้นฐานของการรับรู้ ค่านิยมและประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับ ระดับของความพึงพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อกิจกรรมนั้นๆ สามารถตอบสนองความต้องการแก่บุคคลนั้นได้
สายจิตร (2546: 14) ได้สรุปว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ แต่ถ้าเมื่อใดที่สิ่งนั้นสามารถตอบสนองความต้องการหรือทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ ก็จะเกิดความรู้สึกทางบวกแต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสิ่งใดสร้างความรู้สึกผิดหวังไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกทางลบเป็นความรู้สึกไม่พึงพอใจ
จากความหมายที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีความสึกของบุคคลที่มีต่องานที่ปฏิบัติอยู่และความพึงพอใจจะส่งผลต่อขวัญในการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดีความพึงพอใจของแต่ละบุคคลไม่มีวันสิ้นสุด เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อมบุคคลจึงมีโอกาสที่จะไม่พึงพอใจในสิ่งที่เคยพึงพอใจมาแล้ว ฉะนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องสำรวจตรวจสอบความพึงพอใจในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรตลอดไป ทั้งนี้เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายขององค์กรหรือหน่วยงานที่ตั้งไว้

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
นักวิชาการได้พัฒนาทฤษฎีที่อธิบายองค์ประกอบของความพึงพอใจ และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับปัจจัยอื่น ๆ ไว้หลายทฤษฎี
โคร์แมน (Korman, A.K., 1977 อ้างอิงในสมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง, 2542: 161-162) ได้จำแนกทฤษฎีความพึงพอใจในงานออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. ทฤษฎีการสนองความต้องการ กลุ่มนี้ถือว่าความพึงพอใจ ในงานเกิดจากความต้องการส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อผลที่ได้รับจากงานกับการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายส่วนบุคคล
2. ทฤษฎีการอ้างอิงกลุ่ม ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับคุณลักษณะของงานตามความปรารถนาของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกให้กลุ่มเป็นแนวทางในการประเมินผลการทำงาน
ส่วนมัมฟอร์ด (Manford, E., 1972 อ้างถึงใน สมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง, 2542:162) ได้จำแนกความคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจงานจากผลการวิจัยออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
1. กลุ่มความต้องการทางด้านจิตวิทยา กลุ่มนี้ได้แก่ Maslow, A.H. , Herzberg. F และ Likert R.โดยมองความพึงพอใจงานเกิดจากความต้องการของบุคคลที่ต้องการความสำเร็จของงานและความต้องการการยอมรับจากบุคคลอื่น
2. กลุ่มภาวะผู้นำมองความพึงพอใจงานจากรูปแบบและการปฏิบัติของผู้นำที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา กลุ่มนี้ได้แก่ Blake R.R., Mouton J.S. และ Fiedler R.R.
3. กลุ่มความพยายามต่อรองรางวัล เป็นกลุ่มที่มองความพึงพอใจจากรายได้ เงินเดือน และผลตอบแทนอื่น ๆ กลุ่มนี้ ได้แก่ กลุ่มบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (Manchester Business School)
4. กลุ่มอุดมการณ์ทางการจัดการมองความพึงพอใจจากพฤติกรรมการบริหารงานขององค์กร ได้แก่ Crogier M. และ Coulder G.M.
5. กลุ่มเนื้อหาของงานและการออกแบบงาน ความพึงพอใจงานเกิดจากเนื้อหาของตัวงาน กลุ่มแนวคิดนี้มาจากสถาบันทาวิสตอค (Tavistock Institute) มหาวิทยาลัยลอนดอน

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์
มาสโลว์มีหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับแรงจูงใจ โดยเน้นในเรื่องลำดับขั้นความต้องการเขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้นแรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการพฤติกรรมของคนเรา มุ่งไปสู่การตอบสนอง ความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน (http://web.rmut.ac.th/larts/phy/module7/unit7_7.html) ได้แก่
1. มนุษย์มีความต้องการ และความต้องการมีอยู่เสมอ ไม่มีที่สิ้นสุด
2. ความต้องการที่ได้รับการสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจสำหรับพฤติกรรมต่อไป ความต้องการที่ไม่ได้รับการสนองเท่านั้นที่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรม
3. ความต้องการของคนซ้ำซ้อนกัน บางทีความต้องการหนึ่ง ได้รับการตอบสนองแล้วยังไม่สิ้นสุดก็เกิดความต้องการด้านอื่นขึ้นอีก
4. ความต้องการของคนมีลักษณะเป็นลำดับขั้น ความสำคัญกล่าวคือ เมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็จะเรียกร้องให้มีการตอบสนอง
5. ความต้องการเป็นตัวตนที่แท้จริงของตนเอง

