กิจกรรมผู้เรียน
วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สุขภาพจิต
ความหมายของสุขภาพจิต
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “สุขภาพจิต” (Mental health) นั้นได้มีผู้ให้คำจำกัดความต่างๆ กันไป ในที่นี้จะขอนำเสนอความหมายที่สำคัญๆ ที่ควรทราบดังนี้
อริสโตเติล ปราชญ์ชาวกรีกกล่าวว่าสุขภาพจิต เป็นเรื่องของการปรับตัวให้มีความสมดุลระหว่างหน้าที่การงาน ความรัก และสันทนาการ เพราะในทุกสังคม จะมีการทำงาน ความรักและสันทนาการ เป็นกิจกรรมประจำของมนุษย์
องค์การอนามัยโลก (WHO) อธิบายว่า หมายถึง ความสามารถทางจิตใจของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อได้ด้วยดี มีสัมพันธภาพที่ดีงามกับบุคคลอื่นและสามารถดำเนินชีวิตด้วยความสมดุลความสุขสบายใจ รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลโดยไม่มีความขัดแย้งภายในจิตใจ ไม่เฉพาะผู้ที่ปราศจากอาการของโรคจิต หรือโรคประสาทเท่านั้น
ฝน แสงสิงแก้ว อธิบายว่าสุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีเป็นผู้ที่มีร่างกายและจิตใจเป็นสุขปราศจากโรคจิตโรคประสาท สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในสังคมโดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจมีความมั่นคงทางใจ มีสมรรถภาพในการทำงานสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขมีบุคลิกภาพที่เอื้ออำนวยให้เกิดการแสดงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาสามารถทำประโยชน์ให้แก่ทั้งตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุชา จันทน์เอม ได้ให้ความหมายสุขภาพจิตหมายถึง สมรรถภาพในการปรับปรุงตนเองให้เข้ากับคนอื่นๆและสิ่งแวดล้อมได้ดี (Adjust Person) มีความสามารถในการสร้างสรรค์ (Productive Person) มีทัศนคติที่ดีต่อสังคม มีความคิดที่ถูกต้องแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมสามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคนที่มีสุขภาพจิตดีย่อมมีความคิดดี มีร่างกายแข็งแรงควบคู่ให้ด้วยเสมอ มีอารมณ์มั่นคง รู้จักใช้ความสามารถของตนที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างเต็มที่และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีชีวิตชีวาด้วยความสนุกรื่นเริง (Zest for life)
สุจริต สุวรรณชีพ อธิบายว่สุขภาพจิตเป็นสภาพจิตใจทีมีความเข็มแข็ง สามารถแก้ปัญหาได้ และสามารถปรับจิตใจให้มีความสุขได้อย่างเหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริงในการดำรงชีวิต โดยทั่วไปแล้วสุขภาพจิตของมนุษย์นั้น จะมีลักษณะไม่คงที่เปลี่ยนกลับไปกลับมาสุขบ้างทุกข์บ้างไม่เสนอไป ทั้งนี้เกิดจากแรงผลักดันทั้งภายในตนเอง จากผู้คนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เบอร์นาร์ด ได้ให้ความหมายว่าสุขภาพจิต หมายถึง ความสามารถปรับตัวให้เข้ากับตนเอง ผู้อื่นและโลกว้างอย่างมีประสิทธิภาพ มีความพึงพอใจ มีความสุขและมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่อยู่ร่วมในสังคม มีความสามารถที่จะเผชิญหน้า และยอมรับความเป็นจริงของชีวิตโดยมีความประมาณตน มีความพอดีทั้งกับตนเองและชนชั้นของสังคม บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีจะมีความตึงเครียดน้อย สามารถควบคุมสติของตนให้มั่นคงไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ ก็ตาม
กลาสเซอณ์ ให้คำจำกัดความว่าสุขภาพจิตมีความหมายเช่นเดียวกับการปรับตัว กล่าวคือเป็นความสามารถของบุคคลที่จะสนองความต้องการในด้านต่างๆของตนได้สำเร็จ โดยไม่ไปขัดกับความต้องการของผู้อื่น ซึ่งควรต้องการดังกล่าวนั้นได้แก่ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น ต้องการรู้สึกว่าตนเองและผู้อื่นมีคุณค่า ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีนั้นจะสามารถปรับตัว และมีพฤติกรรมในทางที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า และผู้อื่นก็มีคุณค่าใน ขณะเดียวกัน โดยที่การปรับตัวดังกล่าวจะเป็นไปตลอดชีวิตจากความหมายและคำจำกัดความต่างๆ ดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ ทางจิตใจของมนุษย์ที่จะช่วยให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขปราศจากโรคจิตโรคประสาท มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม สามารถรัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ได้ มีความมั่นคงทางจิตใจ และสามารถยอมรับและเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของชีวิต กล้าเผชิญกับปัญหา มีสมรรถภาพในการทำงาน มี สัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ผู้อื่น สังคมและประเทศชาติ
(http://www.supapornka.th.gs/web-s/upapornka/folder/11.htm)
สรุปได้ว่าสุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทางร่างกายและทางจิตใจของมนุษย์ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ปราศจากโรคจิต โรคประสาท มีความสามารถในการปรับตัวและอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีความมั่นคงทางอารมณ์ ตระหนักรู้ในตนเองทั้งด้านบวกและด้านลบตามศักยภาพแห่งตน มีสมรรถภาพในการทำงานมีสัมพันธภาพต่างๆ ที่ดีกับบุคคลอื่นและสามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสุขภาพจิต
ในสังคมปัจจุบันนี้ทุกชีวิตต้องเผชิญปัญหามากมาย แก้ปัญหานี้เสร็จก็มีปัญหาอื่นๆเข้ามาให้ขบคิดมากมาย บางคนก็ค่อยๆ สะสางปัญหาไปทีละปล้องทีละปล้องค่อยๆ แก้ค่อยๆ คลาย แต่บางคนยิ่งแก้ปัญหาก็ยิ่งพันตัว ดูวุ่นวายไปหมด และก็มีอีกหลายชีวิตที่ใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการหันหลังให้กับความจริง และท้ายที่สุดก็ย้ายตัวเองไปอยู่บ้านใหม่ที่ตัวเองไม่รู้จักและไม่รู้จักใครอีกเลย มีหลายชีวิตที่แก้ปัญหาหนักไปอีกคือการทำร้ายตัวเอง ตั้งแต่เสพย์ยาเสพติดจนถึงการทำร้ายชีวิตตนคือการฆ่าตัวตาย
ความสำคัญระดับชาติ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 จนถึงปัจจุบันนโยบายที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตซึ่งสาระสำคัญของนโยบายที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพประชากร โดยการส่งเสริมเรื่องสุขภาพอนามัยทั้งทางร่างกายและจิตใจของประชากร และเร่งพัฒนาคุณภาพจิตใจของประชากรโดยระดมสรรพกำลังจากทุกหน่วยของรัฐและเอกชน ตลอดทั้งสถาบันต่าง ๆ ทางสังคม โดย เฉพาะสถาบันครอบครัว ส่วนแผนงานสุขภาพจิตในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ดังกล่าว ได้ระบุถึง เป้าหมายของแผนงานสุขภาพจิตขอบข่ายของงานสุขภาพจิตซึ่งเน้นทั้งในเรื่องราวการป้องกัน การบำบัดรักษา และการส่งเสริมสุขภาพจิต สำหรับสาระสำคัญของเป้าหมายของ แผนงานสุขภาพจิต ได้แก่ การมุ่งแก้ปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค เพื่อให้บรรลุผลในระยะยาวคือ สุขภาพดีถ้วนหน้าเมื่อสองห้าสี่สามและปรับปรุงของเขตของงานสุขภาพจิต โดยเน้นเรื่องการป้องกันและส่งเสริม สุขภาพจิต พร้อมทั้งจัดข่ายงานให้สามารถ ครอบคลุมประชากรได้อย่างทั่วถึง ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทเป็นต้น จากแผนนี้จะเห็นว่าบิดา มารดา ครู อาจารย์ เป็นกลุ่มบุคคลต่างๆที่สามารถจะร่วมงานหรือประสานงานกับบุคคลต่างๆในสังคมทั้งนี้เพื่อจะช่วยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ได้เจริญเติบโตและสุขสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตลอดทั้งเพื่อหาวิถีทางที่จะป้องกันและบำบัดรักษา แก้ไข หากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบกพร่องหรือมีความโน้มเอียงไปสู่ความผิดปกติด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษา ครูอาจารย์ตลอดทั้งบิดามารดาควรจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญต่างๆ ของสุขภาพจิตเพื่อจะได้ทราบและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนี้แล้ววิชาจิตวิทยายังมุ่งหวังให้นักศึกษามีความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ตลอดจนพัฒนาการทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเข้าใจพฤติกรรมต่างๆของตนเองและผู้อื่นนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้แก้ปัญหาของตนเอง และนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการปรับตัว เข้ากับสังคมได้ ตระหนักถึงความสำคัญของจิตวิทยาและการนำจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการทำงานต่างๆ
หลักพื้นฐานของสุขภาพจิต
1. การปรับตัวเป็นวิถีชีวิตของคนทั่วๆไปทุกคนที่จะต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาทุกคนย่อมจะการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปตามครรลองแห่งตน แต่หลายคนย่อมประสบปัญหา และต้องแก้ปัญหาต่างๆ มากมายดังนั้นบุคคลจึงต้องหาทางผ่อนคลายอารมณ์ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง อาจจะต้องมีการปรับตัวปรับใจให้ทันกับเรื่องต่างๆ คนที่ปรับตัวเก่งก็จะมีสุขภาพจิตดี คนที่มีสุขภาพจิตดีย่อมปรับตัวได้ดี ดำรงตนในสังคมได้
2. บุคคลแต่ละคนย่อมมีลักษณะประจำตัวที่แตกต่างกัน บางคนมีความอดทนต่อบางสิ่งไม่ได้บางคนสามารถทนต่อสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงได้ ต่างคนต่างก็มีปฏิกิริยาต่อสภาพที่คับข้องใจต่างกัน มีวิธีการใช้ชีวิตที่ต่างกัน บุคคลแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน
3. สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของบุคคลมากมาย เช่น ระบบสังคม วัฒนธรรม และในชุมชนก็มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของบุคคลมาก ถ้าวัฒนธรรมของเขาขัดกับคำสั่ง ย่อมเป็นปัญหาในทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิต คนจนขาดแคลนถ้าต้องการให้สวมใส่เสื้อผ้าดี ๆ ย่อมลำบากที่จะหามาใส่แต่ ผู้ที่มาจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมดี ย่อมมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีในสภาพการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นคนจึงมีความแตกต่างกันวิธีการของบุคคลจึงเลือกวิธีที่ไม่เหมือนกัน
4. ระบบศีลธรรมนับว่ามีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตมาก ถ้าวัฒนธรรมแตกต่างกันคนสองคนอาจขัดแย้งกันและไม่ทราบว่า จะถือปฏิบัติตามฝ่ายไหน อาจทำให้เสื่อมสุขภาพจิตได้
5. พันธุกรรมก็เป็นตัวกำหนดลักษณะทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ติดตัวมาโดยแต่กำเนิด จึงเป็นการยากที่จะแก้ไข เช่น ตาบอดสี จิตทราม ปัญญาอ่อน เป็นต้น
ดังนั้นจะต้องระมัดระวังในเรื่องหลักการพื้นฐานของสุขภาพจิต ทั้งห้าประการดังกล่าวข้างต้นในการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์เพราะยังมีปัจจัยที่มีอิทธิพลอีกหลายประการที่ทำให้หลายคนมีสุขภาพจิตที่ต่างกันแต่ที่ดีที่สุดคือการรักษาสุขภาพจิตของตนเองระมัดระวังความคิด ความคิดที่ดีจะทำให้เราปฏิบัติดี รู้จักรักตนเองและนำความรักและความรู้สึกที่เรารักตัวเองออกมารักผู้อื่น ปฏิบัติดีๆ กับผู้อื่น สุขภาพจิตเราก็จะดี มีข้อสังเกตบางประการคือ ความรักที่เรามอบให้เพื่อนมนุษย์ต้องไม่หวังสิ่งตอบแทน ต้องไม่คาดหวังว่าเมื่อเราทำอย่างนี้แล้วต้องได้ผลตอบแทนอย่างนั้น จงพยายามเข้าใจคนอื่นตามที่เขาเป็นเราก็จะมีความสุข และสิ่งที่ควรศึกษาต่อไปคือลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดีมีลักษณะอย่างไร ซึ่งอาจทำให้เราหลายคนพัฒนาตนพัฒนาจิตได้อีกระดับหนึ่ง
สาเหตุที่ทำให้สุขภาพจิตเสื่อม
สาเหตุที่ทำให้สุขภาพจิตของบุคคลเสื่อมได้แก่ สาเหตุทางร่างกาย สาเหตุทางจิตใจและสาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งแยกอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้คือ