ลำดับความต้องการพื้นฐานของ Maslow เรียกว่า Hierarchy of Needs มี 5 ลำดับขั้น ดังนี้
1. ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นต้องการปัจจัย 4 เช่น ต้องการอาหารให้อิ่มท้อง เครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความร้อน หนาวและอุจาดตา ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันแดด ฝน ลม อากาศร้อน หนาว และสัตว์ร้าย ความต้องการเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน จึงมีความต้องการพื้นฐานขั้นแรกที่มนุษย์ทุกคนต้องการบรรลุให้ได้ก่อน
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) หลังจากที่มนุษย์บรรลุความต้องการด้านร่างกาย ทำให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ในขั้นแรกแล้ว จะมีความต้องการด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตนเองเพิ่มขึ้นต่อไป เช่น หลังจากมนุษย์มีอาหารรับประทานจนอิ่มท้องแล้วได้เริ่มหันมาคำนึงถึงความปลอดภัยของ อาหาร หรือสุขภาพ โดยหันมาให้ความสำคัญกันเรื่องสารพิษที่ติดมากับอาหาร ซึ่งสารพิษเหล่านี้อาจสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับชีวิตของเขา เป็นต้น
3. ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นหลังจากการที่มีชีวิตอยู่รอดแล้ว มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว มนุษย์จะเริ่มมองหาความรักจากผู้อื่น ต้องการที่จะเป็นจ้าของสิ่งต่างๆ ที่ตนเองครอบครองอยู่ตลอดไป เช่น ต้องการให้พ่อแม่ พี่น้อง คนรัก รักเราและต้องการให้เขาเหล่านั้นรักเราคนเดียว ไม่ต้องการให้เขาเหล่านั้นไปรักคนอื่น โดยการแสดงความเป็นเจ้าของ เป็นต้น
4. ความต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น (Esteem needs) เป็นความต้องการอีกขั้นหนึ่งหลังจากได้รับความต้องการทางร่างกาย ความปลอดภัย ความรักและเป็นเจ้าของแล้ว จะต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น ต้องการได้รับเกียรติจากผู้อื่น เช่น ต้องการการเรียกขานจากบุคคลทั่วไปอย่างสุภาพ ให้ความเคารพนับถือตามควรไม่ต้องการการกดขี่ข่มเหงจากผู้อื่น เนื่องจากทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
5. ความต้องการความเป็นตัวตนอันแท้จริงของตนเอง (Self - actualization needs) เป็นความต้องการขั้นสุดท้าย หลังจากที่ผ่านความต้องการความเป็นส่วนตัว เป็นความต้องการที่แท้จริงของตนเอง ลดความต้องการภายนอกลง หันมาต้องการสิ่งที่ตนเองมีและเป็นอยู่ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ แต่ความต้องการในขั้นนี้มักเกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องผ่านความต้องการในขั้นอื่นๆ มาก่อนและต้องมีความเข้าใจในชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
(http://research.doae.go.th/data/%B7%C4%C9%AE%D5%B5%E8%D2%A7%E6.doc)
เมื่อวิเคราะห์โดยรอบด้านแล้วจะพบว่าระดับความต้องการทั้ง 5 ระดับของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์นั้น สามารถตอบคำถามเรื่องความมุ่งหมายของชีวิตได้ครบถ้วน ในระดับหนึ่ง เพราะมนุษย์เราตามปกติจะมีระดับความต้องการหลายระดับ และเมื่อความต้องการระดับต้นได้รับการสนองตอบก็จะเกิดความต้องการในระดับสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยไปตามลำดับจนถึงระดับสูงสุด การตอบคำถามเรื่องเป้าหมายและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ตามแนวของจิตวิทยาแขนงมานุษยนิยมจึงทำได้เราได้เห็นคำตอบในอีกแง่มุมหนึ่ง

ทฤษฎีความต้องการของแอลเดอร์เฟอร์ (Alderfer’ s Hierarchy Modified Need Theory)
Alderfer ได้ให้ทฤษฎีที่เรียกว่า E.R.G (Existence - Relatedness- Growth Theory) โดยแบ่งความต้องการของบุคคลออกเป็น 3 ประการ คือ (Feildman and Arnold, 1983: 110) ความต้องการมีชีวิตอยู่ (Existence needs) ความต้องการสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น (Relatedness needs) และ ความต้องการความเจริญก้าวหน้า (Growth needs)

ทฤษฎีความต้องการของเมอร์เรย์ (Murry’s Manifest Needs)
ทฤษฎีของ Murry สามารถอธิบายได้ว่า ในเวลาเดียวกันบุคคลอาจมีความต้องการด้านใดด้านหนึ่งที่จำเป็นและสำคัญเกี่ยวกับการทำงานซึ่งมีอยู่ 4 ประการ คือ ความต้องการความสำเร็จ (Needs for achievement) ความต้องการมิตรสัมพันธ์ (Needs for affiliation) ความต้องการอิสระ (Needs for autonomy)

ทฤษฎีความต้องการแสวงหาของแมคคีแลนด์ (McClelland’s Acquired needs Theory)
เป็นทฤษฎีที่บุคคลมุ่งความต้องการเฉพาะอย่างมากกว่าความต้องการอื่น ๆ ความต้องการความสำเร็จเป็นความปรารถนาที่บรรลุเป้าหมายซึ่งมีลักษณะท้าทาย ทฤษฎีนี้ทำความเข้าใจถึงรูปแบบการจูงใจความต้องการพื้นฐาน 3 ประการ คือ ความต้องการอำนาจ (Needs for power) ความต้องการผูกพัน (Needs for affiliation) ความต้องการความสำเร็จ (Needs for achievement)