1. สาเหตุทางร่างกาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุขภาพจิตเสื่อม ได้แก่ ความบกพร่องทางร่างกาย ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความบกพร่องของอวัยวะรับสัมผัส สมองได้รับความกระทบกระเทือน ความบกพร่องในด้านอนามัยและโภชนาการและสาเหตุทางพันธุกรรม โดยจะแยกอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
1.1 ความบกพร่องทางร่างกาย เช่น มีร่างกายอ่อนแอ เป็นคนผอมหรืออ้วนเกินไป เตี้ยเกินไป แคระแกร็น จมูกแฟบ หรือมีความพิการ ไม่สมประกอบ เช่น ตาถั่ว ปากแหว่ง แขนคอก ทำให้เกิดความวิตกกังวล รู้สึกตนว่ามีปมด้อย มีความละอายจนไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้เกิดปัญหาทางด้านพฤติกรรมมาก อาจถูกแกล้ง ถูกล้อเลียน ถากถาง อยู่เสมอจนทนไม่ได้จะรู้สึก เสียใจ กลุ้มใจ น้อยใจ ในความอาภัพ กังวลใจในความพิการ มักจะทำให้จิตใจหงุดหงิดอยู่เสมอ นาน ๆ เข้าจิตใจอาจผิดปกติได้ การแก้ไขต้องหาสมุติฐานให้แพทย์แก้ไข หรือพยายามหาทางให้ทำงานหรือเข้าสังคมสนุกสนานกับเพื่อน ๆ เสียอาจจะลืมเรื่องบกพร่องเหล่านั้นได้
1.2 ความเจ็บไข้ได้ป่วย มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหืด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตหรือโรคปอด โรคเรื้อน หรือโรคขาดธาตุอาหารบางอย่าง ทำให้มีผลต่อสุขภาพจิต ทำให้รู้สึกหงุดหงิด ชี้ระแวงฉุนเฉียว ใจน้อย ปรับตัวยาก พัฒนาการทางด้านกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาล่าช้า เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน กลายเป็นคนมีปัญหา
1.3 ความบกพร่องทางอวัยวะรับสัมผัส เช่น หูฟังไม่ค่อยได้ยิน ตามองไม่ค่อยเห็น เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเรียนรู้ทั้งสิ้น โดยภาพรวมคนที่พิการหรือคนที่บกพร่องทางร่างกายมักจะหงุดหงิดง่ายเพราะทำอะไรไม่ถนัดนัก ยิ่งมาพิการภายหลังจะยิ่งทำให้คนไม่มีความสุขนักเมื่อไม่มีความสุขนานวันเข้าก็ทำให้สุขภาพจิตเสื่อม
1.4 สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนักจากอุบัติเหตุหรืออื่นๆ
1.5 ความบกพร่องในด้านอนามัยและโภชนาการ ทำให้อ่อนแอ พัฒนาการ ล่าช้ากว่าปกติ เด็กที่ขาดอาหารนอกจากพัฒนาการช้าแล้วยังอาจเป็นโรคบางอย่าง เช่น ขาดไอโอดีน ทำให้เป็นโรคคอพอก ทำให้หงุดหงิดเจ้าอารมณ์ มีปัญหาด้านความประพฤติ
1.6 สาเหตุจากพันธุกรรม (Heredity) ได้แก่ ความบกพร่องทางร่างกายและทางสติปัญญาแต่กำเนิด เช่น ตาบอดสี ลมบ้าหมู เป็นผลต่อสุขภาพจิตมากสติปัญญาต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป ทำให้มีปัญหาทางสุขภาพจิตได้ทั้งสองอย่าง ที่ต่ำเกินไปทำให้เรียนช้าไม่ทันเพื่อน ที่สติปัญญาสูงเกินไปก็คับข้องใจรำคาญใจ เพราะต้องทนเรียนสิ่งที่ตนเองไม่สนใจ ทั้งคนโง่และคนฉลาดเกินไปย่อมมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวทั้งสิ้น
2. สาเหตุทางจิตใจ ได้แก่
2.1 อารมณ์ เมื่อเกิดปัญหาทางอารมณ์จะมีผลถึงสุขภาพจิต อารมณ์ที่อาจทำให้คนเสียสุขภาพจิตได้มากได้แก่ความกลัว (Fear) ความวิตกกังวล (Anxiety) และ ความโกรธ (Anger) ดังนี้
2.1.1 ความกลัว (Fear) บางคนกลัวความมืด กลัวที่แออัด กลัวพลัดพรากจากกัน กลัวถูกตำหนิ กลัวคนไม่รัก กลัวถูกลงโทษ กลัวคนแปลกหน้า กลัวที่สูงๆ ถ้ามีอารมณ์เช่นนั้นนาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นคนกลัวโดยไม่มีเหตุผล บางคนกลัวมากจนทำให้เสียสุขภาพจิต
2.1.2 ความวิตกกังวล (Anxiety) มีอิทธิพลร้ายแรงเพราะเป็นอารมณ์ที่เกิดติดต่อกันได้เป็นระยะนาน ๆ ทำลายประสิทธิภาพและสุขภาพทางจิตของคนลงได้มาก ซึ่งความวิตกกังวลมักเป็นห่วงอะไรต่ออะไร บางคนกังวลในเรื่องรูปร่างหน้าตา ฐานะเศรษฐกิจ เสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว วุฒิ ทำให้เกิดความทุกข์ ทำให้ตนขาดความมั่นคงไป ถ้าใครวิตกกังวลมาก ๆ โดยปราศจากเหตุผล คนนั้นมักขาดประสิทธิภาพและเสียสุขภาพจิตไปโดยไม่จำเป็น
2.1.3 ความโกรธ (Anger) คนที่โกรธบ่อย ๆ แสดงว่าไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ ทำให้เข้าสังคมได้ยากและมีผลให้เสียสุขภาพจิต ทุกข์ใจ ไม่สบายใจ
2. 2 ความเหนื่อยล้าของจิต (Fatigue) มีผลต่อสุขภาพจิตและปัญหาอื่นๆ ความเหนื่อยล้าของจิตอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้หลายสาเหตุเช่น การขาดสารอาหารบางกลุ่มในร่างกาย การรับประทานอิ่มมากเกินไป การอดนอน ออกกำลังมากไป ความเบื่อหน่าย การทำงานไม่ประสบความสำเร็จ การมีปัญหาขัดแย้งกับคนอื่น คนประเภทนี้มีโอกาสสุขภาพจิตเสียได้ง่ายกว่าคนธรรมดา และการขาดความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหา ทำให้บุคคลยิ่งเกิดความเครียดทางอารมณ์ สุขภาพจิตเสียได้ง่าย
2.3 การเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้บุคคลย่อมมีปัญหาต่างๆ มากมาย จึงมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ กัน ถ้าบุคคลถูกขัดขวางจะทำให้เกิดความขัดแย้ง (Conflict) เกิดความขุ่นข้องหมองใจหรือความคับข้องใจ (Frustration) และเกิดความวิตกกังวล (Anxiety) จะทำให้เกิดความแปรปรวนทางจิตใจขึ้นได้ ต่างสังคมก็ย่อมต่างวัฒนธรรม ไม่ทราบจะถือว่าประการใดถูกกันแน่ แม้นักจิตวิทยาเองก็ยังมองธรรมชาติของมนุษย์แตกต่างกัน เช่น Freud เน้นพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ในทางเพศ (Sex) แต่ Adler มีความเห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์ต้องการมีอำนาจ ส่วน Jung เห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์ต้องการปกปักษ์รักษาตัวเอง ฉะนั้นความขัดแย้งกันในทางสังคมและวัฒนธรรมย่อมต้องเกิดขึ้น
3. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่
3.1 สิ่งแวดล้อมทางบ้าน ในครอบครัวที่ดีมีการเลี้ยงดูดี ให้ความรักให้ความอบอุ่น แก่สมาชิกรวมทั้งให้ความเห็นอกเห็นใจกันบุคคลก็จะมีสุขภาพจิตดี ปรับตัวได้ดี ถ้าเกิดในครอบครัวที่เลี้ยงดูไม่ค่อยดีเท่าที่ควร มีการอบรมเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง บุคคลก็จะมีความสามารถของการปรับตัวก็ไม่ดีนักและสุขภาพจิตก็ไม่ดีด้วย
3.1.1 บ้านแตก (Broken Home) คือครอบครัวที่แตกร้าว ลูกที่ขาดพ่อแม่ หรือพ่อแม่ไม่ลงรอยกันพ่อแม่ทะเลาะกันไม่เว้นแต่ละวัน ในบ้านมีแต่ปัญหา มีการทะเลาะกันไม่ได้หยุด คนในบ้านไม่รักกัน ขาดความเอาใจใส่กัน ซึ่งอาจทำให้สุขภาพจิตของคนเสื่อมง่าย
3.1.2 เด็กกำพร้าพ่อแม่ เด็กที่ขาดความอบอุ่น ขาดความรัก ว้าเหว่ เหงา เด็กประเภทนี้ต้องให้ความรัก ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ให้มีเพื่อนที่ดีมีการเล่นหัวและคอยช่วยเหลืออยู่เสมอ ต้องคอยสนทนาด้วยอย่างเห็นอกเห็นใจ ให้เขามีกิจกรรมทำตามความสนใจอาจช่วยบุคคลเหล่านี้ได้
3.1.3 บ้านที่ปล่อยปละละเลยลูกเลี้ยงดูอย่างไม่เต็มใจไม่เอาใจใส่ เด็กขาดความรัก ความอบอุ่นขาดที่พึ่ง ถูกทอดทิ้ง เด็กเหล่านี้มักมีปัญหาสุขภาพจิตได้
3.1.4 บ้านที่บิดามารดาเข้มงวดมากเกินไป ผู้ใหญ่เจ้าระเบียบ เอาแต่ใจ กดขี่ ข่มขู่ ตั้งความหวังไว้สูงเกินไป อาจเป็นสาเหตุในการกดดันทำให้เด็กมีสุขภาพจิตผิดปกติได้
3.1.5บ้านที่คุ้มครองเด็กมากเกินไปจนเด็กไม่มีโอกาสเป็นตัวของตัวเองขาดอิสระ เด็กประเภทนี้ก็เป็นปัญหาในการปรับตัวของเด็กเช่นกัน
3.1.6บ้านที่ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่ดี เช่น ตั้งอยู่ใกล้แหล่งเสื่อมโทรม แหล่งการพนัน อบายมุข สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีอาจทำให้เด็กสับสน
3.1.7บ้านที่เศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีของใช้ ขาดอาหารการกิน ขาดเครื่องนุ่งห่ม ขาดปัจจัยในการดำรงชีวิต ความขัดสนความไม่พอสร้างความเครียดให้เด็กได้เช่นกัน
3.2 สิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา ถ้าสถาบันมีระเบียบข้อบังคับเข้มงวดมากเกินไป หยุมหยิม หรือระเบียบหย่อนยานเกินไป มีการแข่งขันกันมากเกินไป หรือครูไม่เอาใจใส่ ขาดระเบียบวินัย บรรยากาศในโรงเรียนไม่ดี อาจทำให้สุขภาพจิตของเด็กเลื่อมลงได้ และทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล โดยเฉพาะนักศึกษาใหม่ที่ยังไม่เคยชินต่อสถานที่ ยังปรับตัวไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นยิ่งพบกับอาจารย์ที่มีสัมพันธภาพกับนักศึกษาน้อยมาก อาจทำให้นักศึกษาเก็ง และกลัว ทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก
วิธีการรักษา
1. การรักษาโดยใช้ยา
2. การรักษาโดยการใช้ไฟฟ้า
3. การทำจิตบำบัด
4. การสะกดจิต
5. การผ่าตัด
6. การรักษาโดยอาศัยสิ่งแวดล้อม
7. พฤติกรรมบำบัด
พฤติกรรมของผู้มีสุขภาพจิตผิดปกติ
พฤติกรรมของผู้มีสุขภาพจิตผิดปกติ หรือผู้มีความผิดปกติทางจิตในขั้นอ่อน เรียกว่า Neuroses เป็นสภาพผิดปกติทางจิต ซึ่งเรามักจัดอยู่ในระดับการป่วยทางจิตระดับปานกลางระหว่างสุขภาพจิตสมบูรณ์แบบหรือที่เรียกว่าโรคประสาท ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับรู้โลกของความจริง และสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้ และ Psychoses หรือการป่วยทางจิตอย่างรุนแรงหรือที่เรามักเรียกกันว่าโรคจิต ผู้ป่วยจะไม่รับรู้โลกของความจริง ไม่สามารถดำรงตนในสังคมได้
พฤติกรรมของผู้มีสุขภาพจิตปกติ
พฤติกรรมของผู้มีสุขภาพจิตปกติหรือลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดีควรมีละกษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจตนเองได้ดีอยู่เสมอรู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ เช่น โกรธ กลัว อิจฉา ฯลฯ ยอมรับสภาพความขาดแคลนและขีดจำกัดของตน ยอมรับนับถือตนเอง ยอมรับสภาพทั่วไปของตนเอง ยอมรับความผิดหวังอย่างไม่สะทกสะท้าน สามารถรับได้ทั้งความผิดหวังและความสำเร็จ รู้จักประมาณตน ประเมินความสามารถของตนเอง ไม่ดูถูกหรือยกย่องความสามารถของตนจนเกินความเป็นจริง
2. เป็นผู้ที่รู้จักตนเองและสามารถเข้าใจผู้อื่นได้ดีบุคคลควรมีเข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ความสนใจ รักใคร่แก่ผู้อื่นมีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนอย่างราบรื่นชื่นสุขและมั่นคง สามารถเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบต่อเพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะหรือสังคม ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่คิดว่าตนเองเก่งกว่าคนอื่น มีน้ำใจเสียสละ ให้ความช่วยเหลือบุคคลอื่น ไม่เอาเปรียบผู้อื่น เข้าใจความรู้สึกของบุคคลอื่น ใจกว้างยอมรับฟังการติชมจากคนอื่น รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
3. เป็นผู้ที่สามารถเผชิญกับปัญหาและความเป็นจริงแห่งชีวิตได้ดีสามารถตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างฉลาด มีเหตุผล ฉับพลัน ปราศจากความลังเล หรือเสียใจภายหลังสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ทุกสภาพการณ์และปรับสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ รับผิดชอบต่อปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองอย่างเต็มที่ พร้อมที่จะเผชิญปัญหาชีวิตได้ด้วยความไม่ประมาท ปราศจากความวิตกกังวล ไม่ประหม่า และไม่หวาดกลัวต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสามารถใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างเต็มที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พอใจ ชื่นชม ยินดีต่อการกระทำที่ตนกำลังกระทำอยู่ มีความมานะพยายาม พากเพียร
ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต
องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิต จึงเลือกหัวข้อนี้ตีพิมพ์เป็น World Health Report 2001: Mental Health New understanding New Hope (WHO, 2001) มีเจตนารมณ์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิตทั้งในระดับบุคคลและ ประชาชาติทั่วโลก ในแง่ผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และภาระที่เกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจิต โดยองค์การอนามัยโลกได้มีข้อแนะนำบริบททางสุขภาพจิตเพื่อการบริหารจัดการระดับชาติ สำหรับทุกประเทศ ทุกองค์กรในการพัฒนาสุขภาพจิตเพื่อนำไปดัดแปลงปฏิบัติ ไว้10 ด้านดังนี้
1. ให้การบริการรักษาปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ
2. ส่งเสริมและจัดหายาเพื่อสามารถรักษาโรคทางจิตเวช
3. ให้การบริการสุขภาพจิตระดับชุมชน
4. มีการอบรมเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน
5. มีส่วนเข้าร่วมในกิจการต่างๆของชุมชน ครอบครัว
6. สร้างนโยบายระดับชาติ เป็นโครงการต่างๆ หรือพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
7. พัฒนาทรัพยากรบุคคล
8. เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับองค์กรด้านอื่นๆ
9. เฝ้าติดตามภาวะสุขภาพจิตของชุมชน
10. ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยทางสุขภาพจิต จะเห็นว่าการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของประเท เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งในขณะนี้ พื้นฐานเริ่มต้นคือการกำหนดนิยามและขอบเขตซึ่งได้ทบทวนและนำเสนอไปในส่วนที่แล้วในส่วนต่อมาจะเป็นการทบทวนการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตโดยเริ่มจากสิ่งที่ใช้ประเมินสุขภาพจิตคือดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตต่างๆ
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “สุขภาพจิต” (Mental health) นั้นได้มีผู้ให้คำจำกัดความต่างๆ กันไป ในที่นี้จะขอนำเสนอความหมายที่สำคัญๆ ที่ควรทราบดังนี้
อริสโตเติล ปราชญ์ชาวกรีกกล่าวว่าสุขภาพจิต เป็นเรื่องของการปรับตัวให้มีความสมดุลระหว่างหน้าที่การงาน ความรัก และสันทนาการ เพราะในทุกสังคม จะมีการทำงาน ความรักและสันทนาการ เป็นกิจกรรมประจำของมนุษย์
องค์การอนามัยโลก (WHO) อธิบายว่า หมายถึง ความสามารถทางจิตใจของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อได้ด้วยดี มีสัมพันธภาพที่ดีงามกับบุคคลอื่นและสามารถดำเนินชีวิตด้วยความสมดุลความสุขสบายใจ รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลโดยไม่มีความขัดแย้งภายในจิตใจ ไม่เฉพาะผู้ที่ปราศจากอาการของโรคจิต หรือโรคประสาทเท่านั้น
ฝน แสงสิงแก้ว อธิบายว่าสุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีเป็นผู้ที่มีร่างกายและจิตใจเป็นสุขปราศจากโรคจิตโรคประสาท สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในสังคมโดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจมีความมั่นคงทางใจ มีสมรรถภาพในการทำงานสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขมีบุคลิกภาพที่เอื้ออำนวยให้เกิดการแสดงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาสามารถทำประโยชน์ให้แก่ทั้งตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุชา จันทน์เอม ได้ให้ความหมายสุขภาพจิตหมายถึง สมรรถภาพในการปรับปรุงตนเองให้เข้ากับคนอื่นๆและสิ่งแวดล้อมได้ดี (Adjust Person) มีความสามารถในการสร้างสรรค์ (Productive Person) มีทัศนคติที่ดีต่อสังคม มีความคิดที่ถูกต้องแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมสามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคนที่มีสุขภาพจิตดีย่อมมีความคิดดี มีร่างกายแข็งแรงควบคู่ให้ด้วยเสมอ มีอารมณ์มั่นคง รู้จักใช้ความสามารถของตนที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างเต็มที่และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีชีวิตชีวาด้วยความสนุกรื่นเริง (Zest for life)
สุจริต สุวรรณชีพ อธิบายว่สุขภาพจิตเป็นสภาพจิตใจทีมีความเข็มแข็ง สามารถแก้ปัญหาได้ และสามารถปรับจิตใจให้มีความสุขได้อย่างเหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริงในการดำรงชีวิต โดยทั่วไปแล้วสุขภาพจิตของมนุษย์นั้น จะมีลักษณะไม่คงที่เปลี่ยนกลับไปกลับมาสุขบ้างทุกข์บ้างไม่เสนอไป ทั้งนี้เกิดจากแรงผลักดันทั้งภายในตนเอง จากผู้คนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เบอร์นาร์ด ได้ให้ความหมายว่าสุขภาพจิต หมายถึง ความสามารถปรับตัวให้เข้ากับตนเอง ผู้อื่นและโลกว้างอย่างมีประสิทธิภาพ มีความพึงพอใจ มีความสุขและมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่อยู่ร่วมในสังคม มีความสามารถที่จะเผชิญหน้า และยอมรับความเป็นจริงของชีวิตโดยมีความประมาณตน มีความพอดีทั้งกับตนเองและชนชั้นของสังคม บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีจะมีความตึงเครียดน้อย สามารถควบคุมสติของตนให้มั่นคงไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ ก็ตาม
กลาสเซอณ์ ให้คำจำกัดความว่าสุขภาพจิตมีความหมายเช่นเดียวกับการปรับตัว กล่าวคือเป็นความสามารถของบุคคลที่จะสนองความต้องการในด้านต่างๆของตนได้สำเร็จ โดยไม่ไปขัดกับความต้องการของผู้อื่น ซึ่งควรต้องการดังกล่าวนั้นได้แก่ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น ต้องการรู้สึกว่าตนเองและผู้อื่นมีคุณค่า ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีนั้นจะสามารถปรับตัว และมีพฤติกรรมในทางที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า และผู้อื่นก็มีคุณค่าใน ขณะเดียวกัน โดยที่การปรับตัวดังกล่าวจะเป็นไปตลอดชีวิตจากความหมายและคำจำกัดความต่างๆ ดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ ทางจิตใจของมนุษย์ที่จะช่วยให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขปราศจากโรคจิตโรคประสาท มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม สามารถรัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ได้ มีความมั่นคงทางจิตใจ และสามารถยอมรับและเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของชีวิต กล้าเผชิญกับปัญหา มีสมรรถภาพในการทำงาน มี สัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ผู้อื่น สังคมและประเทศชาติ
(http://www.supapornka.th.gs/web-s/upapornka/folder/11.htm)
สรุปได้ว่าสุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทางร่างกายและทางจิตใจของมนุษย์ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ปราศจากโรคจิต โรคประสาท มีความสามารถในการปรับตัวและอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีความมั่นคงทางอารมณ์ ตระหนักรู้ในตนเองทั้งด้านบวกและด้านลบตามศักยภาพแห่งตน มีสมรรถภาพในการทำงานมีสัมพันธภาพต่างๆ ที่ดีกับบุคคลอื่นและสามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสุขภาพจิต
ในสังคมปัจจุบันนี้ทุกชีวิตต้องเผชิญปัญหามากมาย แก้ปัญหานี้เสร็จก็มีปัญหาอื่นๆเข้ามาให้ขบคิดมากมาย บางคนก็ค่อยๆ สะสางปัญหาไปทีละปล้องทีละปล้องค่อยๆ แก้ค่อยๆ คลาย แต่บางคนยิ่งแก้ปัญหาก็ยิ่งพันตัว ดูวุ่นวายไปหมด และก็มีอีกหลายชีวิตที่ใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการหันหลังให้กับความจริง และท้ายที่สุดก็ย้ายตัวเองไปอยู่บ้านใหม่ที่ตัวเองไม่รู้จักและไม่รู้จักใครอีกเลย มีหลายชีวิตที่แก้ปัญหาหนักไปอีกคือการทำร้ายตัวเอง ตั้งแต่เสพย์ยาเสพติดจนถึงการทำร้ายชีวิตตนคือการฆ่าตัวตาย
ความสำคัญระดับชาติ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 จนถึงปัจจุบันนโยบายที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตซึ่งสาระสำคัญของนโยบายที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพประชากร โดยการส่งเสริมเรื่องสุขภาพอนามัยทั้งทางร่างกายและจิตใจของประชากร และเร่งพัฒนาคุณภาพจิตใจของประชากรโดยระดมสรรพกำลังจากทุกหน่วยของรัฐและเอกชน ตลอดทั้งสถาบันต่าง ๆ ทางสังคม โดย เฉพาะสถาบันครอบครัว ส่วนแผนงานสุขภาพจิตในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ดังกล่าว ได้ระบุถึง เป้าหมายของแผนงานสุขภาพจิตขอบข่ายของงานสุขภาพจิตซึ่งเน้นทั้งในเรื่องราวการป้องกัน การบำบัดรักษา และการส่งเสริมสุขภาพจิต สำหรับสาระสำคัญของเป้าหมายของ แผนงานสุขภาพจิต ได้แก่ การมุ่งแก้ปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค เพื่อให้บรรลุผลในระยะยาวคือ สุขภาพดีถ้วนหน้าเมื่อสองห้าสี่สามและปรับปรุงของเขตของงานสุขภาพจิต โดยเน้นเรื่องการป้องกันและส่งเสริม สุขภาพจิต พร้อมทั้งจัดข่ายงานให้สามารถ ครอบคลุมประชากรได้อย่างทั่วถึง ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทเป็นต้น จากแผนนี้จะเห็นว่าบิดา มารดา ครู อาจารย์ เป็นกลุ่มบุคคลต่างๆที่สามารถจะร่วมงานหรือประสานงานกับบุคคลต่างๆในสังคมทั้งนี้เพื่อจะช่วยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ได้เจริญเติบโตและสุขสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตลอดทั้งเพื่อหาวิถีทางที่จะป้องกันและบำบัดรักษา แก้ไข หากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบกพร่องหรือมีความโน้มเอียงไปสู่ความผิดปกติด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษา ครูอาจารย์ตลอดทั้งบิดามารดาควรจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญต่างๆ ของสุขภาพจิตเพื่อจะได้ทราบและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนี้แล้ววิชาจิตวิทยายังมุ่งหวังให้นักศึกษามีความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ตลอดจนพัฒนาการทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเข้าใจพฤติกรรมต่างๆของตนเองและผู้อื่นนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้แก้ปัญหาของตนเอง และนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการปรับตัว เข้ากับสังคมได้ ตระหนักถึงความสำคัญของจิตวิทยาและการนำจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการทำงานต่างๆ
หลักพื้นฐานของสุขภาพจิต
1. การปรับตัวเป็นวิถีชีวิตของคนทั่วๆไปทุกคนที่จะต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาทุกคนย่อมจะการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปตามครรลองแห่งตน แต่หลายคนย่อมประสบปัญหา และต้องแก้ปัญหาต่างๆ มากมายดังนั้นบุคคลจึงต้องหาทางผ่อนคลายอารมณ์ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง อาจจะต้องมีการปรับตัวปรับใจให้ทันกับเรื่องต่างๆ คนที่ปรับตัวเก่งก็จะมีสุขภาพจิตดี คนที่มีสุขภาพจิตดีย่อมปรับตัวได้ดี ดำรงตนในสังคมได้
2. บุคคลแต่ละคนย่อมมีลักษณะประจำตัวที่แตกต่างกัน บางคนมีความอดทนต่อบางสิ่งไม่ได้บางคนสามารถทนต่อสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงได้ ต่างคนต่างก็มีปฏิกิริยาต่อสภาพที่คับข้องใจต่างกัน มีวิธีการใช้ชีวิตที่ต่างกัน บุคคลแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน
3. สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของบุคคลมากมาย เช่น ระบบสังคม วัฒนธรรม และในชุมชนก็มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของบุคคลมาก ถ้าวัฒนธรรมของเขาขัดกับคำสั่ง ย่อมเป็นปัญหาในทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิต คนจนขาดแคลนถ้าต้องการให้สวมใส่เสื้อผ้าดี ๆ ย่อมลำบากที่จะหามาใส่แต่ ผู้ที่มาจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมดี ย่อมมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีในสภาพการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นคนจึงมีความแตกต่างกันวิธีการของบุคคลจึงเลือกวิธีที่ไม่เหมือนกัน