ทฤษฎีสองปัจจัย (Two Factor Theory)
เป็นทฤษฎีที่ Frederick K. Herzberg ได้ศึกษาทำการวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคคล เขา ได้ศึกษาถึงความต้องการของคนในองค์การ หรือการจูงใจจากการทำงาน โดยเฉพาะเจาะจง โดยศึกษาว่าคนเราต้องการอะไรจากงานคำตอบก็คือ บุคคลต้องการความสุขจากการทำงาน ซึ่งสรุปได้ว่า ความสุขจากการทำงานนั้น เกิดมาจากความพึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจในงานที่ทำ โดยความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจในงานที่ทำนั้น ไม่ได้มาจากกลุ่มเดียวกัน แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยสองกลุ่ม คือ ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) และปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์ (Maintenance or Hygiene Factors)
1. ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานที่ปฏิบัติเป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์การให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นปัจจัยที่สามารถตอบสนองความต้องการภายในของบุคคลได้ด้วย อันได้แก่
1.1 ความสำเร็จในงานที่ทำของบุคคล (Achievement) หมายถึงการที่บุคคลสามารถทำงานได้เสร็จสิ้น และประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การรู้จักป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อผลงานสำเร็จจึงเกิดความรู้สึกพอใจและปลาบปลื้มในผลสำเร็จของงานนั้น ๆ
1.2 การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) หมายถึง การได้รับการยอมรับนับถือไม่ว่าจากผู้บังคับบัญชา จากเพื่อน จากผู้มาขอรับคำปรึกษาหรือ จากบุคคลในหน่วยงาน การยอมรับนี้อาจจะอยู่ในรูปของการยกย่องชมเชยแสดงความยินดี การให้กำลังใจ หรือการแสดงออกอื่นใดที่ก่อให้เห็นถึงการยอมรับในความสามารถ เมื่อได้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดบรรลุผลสำเร็จ การยอมรับนับถือจะแฝงอยู่กับความสำเร็จในงานด้วย
1.3 ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (The Work Itself) หมายถึงงานที่น่าสนใจ งานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ท้าทายให้ลงมือทำ หรือเป็นงานที่มีลักษณะสามารถกระทำได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยลำพังแต่ผู้เดียว
1.4 ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการได้รับมอบหมาย ให้รับผิดชอบงานใหม่ ๆและมีอำนาจในการรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ไม่มีการตรวจ หรือควบคุมอย่างใกล้ชิด
1.5 ความก้าวหน้า (Advancement) หมายถึง ได้รับเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของบุคคลในองค์การ การมีโอกาสได้ศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่มหรือได้รับการฝึกอบรม
2. ปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์ (Maintenance or Hygiene Factors) หมายถึง ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจ ในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การบุคคลในองค์การจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้น และเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกตัวบุคคล ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
2.1 เงินเดือน (Salary) หมายถึง เงินเดือนและการเลื่อนขั้นเงินเดือนในหน่วยงานนั้น ๆ เป็นที่พอใจของบุคลากรที่ทำงาน
2.2 โอกาสได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of Growth) หมายถึง การที่บุคคลได้รับการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งภายในหน่วยงานแล้ว ยังหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลสามารถได้รับ ความก้าวหน้าในทักษะวิชาชีพด้วย
2.3 ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน (Interpersonal Relation Superior, Subordinate and Peers) หมายถึง การติดต่อไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจา ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สามารถทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างดี
2.4 สถานะทางอาชีพ (Status) หมายถึง อาชีพนั้นเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคมที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี
2.5 นโยบายและการบริการ (Company Policy and Administration) หมายถึงการจัดการและการบริหารขององค์การ การติดต่อสื่อสารภายในองค์การ
2.6 สภาพการทำงาน (Working Conditions) หมายถึง สภาพทางกายภาพของงาน เช่น แสง เสียง อากาศ ชั่วโมงการทำงาน รวมทั้งลักษณะของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
2.7 ความเป็นอยู่ส่วนตัว (Personal life) ความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดี อันเป็นผลที่ได้รับจากงานในหน้าที่ เช่น การที่บุคคลถูกย้ายไปทำงานในที่แห่งใหม่ ซึ่งห่างไกลจากครอบครัว ทำให้ไม่มีความสุข และไม่พอใจกับการทำงานในที่แห่งใหม่
2.8 ความมั่นคงในการทำงาน (Security) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อความมั่นคงในการทำงาน ความยั่งยืนของอาชีพ หรือความมั่นคงขององค์การ
2.9 วิธีการปกครองบังคับบัญชา (Supervision-Technical) หมายถึง ความสามารถของผู้บังคับบัญชาในการทำงาน หรือความยุติธรรมในการบริหาร
จากทฤษฎีสองปัจจัย สรุปได้ว่าปัจจัยทั้ง 2 ด้านนี้ เป็นสิ่งที่คนต้องการ เพราะเป็นแรงจูงใจในการทำงาน องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทำให้คนเกิดความสุขในการทำงาน โดยมีความสัมพันธ์กับกรอบแนวคิดที่ว่า เมื่อคนได้รับการตอบสนองด้วยปัจจัยชนิดนี้ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน ผลที่ตามมาก็คือ คนจะเกิดความพึงพอใจในงาน สามารถทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ส่วนปัจจัยค้ำจุน หรือสุขศาสตร์ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันมิให้คนเกิดความไม่เป็นสุข หรือ ไม่พึงพอใจในงานขึ้น ช่วยทำให้คนเปลี่ยนเจตคติจากการ ไม่อยากทำงานมาสู่ความพร้อมที่จะทำงาน
นอกจากนี้ Herzberg ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า องค์ประกอบทางด้านการจูงใจจะต้องมีค่าเป็นบวกเท่านั้น จึงจะทำให้บุคคลมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขึ้นมาได้ แต่ถ้าหากว่ามีค่าเป็นลบ จะทำให้บุคคลไม่พึงพอใจในงาน ส่วนองค์ประกอบทางด้านการค้ำจุน ถ้าหากว่ามีค่าเป็นลบ บุคคลจะไม่มีความรู้สึก ไม่พึงพอใจในงานแต่อย่างใดเนื่องจากองค์ประกอบทางด้านปัจจัยนี้ มีหน้าที่ค้ำจุนหรือบำรุงรักษาบุคคลให้มีความพึงพอใจในงานอยู่แล้ว สรุปได้ว่า ปัจจัยทั้งสองนี้ ควรจะต้องมีในทางบวก จึงจะทำให้ความพึงพอใจในการทำงานของบุคคลเพิ่มขึ้น จากทฤษฎีสองปัจจัยของ Herzberg เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับขวัญโดยจะขวัญมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความพึงพอใจและการจูงใจ ซึ่งเกิดจากปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนนั่นเอง (www.lib.kku.ac.th/fulltext/Art/2543/art004-chap2.pdf)

83 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

thx you 4 yr article.
i used yr article 4 my work.

thx

very usefull.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับสำหรับบทความ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับบทความเรื่องนี้ กำลังมองหาเพื่อเพิ่มเติมให้ผลงานสมบูรณ์ ขอให้ท่านได้รับบุญกุศลในการเผื่อแผ่วิทยาทาน แก่ผู้ที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณอย่างสุดซึ้งครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กำลังหาแนวคิดเรื่องหาความพึงพอใจในการเขียนงานวิจัย ขอบคุณมากค่ะ

กุ้ย กล่าวว่า...

เป็นประโยชน์มากค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บทความมีประโยชน์มากค่ะ
จะรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยได้ไหมคะ

ขอบคุณล่วงหน้า ค่ะ

Nanny กล่าวว่า...