4. ระบบศีลธรรมนับว่ามีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตมาก ถ้าวัฒนธรรมแตกต่างกันคนสองคนอาจขัดแย้งกันและไม่ทราบว่า จะถือปฏิบัติตามฝ่ายไหน อาจทำให้เสื่อมสุขภาพจิตได้
5. พันธุกรรมก็เป็นตัวกำหนดลักษณะทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ติดตัวมาโดยแต่กำเนิด จึงเป็นการยากที่จะแก้ไข เช่น ตาบอดสี จิตทราม ปัญญาอ่อน เป็นต้น
ดังนั้นจะต้องระมัดระวังในเรื่องหลักการพื้นฐานของสุขภาพจิต ทั้งห้าประการดังกล่าวข้างต้นในการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์เพราะยังมีปัจจัยที่มีอิทธิพลอีกหลายประการที่ทำให้หลายคนมีสุขภาพจิตที่ต่างกันแต่ที่ดีที่สุดคือการรักษาสุขภาพจิตของตนเองระมัดระวังความคิด ความคิดที่ดีจะทำให้เราปฏิบัติดี รู้จักรักตนเองและนำความรักและความรู้สึกที่เรารักตัวเองออกมารักผู้อื่น ปฏิบัติดีๆ กับผู้อื่น สุขภาพจิตเราก็จะดี มีข้อสังเกตบางประการคือ ความรักที่เรามอบให้เพื่อนมนุษย์ต้องไม่หวังสิ่งตอบแทน ต้องไม่คาดหวังว่าเมื่อเราทำอย่างนี้แล้วต้องได้ผลตอบแทนอย่างนั้น จงพยายามเข้าใจคนอื่นตามที่เขาเป็นเราก็จะมีความสุข และสิ่งที่ควรศึกษาต่อไปคือลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดีมีลักษณะอย่างไร ซึ่งอาจทำให้เราหลายคนพัฒนาตนพัฒนาจิตได้อีกระดับหนึ่ง
สาเหตุที่ทำให้สุขภาพจิตเสื่อม
สาเหตุที่ทำให้สุขภาพจิตของบุคคลเสื่อมได้แก่ สาเหตุทางร่างกาย สาเหตุทางจิตใจและสาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งแยกอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้คือ
1. สาเหตุทางร่างกาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุขภาพจิตเสื่อม ได้แก่ ความบกพร่องทางร่างกาย ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความบกพร่องของอวัยวะรับสัมผัส สมองได้รับความกระทบกระเทือน ความบกพร่องในด้านอนามัยและโภชนาการและสาเหตุทางพันธุกรรม โดยจะแยกอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
1.1 ความบกพร่องทางร่างกาย เช่น มีร่างกายอ่อนแอ เป็นคนผอมหรืออ้วนเกินไป เตี้ยเกินไป แคระแกร็น จมูกแฟบ หรือมีความพิการ ไม่สมประกอบ เช่น ตาถั่ว ปากแหว่ง แขนคอก ทำให้เกิดความวิตกกังวล รู้สึกตนว่ามีปมด้อย มีความละอายจนไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้เกิดปัญหาทางด้านพฤติกรรมมาก อาจถูกแกล้ง ถูกล้อเลียน ถากถาง อยู่เสมอจนทนไม่ได้จะรู้สึก เสียใจ กลุ้มใจ น้อยใจ ในความอาภัพ กังวลใจในความพิการ มักจะทำให้จิตใจหงุดหงิดอยู่เสมอ นาน ๆ เข้าจิตใจอาจผิดปกติได้ การแก้ไขต้องหาสมุติฐานให้แพทย์แก้ไข หรือพยายามหาทางให้ทำงานหรือเข้าสังคมสนุกสนานกับเพื่อน ๆ เสียอาจจะลืมเรื่องบกพร่องเหล่านั้นได้
1.2 ความเจ็บไข้ได้ป่วย มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหืด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตหรือโรคปอด โรคเรื้อน หรือโรคขาดธาตุอาหารบางอย่าง ทำให้มีผลต่อสุขภาพจิต ทำให้รู้สึกหงุดหงิด ชี้ระแวงฉุนเฉียว ใจน้อย ปรับตัวยาก พัฒนาการทางด้านกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาล่าช้า เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน กลายเป็นคนมีปัญหา
1.3 ความบกพร่องทางอวัยวะรับสัมผัส เช่น หูฟังไม่ค่อยได้ยิน ตามองไม่ค่อยเห็น เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเรียนรู้ทั้งสิ้น โดยภาพรวมคนที่พิการหรือคนที่บกพร่องทางร่างกายมักจะหงุดหงิดง่ายเพราะทำอะไรไม่ถนัดนัก ยิ่งมาพิการภายหลังจะยิ่งทำให้คนไม่มีความสุขนักเมื่อไม่มีความสุขนานวันเข้าก็ทำให้สุขภาพจิตเสื่อม
1.4 สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนักจากอุบัติเหตุหรืออื่นๆ
1.5 ความบกพร่องในด้านอนามัยและโภชนาการ ทำให้อ่อนแอ พัฒนาการ ล่าช้ากว่าปกติ เด็กที่ขาดอาหารนอกจากพัฒนาการช้าแล้วยังอาจเป็นโรคบางอย่าง เช่น ขาดไอโอดีน ทำให้เป็นโรคคอพอก ทำให้หงุดหงิดเจ้าอารมณ์ มีปัญหาด้านความประพฤติ
1.6 สาเหตุจากพันธุกรรม (Heredity) ได้แก่ ความบกพร่องทางร่างกายและทางสติปัญญาแต่กำเนิด เช่น ตาบอดสี ลมบ้าหมู เป็นผลต่อสุขภาพจิตมากสติปัญญาต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป ทำให้มีปัญหาทางสุขภาพจิตได้ทั้งสองอย่าง ที่ต่ำเกินไปทำให้เรียนช้าไม่ทันเพื่อน ที่สติปัญญาสูงเกินไปก็คับข้องใจรำคาญใจ เพราะต้องทนเรียนสิ่งที่ตนเองไม่สนใจ ทั้งคนโง่และคนฉลาดเกินไปย่อมมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวทั้งสิ้น
2. สาเหตุทางจิตใจ ได้แก่
2.1 อารมณ์ เมื่อเกิดปัญหาทางอารมณ์จะมีผลถึงสุขภาพจิต อารมณ์ที่อาจทำให้คนเสียสุขภาพจิตได้มากได้แก่ความกลัว (Fear) ความวิตกกังวล (Anxiety) และ ความโกรธ (Anger) ดังนี้
2.1.1 ความกลัว (Fear) บางคนกลัวความมืด กลัวที่แออัด กลัวพลัดพรากจากกัน กลัวถูกตำหนิ กลัวคนไม่รัก กลัวถูกลงโทษ กลัวคนแปลกหน้า กลัวที่สูงๆ ถ้ามีอารมณ์เช่นนั้นนาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นคนกลัวโดยไม่มีเหตุผล บางคนกลัวมากจนทำให้เสียสุขภาพจิต
2.1.2 ความวิตกกังวล (Anxiety) มีอิทธิพลร้ายแรงเพราะเป็นอารมณ์ที่เกิดติดต่อกันได้เป็นระยะนาน ๆ ทำลายประสิทธิภาพและสุขภาพทางจิตของคนลงได้มาก ซึ่งความวิตกกังวลมักเป็นห่วงอะไรต่ออะไร บางคนกังวลในเรื่องรูปร่างหน้าตา ฐานะเศรษฐกิจ เสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว วุฒิ ทำให้เกิดความทุกข์ ทำให้ตนขาดความมั่นคงไป ถ้าใครวิตกกังวลมาก ๆ โดยปราศจากเหตุผล คนนั้นมักขาดประสิทธิภาพและเสียสุขภาพจิตไปโดยไม่จำเป็น
2.1.3 ความโกรธ (Anger) คนที่โกรธบ่อย ๆ แสดงว่าไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ ทำให้เข้าสังคมได้ยากและมีผลให้เสียสุขภาพจิต ทุกข์ใจ ไม่สบายใจ
2. 2 ความเหนื่อยล้าของจิต (Fatigue) มีผลต่อสุขภาพจิตและปัญหาอื่นๆ ความเหนื่อยล้าของจิตอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้หลายสาเหตุเช่น การขาดสารอาหารบางกลุ่มในร่างกาย การรับประทานอิ่มมากเกินไป การอดนอน ออกกำลังมากไป ความเบื่อหน่าย การทำงานไม่ประสบความสำเร็จ การมีปัญหาขัดแย้งกับคนอื่น คนประเภทนี้มีโอกาสสุขภาพจิตเสียได้ง่ายกว่าคนธรรมดา และการขาดความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหา ทำให้บุคคลยิ่งเกิดความเครียดทางอารมณ์ สุขภาพจิตเสียได้ง่าย
2.3 การเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้บุคคลย่อมมีปัญหาต่างๆ มากมาย จึงมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ กัน ถ้าบุคคลถูกขัดขวางจะทำให้เกิดความขัดแย้ง (Conflict) เกิดความขุ่นข้องหมองใจหรือความคับข้องใจ (Frustration) และเกิดความวิตกกังวล (Anxiety) จะทำให้เกิดความแปรปรวนทางจิตใจขึ้นได้ ต่างสังคมก็ย่อมต่างวัฒนธรรม ไม่ทราบจะถือว่าประการใดถูกกันแน่ แม้นักจิตวิทยาเองก็ยังมองธรรมชาติของมนุษย์แตกต่างกัน เช่น Freud เน้นพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ในทางเพศ (Sex) แต่ Adler มีความเห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์ต้องการมีอำนาจ ส่วน Jung เห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์ต้องการปกปักษ์รักษาตัวเอง ฉะนั้นความขัดแย้งกันในทางสังคมและวัฒนธรรมย่อมต้องเกิดขึ้น
3. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่
3.1 สิ่งแวดล้อมทางบ้าน ในครอบครัวที่ดีมีการเลี้ยงดูดี ให้ความรักให้ความอบอุ่น แก่สมาชิกรวมทั้งให้ความเห็นอกเห็นใจกันบุคคลก็จะมีสุขภาพจิตดี ปรับตัวได้ดี ถ้าเกิดในครอบครัวที่เลี้ยงดูไม่ค่อยดีเท่าที่ควร มีการอบรมเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง บุคคลก็จะมีความสามารถของการปรับตัวก็ไม่ดีนักและสุขภาพจิตก็ไม่ดีด้วย
3.1.1 บ้านแตก (Broken Home) คือครอบครัวที่แตกร้าว ลูกที่ขาดพ่อแม่ หรือพ่อแม่ไม่ลงรอยกันพ่อแม่ทะเลาะกันไม่เว้นแต่ละวัน ในบ้านมีแต่ปัญหา มีการทะเลาะกันไม่ได้หยุด คนในบ้านไม่รักกัน ขาดความเอาใจใส่กัน ซึ่งอาจทำให้สุขภาพจิตของคนเสื่อมง่าย
3.1.2 เด็กกำพร้าพ่อแม่ เด็กที่ขาดความอบอุ่น ขาดความรัก ว้าเหว่ เหงา เด็กประเภทนี้ต้องให้ความรัก ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ให้มีเพื่อนที่ดีมีการเล่นหัวและคอยช่วยเหลืออยู่เสมอ ต้องคอยสนทนาด้วยอย่างเห็นอกเห็นใจ ให้เขามีกิจกรรมทำตามความสนใจอาจช่วยบุคคลเหล่านี้ได้
3.1.3 บ้านที่ปล่อยปละละเลยลูกเลี้ยงดูอย่างไม่เต็มใจไม่เอาใจใส่ เด็กขาดความรัก ความอบอุ่นขาดที่พึ่ง ถูกทอดทิ้ง เด็กเหล่านี้มักมีปัญหาสุขภาพจิตได้
3.1.4 บ้านที่บิดามารดาเข้มงวดมากเกินไป ผู้ใหญ่เจ้าระเบียบ เอาแต่ใจ กดขี่ ข่มขู่ ตั้งความหวังไว้สูงเกินไป อาจเป็นสาเหตุในการกดดันทำให้เด็กมีสุขภาพจิตผิดปกติได้
3.1.5บ้านที่คุ้มครองเด็กมากเกินไปจนเด็กไม่มีโอกาสเป็นตัวของตัวเองขาดอิสระ เด็กประเภทนี้ก็เป็นปัญหาในการปรับตัวของเด็กเช่นกัน
3.1.6บ้านที่ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่ดี เช่น ตั้งอยู่ใกล้แหล่งเสื่อมโทรม แหล่งการพนัน อบายมุข สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีอาจทำให้เด็กสับสน
3.1.7บ้านที่เศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีของใช้ ขาดอาหารการกิน ขาดเครื่องนุ่งห่ม ขาดปัจจัยในการดำรงชีวิต ความขัดสนความไม่พอสร้างความเครียดให้เด็กได้เช่นกัน
3.2 สิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา ถ้าสถาบันมีระเบียบข้อบังคับเข้มงวดมากเกินไป หยุมหยิม หรือระเบียบหย่อนยานเกินไป มีการแข่งขันกันมากเกินไป หรือครูไม่เอาใจใส่ ขาดระเบียบวินัย บรรยากาศในโรงเรียนไม่ดี อาจทำให้สุขภาพจิตของเด็กเลื่อมลงได้ และทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล โดยเฉพาะนักศึกษาใหม่ที่ยังไม่เคยชินต่อสถานที่ ยังปรับตัวไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นยิ่งพบกับอาจารย์ที่มีสัมพันธภาพกับนักศึกษาน้อยมาก อาจทำให้นักศึกษาเก็ง และกลัว ทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก
วิธีการรักษา
1. การรักษาโดยใช้ยา
2. การรักษาโดยการใช้ไฟฟ้า
3. การทำจิตบำบัด
4. การสะกดจิต
5. การผ่าตัด
6. การรักษาโดยอาศัยสิ่งแวดล้อม
7. พฤติกรรมบำบัด
พฤติกรรมของผู้มีสุขภาพจิตผิดปกติ
พฤติกรรมของผู้มีสุขภาพจิตผิดปกติ หรือผู้มีความผิดปกติทางจิตในขั้นอ่อน เรียกว่า Neuroses เป็นสภาพผิดปกติทางจิต ซึ่งเรามักจัดอยู่ในระดับการป่วยทางจิตระดับปานกลางระหว่างสุขภาพจิตสมบูรณ์แบบหรือที่เรียกว่าโรคประสาท ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับรู้โลกของความจริง และสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้ และ Psychoses หรือการป่วยทางจิตอย่างรุนแรงหรือที่เรามักเรียกกันว่าโรคจิต ผู้ป่วยจะไม่รับรู้โลกของความจริง ไม่สามารถดำรงตนในสังคมได้
พฤติกรรมของผู้มีสุขภาพจิตปกติ
พฤติกรรมของผู้มีสุขภาพจิตปกติหรือลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดีควรมีละกษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจตนเองได้ดีอยู่เสมอรู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ เช่น โกรธ กลัว อิจฉา ฯลฯ ยอมรับสภาพความขาดแคลนและขีดจำกัดของตน ยอมรับนับถือตนเอง ยอมรับสภาพทั่วไปของตนเอง ยอมรับความผิดหวังอย่างไม่สะทกสะท้าน สามารถรับได้ทั้งความผิดหวังและความสำเร็จ รู้จักประมาณตน ประเมินความสามารถของตนเอง ไม่ดูถูกหรือยกย่องความสามารถของตนจนเกินความเป็นจริง
2. เป็นผู้ที่รู้จักตนเองและสามารถเข้าใจผู้อื่นได้ดีบุคคลควรมีเข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ความสนใจ รักใคร่แก่ผู้อื่นมีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนอย่างราบรื่นชื่นสุขและมั่นคง สามารถเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบต่อเพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะหรือสังคม ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่คิดว่าตนเองเก่งกว่าคนอื่น มีน้ำใจเสียสละ ให้ความช่วยเหลือบุคคลอื่น ไม่เอาเปรียบผู้อื่น เข้าใจความรู้สึกของบุคคลอื่น ใจกว้างยอมรับฟังการติชมจากคนอื่น รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
3. เป็นผู้ที่สามารถเผชิญกับปัญหาและความเป็นจริงแห่งชีวิตได้ดีสามารถตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างฉลาด มีเหตุผล ฉับพลัน ปราศจากความลังเล หรือเสียใจภายหลังสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ทุกสภาพการณ์และปรับสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ รับผิดชอบต่อปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองอย่างเต็มที่ พร้อมที่จะเผชิญปัญหาชีวิตได้ด้วยความไม่ประมาท ปราศจากความวิตกกังวล ไม่ประหม่า และไม่หวาดกลัวต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสามารถใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างเต็มที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พอใจ ชื่นชม ยินดีต่อการกระทำที่ตนกำลังกระทำอยู่ มีความมานะพยายาม พากเพียร
ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต
องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิต จึงเลือกหัวข้อนี้ตีพิมพ์เป็น World Health Report 2001: Mental Health New understanding New Hope (WHO, 2001) มีเจตนารมณ์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิตทั้งในระดับบุคคลและ ประชาชาติทั่วโลก ในแง่ผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และภาระที่เกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจิต โดยองค์การอนามัยโลกได้มีข้อแนะนำบริบททางสุขภาพจิตเพื่อการบริหารจัดการระดับชาติ สำหรับทุกประเทศ ทุกองค์กรในการพัฒนาสุขภาพจิตเพื่อนำไปดัดแปลงปฏิบัติ ไว้10 ด้านดังนี้
1. ให้การบริการรักษาปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ
2. ส่งเสริมและจัดหายาเพื่อสามารถรักษาโรคทางจิตเวช
3. ให้การบริการสุขภาพจิตระดับชุมชน
4. มีการอบรมเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน
5. มีส่วนเข้าร่วมในกิจการต่างๆของชุมชน ครอบครัว
6. สร้างนโยบายระดับชาติ เป็นโครงการต่างๆ หรือพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
7. พัฒนาทรัพยากรบุคคล
8. เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับองค์กรด้านอื่นๆ
9. เฝ้าติดตามภาวะสุขภาพจิตของชุมชน
10. ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยทางสุขภาพจิต จะเห็นว่าการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของประเท เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งในขณะนี้ พื้นฐานเริ่มต้นคือการกำหนดนิยามและขอบเขตซึ่งได้ทบทวนและนำเสนอไปในส่วนที่แล้วในส่วนต่อมาจะเป็นการทบทวนการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตโดยเริ่มจากสิ่งที่ใช้ประเมินสุขภาพจิตคือดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตต่างๆ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ความหมายของคุณลักษณศึกษา
“คุณลักษณศึกษา” เป็นคำที่แปลมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “character education” ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและคล้ายคลึงกับ "moral education" และ "virtue education" คำเหล่านี้มักจะใช้แทนกันและใช้ในความหมายเดียวกันในเชิงการจัดการศึกษาหรือกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลให้มีพฤติกรรมและความคิดที่ดีงามตามอุดมคติที่สังคมพึงประสงค์ ความหมายของคุณลักษณ์ศึกษาที่ประมวลจาก Webster’s Ninth New Collegiate Dictionary (1991) Chicago Public Schools (1998) McBrien และ Brandt (1997) Educational Materials Center (2003) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่มุ่งพัฒนาความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมที่ดีในบุคคลเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ดีต่อไป นิยามข้างต้นชี้ให้เห็นว่าแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชนมีขอบข่ายครอบคลุมแนวคิดที่เกี่ยวกับการพัฒนาความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก และพฤติกรรม ตามกรอบของค่านิยม จารีต ประเพณี คุณธรรม ศีลธรรมตามหลักศาสนา มาตรฐาน กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ในสังคม ตลอดจนสภาพในอุดมคติที่ควรจะเป็นทั้งในระดับบุคคล คือ ในเด็กและเยาวชน ตลอดจนในระดับสังคมและประเทศต่อไป (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:25)
คุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับสังคมไทย
คุณลักษณะที่ดีของคนไทยที่พึงประสงค์ ซึ่งกำหนดในมาตรฐานการศึกษาชาติคือ คุณธรรมและจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก โดยคนไทยต้องมีการดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต สำหรับการวิจัยนี้ได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะด้านคุณธรรม คุณลักษณะด้านสังคม และคุณลักษณะด้านการเรียนรู้
1. คุณลักษณะด้านคุณธรรม หมายถึง คุณลักษณะที่เป็นสภาพความดีงามในด้านต่างๆ และ หากยึดชุดของคุณธรรมระดับบุคคลเพื่อมุ่งความสำเร็จของส่วนรวมตามแนวพระราชดำริของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการวิเคราะห์ของไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ (2531, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:25) ซึ่งใช้เป็นกรอบในงานวิจัยของสุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย (2543, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:25) พบว่าคุณธรรมระดับบุคคลเพื่อความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมี 4 ชุด ได้แก่
1.1 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยแรงผลักดัน หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยเร่งรัดให้กระทำการใด ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น ความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ความสามารถพึ่งตนเอง และความมีวินัย
1.2 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยเร่งรัดให้กระทำการใด ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง เช่น ฉันทะ ความรับผิดชอบ ความสำนึกในหน้าที่ และความกตัญญู
1.3 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้ง หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยยึดประวิงหรือตักเตือนให้กระทำการใด ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น ความมีสติและรอบคอบ และความตั้งจิตให้ดี
1.4 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยสนับสนุน หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยส่งเสริมให้กระทำการใด ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น ความเมตตา ความปรารถนาดีต่อกัน ความเอื้อเฟื้อต่อกัน ความไม่เห็นแก่ตัว ความไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัย
2. คุณลักษณะด้านสังคม หมายถึง คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความมีกิริยามารยาท การปรับตัว ความตรงต่อเวลา ความสุภาพ การมีสัมมาคารวะ การพูดจาไพเราะ และความอ่อนน้อมถ่อมตน
3. คุณลักษณะด้านการเรียนรู้ หมายถึง คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหาความรู้ การทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความรักโรงเรียน และความรักการอ่าน
แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่ดี
Berkowitz (2006, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:26) เสนอว่า คุณลักษณศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไม่ควรใช้การเพิ่มโปรแกรมหรือกิจกรรมเข้าไปในโรงเรียน หากแต่ควรแปรเปลี่ยนวัฒนธรรมของโรงเรียนและการดำเนินชีวิต ในขณะที่ Michigan State University Extension (2005, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:26) ได้เสนอแนวทางการจัดคุณลักษณศึกษาเพื่อพัฒนาจริยธรรมของเด็กและเยาวชนของมูลนิธิจริยธรรมโจเซฟิน (Josephine Institute of Ethics) โดยจัดเป็นโครงการต่าง ๆ ที่พัฒนาจริยธรรมต่าง ๆ ให้แก่เด็กและเยาวชนตามโรงเรียนและองค์กรต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยมีชุดกิจกรรมที่เรียกว่า “Character Counts” ที่ใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กในช่วงอายุต่าง ๆ 5 ช่วง ได้แก่ 4-6 ปี, 6-9 ปี, 9-11 ปี และ 11-13 ปี และวัยรุ่น โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ (six pillars of character) ที่มุ่งสร้างเสริมให้เกิดกับนักเรียน ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเคารพผู้อื่น ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม การดูแลเอาใจใส่เกื้อกูล และความเป็นพลเมืองที่ดี
อย่างไรก็ตาม Gholar (2006, อ้างถึงใน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:25) ได้เสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก โดยจัดเป็นศูนย์คุณลักษณศึกษา เพื่อการศึกษาและสร้างกิจกรรมต่าง ๆ ที่พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน นอกจากนั้นยังเน้นการเสริมสร้างการยอมรับตนเอง (self-esteem) ให้แก่เด็ก แนวคิดดังกล่าวเน้นการพัฒนาการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมทั้งทางสติปัญญา (cognitive area) ในด้านความรู้ความเข้าใจในคุณลักษณะที่ดี ตลอดจนการพัฒนาด้านจิตใจ (affective area) ของนักเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการประพฤติการปฏิบัติตนของเด็ก แนวทางนี้หมายรวมถึงการบูรณาการการสอนและการสอดแทรกเรื่องคุณลักษณะที่ดีในการสอนวิชาต่าง ๆ ให้กับเด็กด้วย กิจกรรมที่บูรณาการและสอดแทรกเข้ากับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนปกติเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของเด็กมีลักษณะที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากกิจกรรมการเรียนรู้หรือประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning) การแสดงบทบาทสมมติ (role playing) กิจกรรมที่เน้นการคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) และกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ที่เกิดระหว่างบุคคล
สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะของเด็กนั้น Character Education Partnership (2005, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:27) เสนอว่าไม่สามารถระบุวิธีการใดวิธีการหนึ่งได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าจะมีประสิทธิภาพในการจัดคุณลักษณศึกษา แต่มีหลักการสำคัญ 11 ประการในการจัดคุณลักษณศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนที่ควรยึดถือ ประกอบด้วย
หลักการที่ 1 ส่งเสริมและให้ความสำคัญกับค่านิยมเชิงจริยธรรม โดยทำให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการมีจริยธรรมเป็นคุณสมบัติของคนดีหรือคนที่มีคุณลักษณะที่ดี