ดิฉันเป็นนศ.ป.โทอยู่ค่ะ กำลังทำ IS เรื่อง JOB SAT ค่ะกำลังหาทฤษฎีสนับสนุนงานอยู่ หากรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยจะได้ไหมคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

w_nanny@hotmail.com

su กล่าวว่า...

กำลังหาแนวคิดเรื่องความพึงพอใจในการเขียนงานวิจัย ขอบคุณมากค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กำลังหาข้อมูลทำ IS เช่นกันค่ะ ขอบคุณมากที่ท่านได้ลงบทความนี้ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
ืnoomai_c@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลที่สั้น กระชับ ได้เนื้อหาใจความค่ะ กำลังทำวิจัยเช่นกัน รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยคนได้ไหมค่ะ งานนี้อาจารย์ให้เวลาน้อยมากค่ะ
ห้องสมุดที่ต่างจังหวัดก้อมีหนังสือน้อย รบกวนด้วยคนค่ะ
tatoobuga@gmail.com
ขอบคุณค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณุกรมอีกคนค่ะ กำลังทำงานวิจัยส่งอาจารย์และเป็นผลงานวิจัยให้วิทยาลัยด้วยค่ะ ขอขอบพระคุณมากๆ และขอให้มีความสุขตลอดไปนะค่ะ ถ้าขึ้นไปเที่ยวจ.น่านแวะเยี่ยมที่วิทยาลัยการอาชีพปัวด้วยค่ะ

korn_beam@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมาก ๆ เช่นกัน กำลังทำเค้าโครง 3 บท ขอบรรณานุกรมด้วย ขอขอบคุณล่วงหน้า และขอให้ประสบความสำเร็จสำหรับความอนุเคราะห์นี้ ส่งที่ Suvimol.ssk5@gmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำงานวิจัยอยู่เหมือนกันคะ กำลังหาทฤษฎีสำหรับอ้างอิง และอยากได้บรรณานุกรมเหมือนกัน แต่ว่า มาพบบทความนี้ก็วันนี้เอง จะช้าเกินไปรึเปล่าคะ ยังไงรบกวนส่งให้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ
chunyapuc_b_@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กำลังทำรายงานการวิจัย ขอบคุณมากคะที่คุณเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มเติมเนื้อหาในรายงานให้ดียิ่งขึ้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากค่ะ

wat กล่าวว่า...

การวิจัยแบบนี้ง่ายดีนะ ไม่มีข้อมูลก็ขอข้อมูล ไม่มีบรรณานุกรม ก็ยังขอบรรณานุกรมเพิ่มอีก

งานวิจัย เป็นงาน ค้นคว้า หาข้อมูล ทั้งจากการปฏิบัติ และเอกสารตำรา เหมือนให้ปรุงอาหารเป็น

แล้วงานวิจัยที่ทำเช่นนี้ เพื่ออะไร -ศึกษาค้นคว้า หรือคว้า/คัดลอกข้อมูล แล้วจะได้อะไร เหมือนกลับไปกินอาหารถุง ไม่ต้องปรุง

ผู้ควบคุมวิจัยเข้ามาเห็นเข้าคงเตรียมปากกาไว้เขียน "หนังสือเล่มนี้อ่านมากหรือเปล่า" เพราะบางแล่มไม่มีในจังหวัดนั้นก็ได้

อยากให้อ่านหนังสือมาก ดีกว่า และที่ ม. ทุก ม. ก็มีการค้นหาด้วย คอม. แล้ว ไม่ลำบากนักหรอก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับบทความที่ช่วยประหยัดเวลาในการค้นคว้าแต่ถ้าใครมีเวลามากก็ควรจะค้นคว้าในตำรำจะได้ช่วยในเรื่องการอ่าน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อความนี้นะครับ เป็นประโยชน์มาก
แต่รบกวนขอบรรณานุกรมตามที่อ้างในเอกสารนี้ด้วยนะครับ ด่วนด้วย เพราะผมต้องทำวิจัยส่งภายในอาทิตย์นี้คับ
ขอบพระคุณมากครับ
ส่งมาที่ www.man_2540@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กำลังหาข้อมูลทำ IS เช่นกันค่ะ ขอบคุณมากที่ท่านได้ลงบทความนี้ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

s_anussara@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผู้ที่นำข้อมูลมาลงได้บุญได้กุศล แต่บางคนอาจจะคิดว่าผู้ที่เข้ามาดูและนำข้อมูลไปสังเคราะห์นั้นคงจะยกไปทั้งดุ้น การค้นคว้าจากอินเตอร์เนทก็เป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้าค่ะ และคณาจารย์ที่ท่านดูแลงานวิจัยมีวิสัยทัศน์กว้างไกล รับรองหลอกท่านทั้งหลายไม่ได้แน่ ๆ และหวังว่าหากคุณ Wat จะทำวิจัยสักหนึ่งเรื่องคงไม่ย้อนเวลาไปยุคไดโนเสาร์น่ะค่ะ

nai_win กล่าวว่า...