หลักการที่ 2 ให้นิยามคำว่า “คุณลักษณะ ให้เข้าใจง่าย โดยรวมความหมายในเชิงความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมเข้าเป็นองค์ประกอบของคุณลักษณะต่าง ๆ
หลักการที่ 3 ใช้วิธีการพัฒนาคุณลักษณะที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองโดยตรง อย่างรอบด้าน และมีประสิทธิภาพ
หลักการที่ 4 สร้างเครือข่ายโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน
หลักการที่ 5 เปิดโอกาสและจัดประสบการณ์การแสดงออกในทางคุณธรรมให้แก่นักเรียน
หลักการที่ 6 ผนวกการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนเข้ากับหลักสูตรวิชาการในที่สอน
หลักการที่ 7 พยายามส่งเสริมแรงจูงใจในตัวนักเรียน
หลักการที่ 8 จัดให้บุคลากรทางการศึกษามีโอกาสพัฒนาคุณลักษณะที่ดีเช่นเดียวกันกับที่พัฒนานักเรียน
หลักการที่ 9 ส่งเสริมการเป็นผู้นำในด้านคุณธรรมของนักเรียนและให้การสนับสนุนการจัดคุณลักษณศึกษาอย่างต่อเนื่อง
หลักการที่ 10 จัดให้สมาชิกในครอบครัวชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างคุณลักษณะที่ดีให้แก่นักเรียน
หลักการที่ 11 ประเมินคุณลักษณะต่าง ๆ ของนักเรียนทั้งโรงเรียนและการดำเนินการของบุคลากรของโรงเรียนในการพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ ของนักเรียน
Ryan (2002, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:27) เสนอแนวทางการจัดคุณลักษณศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ (The Six E's of Character Education) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การยกตัวอย่างและปฏิบัติเป็นแบบอย่าง (Example) แนวทางการยกตัวอย่างของการประพฤติ ปฏิบัติที่สะท้อนคุณลักษณะที่พึงประสงค์นอกเหนือจากการอบรมสั่งสอนเพื่อยกตัวอย่างพฤติกรรมที่ดีและไม่ดี พร้อมผลของการปฏิบัติให้เกิดความเข้าใจ รวมถึงการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของครูเพื่อให้นักเรียนเห็นด้วย การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีถือเป็นการยกตัวอย่างที่ดีที่สุดที่นักเรียนสามารถเห็นและเลียนแบบการกระทำ ความประพฤติต่าง ๆ ได้โดยตรง
2. การสอนอธิบายให้รู้จักใช้เหตุผล (Explanation) ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน จากเดิมที่ควบคุมความประพฤติโดยเน้นการท่องกฎแล้วปฏิบัติตามกฎโดยขาดเหตุผล มาเป็นการใช้อธิบายให้รู้จักใช้เหตุและผลในการพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ กระตุ้นให้เกิดการวิพากษ์หรือสนทนาเกี่ยวกับคุณลักษณะที่ดีและไม่ดี พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบเพื่อสร้างความตระหนักและการปรับพฤติกรรมอันสะท้อนถึงคุณลักษณะของเด็กออกมา
3. การเชิญชวนให้ทำความดี (Exhortation) การชี้แนะ เชิญชวน โดยใช้การเสริมแรงทางบวกควบคู่กับการพัฒนาความกล้าหาญเชิงจริยธรรม (moral courage development) โดยให้กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่อายหรือกลัวที่จะทำในสิ่งที่ควร
4. การจัดสิ่งแวดล้อมเชิงคุณธรรม (Ethos or Ethical Environment) เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ไม่มีสิ่งยั่วยุให้ไปในทางเสื่อม โดยเฉพาะในห้องเรียนซึ่งเป็นสังคมย่อยเล็ก ๆ ที่นักเรียนจะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ครูสามารถจำลองสังคมใหญ่ภายในห้องเรียนได้ สร้างบรรยากาศเชิงคุณธรรม
5. การจัดประสบการณ์ (Experience) การเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสสังคมภายนอกอย่างจริงจังนอกโรงเรียนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้และซึมซับแนวคิดในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างพึงประสงค์
6. การคาดหวังความเป็นเลิศ (Expectations of Excellence) การวางเป้าหมายของตนเองของเด็ก เป็นเสมือนการกำหนดหลักชัยในการพัฒนาคุณลักษณะของตนเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
Educational Materials Center (2003, อ้างถึงใน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:25) เสนอกลยุทธ์การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practice) ของการจัดคุณลักษณะศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนไว้ 10 ประการ โดยแยกการปฏิบัติด้วยวิธีการต่าง ๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม รายละเอียดมีดังนี้
กลุ่มที่ 1 การนำหลักสูตรคุณลักษณ์ศึกษาเพิ่มเติมเข้าไปกับความรู้ที่ครูสอน และสนับสนุนการเข้าใจคุณลักษณะต่าง ๆ อย่างแท้จริง โดยแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศประกอบด้วย
แนวทางที่ 1 เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรมจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เหมือนชีวิตจริงที่มีโอกาสได้พบ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตอบสนองต่อสถานการณ์นั้น ๆ อย่างหลากหลาย
แนวทางที่ 2 ทำให้คุณลักษณ์ศึกษาเป็นเสมือนเครื่องมือที่นำนักเรียนไปสู่เป้าหมายในการเรียน ไม่ใช่นำคุณลักษณศึกษาเข้ามาเพิ่มจากการเรียนการสอนปกติ แนวทางที่ 3 จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้สะท้อนตนเองและกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อช่วยให้นักเรียนพัฒนาคุณลักษณะการยอมรับตนเองและผู้อื่นอย่างสมดุล
กลุ่มที่ 2 การจัดกิจกรรมการสอนทักษะต่างๆ ให้กับนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
แนวทางที่ 4 คือให้นักเรียนได้ฝึกฟังและทำความเข้าใจความเชื่อของผู้อื่นๆ และเคารพในความคิดของผู้อื่น ซึ่งหมายรวมถึงการยอมรับความแตกต่างของผู้อื่นด้วย
แนวทางที่ 5 จัดกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะโดยใช้กิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การวางแผน การจัดกิจกรรม และสะท้อนผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมร่วมกัน
กลุ่มที่ 3 การจัดกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในตัวเองและการยอมรับตนเองของนักเรียน แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
แนวทางที่ 6 จัดโอกาสให้นักเรียนได้กำหนดสัญญากับตนเอง ในการพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ
แนวทางที่ 7 จัดโอกาสที่ช่วยให้นักเรียนเชื่อมั่นในตนเอง
กลุ่มที่ 4 การจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนช่วยสังคม แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศแนวทางที่ 8 จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างทัศนคติและการปฏิบัติตนในทางที่ดีให้แก่นักเรียน
แนวทางที่ 9 จัดโอกาสการเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้อุทิศหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
แนวทางที่ 10 ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน
จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชน กล่าวโดยสรุปได้ว่า หลักการและแนวปฏิบัติในการจัดคุณลักษณะศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชน แบ่งออกได้เป็น 4 แนวทาง (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:29)
แนวทางที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรวิชาเฉพาะเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชนคือ วิชาหลักพลเมือง ซึ่งหมายถึง วิชาสำคัญหรือวิชาบังคับที่จัดให้นักเรียนได้เรียนรู้คุณลักษณะและการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี โดยจัดให้มีหลักสูตรวิชาดังกล่าวแยกต่างหากจากกลุ่มสาระวิชาที่มีอยู่ในหลักสูตรปกติ
แนวทางที่ 2 การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีเข้าไปกับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เป็นการสอดแทรกการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีเข้าไปในการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระวิชา โดยเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับคุณลักษณะที่ต้องการเสริมสร้างพัฒนาให้เหมาะสม เป็นการบูรณาการการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีกับการจัดการเรียนรู้ปกติ ให้นักเรียนมีความรู้ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
แนวทางที่ 3 การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร หมายถึง กิจกรรมที่จัดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ไม่ยึดติดกับเนื้อหาวิชา แต่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักสูตรหรือส่งเสริมคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของนักเรียน และเป็นกิจกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
แนวทางที่ 4 การจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชน แตกต่างจากกิจกรรมเสริมหลักสูตรตรงที่กิจกรรมพิเศษจะจัดขึ้นเป็นครั้งคราว ตามวาระ ไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ และกิจกรรมดังกล่าวมักเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นจิตสำนึกในการพัฒนาตนเอง หรือการให้สัญญากับตนเองหรือสาธารณชนในการพัฒนาตนเอง โดยกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นกิจกรรมที่ให้สถาบันที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน เช่น สถาบันครอบครัว โดยให้พ่อแม่ผู้ปกครองปลูกฝังและพัฒนาคุณลักษณะของเด็กและเยาวชนเมื่ออยู่ในครอบครัว หรือสถาบันศาสนา สามารถใช้สถานที่สำคัญทางศาสนาทำกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะของเด็กและเยาวชนได้ ทั้งนี้ควรมีการประเมินเพื่อกำกับติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กในกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
แนวคิด หลักการ และกลยุทธ์หรือนวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะ
จากผลการวิจัยของสุวิมล ว่องวาณิช และคณะ (2549, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:30) พบว่าแนวคิดและหลักการสำหรับการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของนักเรียนมีดังต่อไปนี้
1. การสร้างตัวแบบ/ผู้นำ การพัฒนาคุณลักษณะต้องมีการสร้างตัวแบบที่ดี ทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ หรือบุคคลตัวอย่างในสังคม
2. การพัฒนาคุณธรรมและคุณลักษณะอื่น ๆ ให้เป็นวิถีชีวิต มีความสอดคล้องกับธรรมชาติ ตอกย้ำให้พัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง โดยมีกระบวนการพัฒนาที่บูรณาการสอดแทรกอยู่ในชีวิตการเรียน การปฏิบัติงาน เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม และคนกับธรรมชาติ โยงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน
3. การพัฒนาตัวตนของนักเรียน ด้วยการจัดพื้นที่สร้างสรรค์และเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถ ศักยภาพ และการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ตามแนวทางที่ตนเองคิดสร้างสรรค์ และอยู่ในบริบทของการทำความดี มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคม ให้เด็กมีการปฏิบัติและพัฒนาตนอย่างเข้าใจความหมาย เห็นบทบาทและคุณค่าของตนเองมากขึ้น
4. การสร้างระบบค่านิยมให้เด็กและเยาวชนเห็นได้ชัดเจนว่าแก่นของเด็กไทยคืออะไร ต้องประพฤติและปฏิบัติตนอย่างไร กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาชัดเจนและดึงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ทำให้เด็กมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับเปลี่ยนจริยธรรม เช่น การสำรวจพฤติกรรมการปฏิบัติตนของตนเองในแต่ละวัน และต้องยอมรับว่าค่านิยมต้องมาจากตัวแบบที่ดี