รบกวนขอ ชื่อนามสกุล คุณเสวก ได้ไหมครับ จะเอาไปอ้างอิงครับ

nai_win กล่าวว่า...

รบกวนขอ ชื่อนามสกุล คุณเสวก ได้ไหมครับ จะเอาไปอ้างอิงครับ

ขอบคุณครับ

nai_win@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เรียน คุณเสวก
ดิฉันกำลังทำ IS เกี่ยวกับความพึงพอใจ ซึ่งบทความนี้มีประโยชน์อย่างมากเลยค่ะหากจะรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยได้ไหมคะ
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าในความอนุเคราะห์ค่ะ

krajibb@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบรรณานุกรมด้วยครับ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

ส่วมาที่ s_iamnok@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จะรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยคนค่ะ
รบกวนส่งมาที่ natt.kaew@gmail.com
จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอขอบคุณที่ให้ข้อมูล เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง ขอความกรุณาขอทราบนามสกุลเพื่อไปจัดทำบรรณานุกรม มาที่ kipkea_golf@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นอีกคนที่กำลังทำIS และรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยคนค่ะ ส่งมาได้ที่ pooksm@hotmail.com ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับบทความที่ช่วยประหยัดเวลาในการค้นคว้ากำลังหาข้อมูลทำ IS เช่นกันค่ะ ขอบคุณมากที่ท่านได้ลงบทความนี้ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Rongthida กล่าวว่า...

ขอขอบคุณที่ให้ข้อมูล เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง ขอความกรุณารบกวนขอบรรณานุกรมด้วยคนค่ะรบกวนส่งมาที่ kilikijung@hotmail.com.com
จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

rongthida กล่าวว่า...

อขอบคุณที่ให้ข้อมูล เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง ขอความกรุณา รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยคนค่ะ
รบกวนส่งมาที่ kilikijung@hotmail.com
จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

ต้น กล่าวว่า...

บทความนี้ดีมากเลยคับ ผมกำลังเริ่มทำทีสีสอยู่คับ
รบกวนขอบรรรณานุกรมได้ไหมคับ
alamo0001@hotmail.com
ขอบคุณล่วงหน้าคับ..

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอรบกวนบรรณานุกรมได้ไหมครับ ผมกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องความพึงพอใจ

ขอบคุณครับ
nophanit@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มีประโยชน์มาก ได้นำไปอ้างอิงในผลงานทางวิชาการแต่ยังขาดบรรณนานุกรมที่อ้างถึงในเอกสารนี้ ขอความอนุเคราะห์ส่งมาที่ warang_b@hotmail.com ด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง เพราะว่าดิฉันจะต้องส่งผลงานภายในวันที่ 20ส.ค.53 นี้คะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บทความนี้เป็นประโยชน์มากกับผู้ที่กำลัง IS และจะเป็นพระคุณอย่างมากถ้าจะกรุณาในส่วนของบรรณานุกรมด้วยค่ะ

thanakhan กล่าวว่า...

ขอบคุณมากกำลังทำการวิจัยเสนออาจารย์

thanakhan กล่าวว่า...

ขอบคุณมากกำลังทำวิจัยเสนออาจารย์ครับขอบรรนุกรมด้วยครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากน่ะค่ะสำหรับข้อมูลนี้
รบกวนของบรรณานุกรมได้ไหมค่ะ
เพราะจะช่วยได้มากเลยกับงานวิจัย
หรือจะเป็นชื่อนานสกุลเต็มของคุณก็ได้ค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดิฉันเมื่อสักครู่ที่ให้ความคิดเห็น
รบกวนส่งบรรณานุกรมหรือชื่อสกุลเต็มของคุณ
มาได้ที่ E-mail: artitaya_B@hotmail.com
ขอบคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

รบกวนเช่นกันนะครับ
ขอเอกสารอ้างอิงด้วยครับ
กำลังทำ senior project ครับ
เป็นพระคุณอย่างสูงครับ
ขอบคุณครับ
กรุณาส่ง film_wish@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
แต่ขอรบกวนส่งอ้างอิงได้มั๊ยค่ะ
จะใช้ทำงานวิจัยค่ะ
ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
sani_time@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องความพึงพอใจอยู่เช่นกัน จะรบกวนขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบรรณานุกรมด้วยได้ไหมค่ะ อาจารย์ให้ทำบรรณานุกรมด้วย
ถ้าได้กรุณาส่งข้อมูลมาที่
ที่ E-mail: keadd_043@hotmail.com
ขอบพระคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

หากรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยจะได้ไหมคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

kunnu_toon@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บทความนี้มีประโยชน์มาก อยากได้บรรณานุกรม
เกี่ยวกับความหมายของความพึงพอใจ ...ขอบคุณล่วงหน้าครับ
sumontri.cam@gmail.com

Unknown กล่าวว่า...

ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความที่นำมาลงอย่างสูง อ่านแล้วรู้สึกว่าเขียนได้ดีมาก ขอให้ท่านเจ้าของบทความมีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป สำหรับคุณwat
คุณควรจะเข้าใจว่ายุคนี้เป็นยุคของไอที ควรจะเปิดกะลาที่ครอบตัวคุณอยู่ออกมาดูโลกภายนอกบ้างนะครับ การค้นคว้าข้อมูลทางอินเตอร์เนตสามารถนำไปอ้างอิงได้เหมือนกันครับ

watachi กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณุกรมอีกคนค่ะ กำลังทำงานวิจัยส่งอาจารย์และเป็นผลงานวิจัยให้วิทยาลัยด้วยค่ะ ขอขอบพระคุณมากๆ และขอให้มีความสุขตลอดไปนะ
tuk_sweet@hotmail.com
ต้องส่งรายงานภายในวันนี้อะค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผู้เขียนกรุณาอย่างยิ่งในการคัดเลือกความหมายมาให้เข้าใจกระจ่างที่สุด ถือเป็นประโยชน์อย่างมาก

แต่มีกลุ่มคนบางคน ประสงค์ที่จะขอบรรณานุกรม
ตกลงว่าที่พวกคุณขอ บรรณานุกรม เพื่อคัดลอกข้อความของผู้ตั้งกระทู้ไปทั้งกระบวนความแล้วนำไปใส่ใน IS หรือ TSIS แค่นั้นหรือคะ ยิ่งคนที่บอกว่าจะส่งอาทิตย์นี้ ขอด่วน เวลาก่อนหน้านี้พวกคุณใช้เวลากับอะไรถึง เพิ่งคิดจะทำ ยิ่งไม่มีความรับผิดชอบต่อตัวเองอย่างยิ่ง รู้สึกสงสาร และสังเวชกับวิธีการทำงานแบบนี้จริงๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กำลังทำผลงาน เกี่ยวกับความพึงพอใจ อยากรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยได้ไหมคะ
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าในความอนุเคราะห์ค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำงานวิจัยอยู่เหมือนกันคะ กำลังหาทฤษฎีสำหรับอ้างอิง และอยากได้บรรณานุกรมเหมือนกัน ยังไงรบกวนส่งให้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ
nok_tansita@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำงานวิจัยอยู่เหมือนกันคะ กำลังหาทฤษฎีสำหรับอ้างอิง และอยากได้บรรณานุกรมเหมือนกัน ยังไงรบกวนส่งให้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ
nok_tansita@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับบทความนี้ครั ขออนุญาตนำไปใช้อ้างอิงครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณตะสำหรับความรู้ที่เผยแพร่
กรุณาอีกนิดขอบรรณานุกรมด้วยคะ
อีเมล์ pjplus8@hotmail.co.th

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอขอบคุณสำหรับเนื้อหานะคะ
ขอรบกวนช่วยกรุณาส่งบรรณานุกรมให้ด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ
su_pumpim@hotmail.com

poo กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ

prayoonsri@hotmail.com

ขอบคุณมากค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยน่ะคะ่ ตอนนี้กำลังทำงานวิจัยอยู่กำลังต้องการเลยค่ะ

saeah_jaejoong@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น่าจะอ้างแหล่งที่มีของบทความด้วยว่ามาจากใหน....เป็นจริธรรมทางการศึกษาที่สำคัญยิ่ง อ่านเจอในงานวิจัยเรื่องหนึ่ง เจ้าของบล็อกคงทราบว่าของใคร

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กำลังหาข้อมูลทำ IS เช่นกันค่ะ ขอบคุณมากที่ท่านได้ลงบทความนี้ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
chana_61@hotmail.com

sutha chotemanee กล่าวว่า...