5. การสร้างความร่วมมือรวมพลังทั้งจากผู้บริหาร/ครูอาจารย์ในโรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองในครอบครัว ชุมชน สังคม ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย กำหนดคุณธรรมที่เป็นเป้าหมาย การให้ครอบครัว ชุมชนมีการทำกิจกรรมร่วมกัน
6. การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของเด็กและเยาวชนต้องสอดคล้องกับลักษณะของโรงเรียน ธรรมชาติ บริบท และช่วงวัยของเด็ก
7. การสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน และซึมซับวิธีคิดและการปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันผ่านกระบวนการ เป็นธรรมชาติในระบบของชุมชน
8. โรงเรียนต้องมีนโยบายที่ไม่เน้นวิชาการอย่างเดียว โรงเรียนมีครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ดึงชุมชนเข้ามา สร้างชุมชนที่สร้างสรรค์ ชี้ให้เห็นปัญหาของชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อบุตรหลาน
9. ต้องมีการสร้างแนวร่วม มีเครือข่ายที่ช่วยเสริมกำลังใจให้เด็กทำความดี เด็กที่ได้รับการพัฒนาทำให้เขาดีไปแล้ว ก็มีเด็กรุ่นใหม่เรื่อย ๆ ต้องสร้างเครือข่าย การให้รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน เพียงแค่คำชมก็ได้
จากแนวคิด และหลักการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนข้างต้น สรุปเป็นกลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะได้ดังนี้ (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:30)
1. กลยุทธ์การสร้างนโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาคุณลักษณะ โดยการให้ความสำคัญกับองค์กรฐานรากของสังคม คือ สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา ในฐานะแกนกลางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และการรวมพลังจากการเชื่อมประสานทุกภาคส่วนของสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ตั้งแต่ระดับบุคคล เช่น ควรมีการทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน และการช่วยอบรมตักเตือนโดยผู้อาวุโส ระดับกลุ่มบุคคล เช่น การรวมตัวจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการปลูกฝังคุณลักษณะระดับองค์กร เช่น การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านคุณลักษณะผ่านสื่อมวลชน การลดการเสนอข่าวความรุนแรง เป็นต้น
2. กลยุทธ์การปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน ทั้งนี้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม เขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานอื่น ๆ ต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมาย วางนโยบาย และวางแผนการเสริมสร้างคุณลักษณะอย่างมีระบบ มีกลไกนำแผนสู่การปฏิบัติ และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อนำผลการประเมินมาพัฒนาแผนงานในช่วงต่อไป พันธกิจที่สำคัญ คือ การดำเนินงานโดยความร่วมมือกับสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา องค์กรเอกชน มูลนิธิ และสถาบันอื่นในสังคม เพื่อการประสาน ส่งเสริม สนับสนุน ให้โรงเรียน/สถานศึกษาสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ให้ได้โรงเรียน/สถานศึกษาต้นแบบการพัฒนาคุณลักษณะ ที่สามารถขยายผลต่อไปได้
3. กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างมีระบบ โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นการวิจัยสำรวจความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณลักษณะ การวางแผนและการออกแบบกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะ การดำเนินการตามแผนการพัฒนาคุณลักษณะ การติดตามกำกับผลการดำเนินงานตามแผนงานรวมทั้งการประเมินคุณภาพ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแผนงานกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะ
4. กลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) ประกอบด้วยกลยุทธ์การสอดแทรกการเรียนรู้เข้าไปในการปฏิบัติงานจริง การจัดประชุมเกี่ยวกับอนาคตเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่หลากหลาย การสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีม การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และการสนับสนุนอย่างจริงจังโดยผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ
5. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสสังคม ให้เกิดสำนึกสาธารณะ เชิดชูคุณธรรมจริยธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน รวมทั้งการสร้างกระแสสังคมให้เกิดการเชื่อมประสาน เสริมหนุน และการขยายเครือข่ายองค์กรภาคีในด้านการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างต่อเนื่อง
6. กลยุทธ์การวิจัยและการจัดการองค์ความรู้ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน เช่น การวิจัยพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา คุณลักษณะ การวิจัยนำร่องเพื่อพัฒนารูปแบบ/กิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนคุณธรรมจริยธรรม หล่อหลอมให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ การวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผ่านสถาบันทางสังคม การวิจัยเพื่อสืบค้นและจัดทำแผนที่นักเรียน/โรงเรียน/สถานศึกษาที่มีคุณลักษณะ
นวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะที่ดี
ผลการดำเนินโครงการทำให้ครูอาจารย์ในโรงเรียนได้มีการพัฒนานวัตกรรมคุณลักษณะศึกษาซึ่งสามารถจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:33)
1. นวัตกรรมหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum Innovation) การจัดกิจกรรมบูรณาการแบบเน้นคุณธรรม (moral-focused activity) โดยการสอดแทรกการพัฒนาคุณธรรมระหว่างการพัฒนาทักษะความสามารถของนักเรียนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดในหลักสูตร
2. นวัตกรรมกระแสนิยม (In Trend Innovation) การจัดกิจกรรมใช้การสร้างกระแสหรือการนำค่านิยมที่เกิดขึ้นตามกระแสในช่วงนั้นมาใช้เป็นสื่อในการออกแบบกิจกรรมเพื่อดึงความสนใจของนักเรียน หรือการกำหนดกิจกรรมที่มีลักษณะการแข่งขัน เพื่อลดช่องว่างระหว่างสถานภาพของบุคคลหรือชนชั้น
3. นวัตกรรมขบวนการบูรณาการ (Integrated Process Innovation) การจัดกิจกรรมที่มีการบูรณาการกระบวนการดำเนินงานของนักเรียนในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ มิใช่จัดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งแล้วหยุด แล้วเริ่มทำกิจกรรมอื่นต่อไปที่ไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมเดิม
4. นวัตกรรมริเริ่มจากนักเรียนร้อยแปดแบบ (108 Student Initiations Innovation) การจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนเป็นผู้คิดริเริ่มและออกแบบกิจกรรม เพื่อให้ได้กิจกรรมและการขยายผลที่นำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณะ
5. นวัตกรรมที่ทำให้เข้าระบบสถาบัน (Institutionalized Innovation) การจัดกิจกรรมที่กำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานในระดับสูง และทำให้เป็นภารกิจปกติของโรงเรียนโดยกำหนดเป็นแผนงานหลัก
6. นวัตกรรมอิงการเรียนรู้จากการบริการ (Service Learning-Based Innovation) การจัดกิจกรรมที่จัดโอกาสให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำงานที่เป็นการให้บริการแก่สังคม
7. นวัตกรรมการประชุม (Forum Innovation) การจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการประชุมในรูปแบบของสมัชชาหรือการเสวนา เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน
8. นวัตกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต (Living Values Innovation) การจัดกิจกรรมโดยใช้แนวคิด “คุณค่าเพื่อชีวิต” ซึ่งพัฒนาโดยนักวิชาการชาวตะวันตก บนพื้นฐานแนวคิดของการพัฒนาจิตใจของนักเรียนให้มีความสงบ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
9. นวัตกรรมที่เป็นนิสัยประจำ (Routine Habit Innovation) การจัดกิจกรรมโดยครูเป็นผู้กำหนด คุณลักษณะที่จำเป็นต้องพัฒนาในตัวนักเรียนและฝึกปฏิบัติเป็นนิสัยในชีวิตประจำวัน
10. นวัตกรรมการพัฒนาตนเอง (Self-Development Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการฝึกให้นักเรียนรู้จักประเมินตนเอง และมีการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการเผากิเลส ให้นักเรียนเขียนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ตนเองได้ปฏิบัติบนกระดาษ
11. นวัตกรรมการประยุกต์ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World Application Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการนำพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงมาใช้กับการแสดงพฤติกรรมในโรงเรียน
อำรุง จันทวานิช เลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวถึงการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยว่า สกศ. ได้ศึกษาเรื่องคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย ซึ่งเป็นงานส่วนหนึ่งในโครงการวิถีการเรียนรู้ของคนไทย โดยเริ่มโครงการมาในสมัยที่ นายปองพล อดิเรกสาร ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลงานด้านการศึกษา ขณะนี้ได้ผลสรุปจากการทำวิจัยในโครงการ แบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ
1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย มี 2 ลักษณะ ได้แก่
1.1 คุณลักษณะร่วม คือ ลักษณะที่คนไทยควรมี มี 9 ประการ ดังนี้
1.1.1 มีความใฝ่รู้
1.1.2 ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
1.1.3 ความสามารถด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์
1.1.4 วินัยในตนเอง
1.1.5 ความอาทรต่อชุมชนและระบบนิเวศ
1.1.6 ความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม
1.1.7 ฉันทะและวิริยะในการงาน
1.1.8 มีความสามารถในการปรับตัว
1.1.9 มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
1.2 คุณลักษณะเฉพาะ คือ คนไทยควรมีลักษณะเฉพาะที่อาจแตกต่างจากชนชาติอื่น ดังนี้
1.2.1 มีความสามัคคี
1.2.2 ประนีประนอมและรู้จักให้อภัย
1.2.3 อดกลั้น
1.2.4 เมตตากรุณา
1.2.5 ละอายต่อการทำชั่ว
1.2.6 มีความรักและยึดมั่นในสัจจะ
1.2.7 กล้าหาญทางจริยธรรม
1.2.8 รับผิดชอบต่อครอบครัวและชุมชน
1.2.9 รักและยึดมั่นในอหิงสธรรม
2. ยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย มี 9 ประการ
2.1 เสริมความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นให้กับระบบครอบครัว
2.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นให้กับ “ สมาคมคนร่วมวัย ”
2.3 สร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการเรียนรู้แบบดั้งเดิมในชุมชน
2.4 สร้างและส่งเสริมองค์กรเรียนรู้สมัยใหม่ในชุมชน
2.5 จัดหรือสนับสนุนให้มีการพิมพ์หนังสือประเภทการปลูกฝังคุณค่าและประวัติบุคคล
2.6 สนับสนุนและส่งเสริมรายการที่สร้างคุณค่าและการสร้างแบบอย่างที่พึงประสงค์ผ่านสื่อมวลชน
2.7 เสริมความเข้มแข้งให้กับสถาบันศาสนา
2.8 ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน
2.9 เสริมสร้างความเข้มแข็งและเป็นปึกแผ่นให้กับชุมชน
3. การพัฒนาคุณลักษณะตามช่วงวัย การจะสร้างหรือปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยทั้งคุณลักษณะร่วมและคุณลักษณะเฉพาะควรใช้หลักคิด 4 ประการ ประกอบด้วย