กำลังทำ IS อยู่สนใจเรื่องนี้อยากได้บรรณานุกรมค่ะ สุธา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นบทความที่มีประโยชน์มากครับ รบกวนช่วยส่งบรรณานุกรมให้ด้วยครับ ผมต้องทำ IS ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ

jedai_pak@hotmail.com

lloydaLITTE กล่าวว่า...

เป็นบทความที่มีประโยชน์มากครับ ช่วยได้เยอะจริงๆในการรวบรวมข้อมูล รบกวนช่วยส่งบรรณานุกรมให้ด้วยได้ไหมครับครับ ผมต้องทำ IS ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ หรือถ้าจะหาเองต้องทำยังไงครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ LLOYDALITTE@HOTMAIL.COM

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ท่านครับ ผมต้องการทรายความสำคัญของความพึงพอใจต่อการบริหารสถานศึกษาและองค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษา
ขอบคุณครับ
วิชิต
(ต้องการทราบด่วนครับท่าน)

Unknown กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยครับ

nattaetu@gmail.com

ขอบคุณมากครับ

ben กล่าวว่า...

กำลังทำ วิทยานิพน
รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ

ben117702@hotmail.com

ขอบคุณมากค่ะ

namaoya กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับบทความเรื่องนี้ กำลังมองหาเพื่อเพิ่มทำวิจัย ขอให้ท่านได้รับผลบุญกุศลในการเผื่อแผ่วิทยาทาน แก่ผู้ที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ ขอบคุณคะ
namaoy_su@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดิฉันเป็นนศ.อยู่ค่ะ กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับความพึงพอใจอยู่ กำลังหาทฤษฎีสนับสนุนงานอยู่ หากรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยจะได้ไหมคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
hiso_lanna@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กำลังทำสารนิพนธ์เรื่องความพึงพอใจอยู่เลยค่ะ ได้เจอข้อมูลดีๆแบบนี้ รบกวนขอบรรณานุกรมเพิ่มอีกคนนะคะ ขอบคุณมากค่ะ juna_scj@hotmail.com

cat cha กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณานุกรม ได้ไหมคะ พอดีทำ T-sis เรื่องนี้อยู่ค่ะ ส่งเมลมาที่ catchamameaw@hotmail.co.th นะคะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

cat cha กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณานุกรมได้ไหมคะ พอดีทำโทเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ค่ะ

ส่งมาได้ที่เมล tsmngkl@gmail.com

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอความกรุณา ขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ ที่ vokvak_1@hotmail.com ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ กำลังทำวิจัยอยู่อ่าค่ะ ขอด่วนเลยนะคะ ส่งมาที่ shampoo_yk@hotmail.com ขอบคุณค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ กำลังทำ IS อยู่ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วย ขอบคุณมากคะ ส่งมาที่ tue2697@hotmail.co.th นะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณานุกรมด้วย ขอบคุณมากคะ ส่งมาที่ seriver_id@hotmail.co.th ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จะรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยได้ไหม ครับ
rengikung@hotmail.com

ขอบคุณครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบพระคุณค่ะ รบกวนขอเอกสารอ้างอิงด้วยได้มั๊ยคะ
beer.nuntakarn@gmail.com

Dear อิเป๋อ กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณนานุกรมด้วยค่ะ ran-dear@hotmail.com

Unknown กล่าวว่า...

ขอบรรณานุกรมด้วยครับผม ขอบคุรครับ i-gatz@hotmail.com

Unknown กล่าวว่า...

ขอขอบคุณบทความดีที่เผยแพร่ให้ทุกคนนะคะ ดิฉันกำลังทำวิจัย เป็นประโยชน์อย่างมากเลยคะ ยังไงรบกวนช่วยส่งบรรณานุกรมให้หน่อยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ Thippawon.thip@gmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บทความมีประโยชน์มากค่ะ
จะรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยได้ไหมคะเพราะ กำลังหาทฤษฎีสำหรับอ้างอิง ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
promsungwong@hotmail.com

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคับ
ผมก็กำลังทำวิจัย รบกวนขอบรรณานุกรมหน่อยนะค๊าบ
ขอบคุณค๊าบบ
manzathaitafan@gmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอขอบพระคุณยิ่งสำหรับข้อมูลที่ดีมีประโยชน์ขอบคุณค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

ดิฉันขอบพระคุณมากเกี่ยวกับความรู้ ครั้งนี้ ตอนนี้ทำวิจัย ต้องการบรรณานุกกรมค่ะ fufu_mu@hotmail.com ขอบคุณค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

รบกวนขอบรรณานุกรมหน่อยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ pkjppk178@gmail.com