3.1 หลักพัฒนาการ ในช่วงวัย 3 -5 ปี คุณลักษณะที่ควรปลูกฝังคือ การรู้จักควบคุม อารมณ์ การรู้จักถูก /ผิด ในช่วงนี้ครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุด ในช่วง 6 -11 ปี ควรปลูกฝังในเรื่องการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความรับผิดชอบ การมีวินัยและรู้จักประหยัด ซึ่งช่วงนี้โรงเรียนจะมีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุดและในช่วง 12 -19 ปี ควรปลูกฝังในเรื่องอัตลักษณ์ทางสังคมและทางเพศ ช่วงนี้เพื่อนจะมีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุด นอกจากนี้สื่อยังมีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนมากขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่วัยอนุบาลถึงวัยรุ่น
3.2 ความเป็นไทย ความเป็นไทยถือเป็นต้นทุนทางสังคมทำให้ทุกศาสนา สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้รับการปลูกฝังเท่าที่ควร
3.3 ความรู้ทันโลก หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์และการมีความคิดสร้างสรรค์
3.4 การแก้ไขจุดอ่อนของสังคมไทย เช่น ความมีวินัย ใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย เป็นต้น ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้ วัยอนุบาล 3- 5 ปี นี้ เด็กควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ถูกผิดและความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้ วัยเรียน 6 -11 ปี เด็กควรได้รับการพัฒนาให้ความความเพียรพยายามในการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น มีวินัย ประหยัด มีคุณธรรม จริยธรรม และควบคุมตัวเองได้ และวัยรุ่น 12 -19 ปี เยาวชนวัยรุ่นควรพัฒนาให้มีอัตลักษณ์ทางเพศและจิตลักษณ์ทางสังคมที่มีความรับผิดชอบ พร้อมไปกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ใฝ่รู้และความประหยัด (http://www.onec.go.th/news46/pr/sala/s_491206-a.htm)
“คุณลักษณศึกษา” เป็นคำที่แปลมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “character education” ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและคล้ายคลึงกับ "moral education" และ "virtue education" คำเหล่านี้มักจะใช้แทนกันและใช้ในความหมายเดียวกันในเชิงการจัดการศึกษาหรือกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลให้มีพฤติกรรมและความคิดที่ดีงามตามอุดมคติที่สังคมพึงประสงค์ ความหมายของคุณลักษณ์ศึกษาที่ประมวลจาก Webster’s Ninth New Collegiate Dictionary (1991) Chicago Public Schools (1998) McBrien และ Brandt (1997) Educational Materials Center (2003) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่มุ่งพัฒนาความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมที่ดีในบุคคลเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ดีต่อไป นิยามข้างต้นชี้ให้เห็นว่าแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชนมีขอบข่ายครอบคลุมแนวคิดที่เกี่ยวกับการพัฒนาความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก และพฤติกรรม ตามกรอบของค่านิยม จารีต ประเพณี คุณธรรม ศีลธรรมตามหลักศาสนา มาตรฐาน กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ในสังคม ตลอดจนสภาพในอุดมคติที่ควรจะเป็นทั้งในระดับบุคคล คือ ในเด็กและเยาวชน ตลอดจนในระดับสังคมและประเทศต่อไป (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:25)
คุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับสังคมไทย
คุณลักษณะที่ดีของคนไทยที่พึงประสงค์ ซึ่งกำหนดในมาตรฐานการศึกษาชาติคือ คุณธรรมและจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก โดยคนไทยต้องมีการดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต สำหรับการวิจัยนี้ได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะด้านคุณธรรม คุณลักษณะด้านสังคม และคุณลักษณะด้านการเรียนรู้
1. คุณลักษณะด้านคุณธรรม หมายถึง คุณลักษณะที่เป็นสภาพความดีงามในด้านต่างๆ และ หากยึดชุดของคุณธรรมระดับบุคคลเพื่อมุ่งความสำเร็จของส่วนรวมตามแนวพระราชดำริของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการวิเคราะห์ของไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ (2531, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:25) ซึ่งใช้เป็นกรอบในงานวิจัยของสุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย (2543, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:25) พบว่าคุณธรรมระดับบุคคลเพื่อความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมี 4 ชุด ได้แก่
1.1 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยแรงผลักดัน หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยเร่งรัดให้กระทำการใด ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น ความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ความสามารถพึ่งตนเอง และความมีวินัย
1.2 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยเร่งรัดให้กระทำการใด ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง เช่น ฉันทะ ความรับผิดชอบ ความสำนึกในหน้าที่ และความกตัญญู
1.3 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้ง หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยยึดประวิงหรือตักเตือนให้กระทำการใด ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น ความมีสติและรอบคอบ และความตั้งจิตให้ดี
1.4 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยสนับสนุน หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยส่งเสริมให้กระทำการใด ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น ความเมตตา ความปรารถนาดีต่อกัน ความเอื้อเฟื้อต่อกัน ความไม่เห็นแก่ตัว ความไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัย
2. คุณลักษณะด้านสังคม หมายถึง คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความมีกิริยามารยาท การปรับตัว ความตรงต่อเวลา ความสุภาพ การมีสัมมาคารวะ การพูดจาไพเราะ และความอ่อนน้อมถ่อมตน
3. คุณลักษณะด้านการเรียนรู้ หมายถึง คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหาความรู้ การทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความรักโรงเรียน และความรักการอ่าน
แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่ดี
Berkowitz (2006, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:26) เสนอว่า คุณลักษณศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไม่ควรใช้การเพิ่มโปรแกรมหรือกิจกรรมเข้าไปในโรงเรียน หากแต่ควรแปรเปลี่ยนวัฒนธรรมของโรงเรียนและการดำเนินชีวิต ในขณะที่ Michigan State University Extension (2005, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:26) ได้เสนอแนวทางการจัดคุณลักษณศึกษาเพื่อพัฒนาจริยธรรมของเด็กและเยาวชนของมูลนิธิจริยธรรมโจเซฟิน (Josephine Institute of Ethics) โดยจัดเป็นโครงการต่าง ๆ ที่พัฒนาจริยธรรมต่าง ๆ ให้แก่เด็กและเยาวชนตามโรงเรียนและองค์กรต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยมีชุดกิจกรรมที่เรียกว่า “Character Counts” ที่ใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กในช่วงอายุต่าง ๆ 5 ช่วง ได้แก่ 4-6 ปี, 6-9 ปี, 9-11 ปี และ 11-13 ปี และวัยรุ่น โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ (six pillars of character) ที่มุ่งสร้างเสริมให้เกิดกับนักเรียน ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเคารพผู้อื่น ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม การดูแลเอาใจใส่เกื้อกูล และความเป็นพลเมืองที่ดี
อย่างไรก็ตาม Gholar (2006, อ้างถึงใน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:25) ได้เสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก โดยจัดเป็นศูนย์คุณลักษณศึกษา เพื่อการศึกษาและสร้างกิจกรรมต่าง ๆ ที่พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน นอกจากนั้นยังเน้นการเสริมสร้างการยอมรับตนเอง (self-esteem) ให้แก่เด็ก แนวคิดดังกล่าวเน้นการพัฒนาการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมทั้งทางสติปัญญา (cognitive area) ในด้านความรู้ความเข้าใจในคุณลักษณะที่ดี ตลอดจนการพัฒนาด้านจิตใจ (affective area) ของนักเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการประพฤติการปฏิบัติตนของเด็ก แนวทางนี้หมายรวมถึงการบูรณาการการสอนและการสอดแทรกเรื่องคุณลักษณะที่ดีในการสอนวิชาต่าง ๆ ให้กับเด็กด้วย กิจกรรมที่บูรณาการและสอดแทรกเข้ากับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนปกติเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของเด็กมีลักษณะที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากกิจกรรมการเรียนรู้หรือประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning) การแสดงบทบาทสมมติ (role playing) กิจกรรมที่เน้นการคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) และกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ที่เกิดระหว่างบุคคล
สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะของเด็กนั้น Character Education Partnership (2005, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:27) เสนอว่าไม่สามารถระบุวิธีการใดวิธีการหนึ่งได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าจะมีประสิทธิภาพในการจัดคุณลักษณศึกษา แต่มีหลักการสำคัญ 11 ประการในการจัดคุณลักษณศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนที่ควรยึดถือ ประกอบด้วย
หลักการที่ 1 ส่งเสริมและให้ความสำคัญกับค่านิยมเชิงจริยธรรม โดยทำให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการมีจริยธรรมเป็นคุณสมบัติของคนดีหรือคนที่มีคุณลักษณะที่ดี
หลักการที่ 2 ให้นิยามคำว่า “คุณลักษณะ ให้เข้าใจง่าย โดยรวมความหมายในเชิงความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมเข้าเป็นองค์ประกอบของคุณลักษณะต่าง ๆ
หลักการที่ 3 ใช้วิธีการพัฒนาคุณลักษณะที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองโดยตรง อย่างรอบด้าน และมีประสิทธิภาพ
หลักการที่ 4 สร้างเครือข่ายโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน
หลักการที่ 5 เปิดโอกาสและจัดประสบการณ์การแสดงออกในทางคุณธรรมให้แก่นักเรียน
หลักการที่ 6 ผนวกการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนเข้ากับหลักสูตรวิชาการในที่สอน
หลักการที่ 7 พยายามส่งเสริมแรงจูงใจในตัวนักเรียน
หลักการที่ 8 จัดให้บุคลากรทางการศึกษามีโอกาสพัฒนาคุณลักษณะที่ดีเช่นเดียวกันกับที่พัฒนานักเรียน
หลักการที่ 9 ส่งเสริมการเป็นผู้นำในด้านคุณธรรมของนักเรียนและให้การสนับสนุนการจัดคุณลักษณศึกษาอย่างต่อเนื่อง
หลักการที่ 10 จัดให้สมาชิกในครอบครัวชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างคุณลักษณะที่ดีให้แก่นักเรียน
หลักการที่ 11 ประเมินคุณลักษณะต่าง ๆ ของนักเรียนทั้งโรงเรียนและการดำเนินการของบุคลากรของโรงเรียนในการพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ ของนักเรียน
Ryan (2002, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:27) เสนอแนวทางการจัดคุณลักษณศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ (The Six E's of Character Education) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การยกตัวอย่างและปฏิบัติเป็นแบบอย่าง (Example) แนวทางการยกตัวอย่างของการประพฤติ ปฏิบัติที่สะท้อนคุณลักษณะที่พึงประสงค์นอกเหนือจากการอบรมสั่งสอนเพื่อยกตัวอย่างพฤติกรรมที่ดีและไม่ดี พร้อมผลของการปฏิบัติให้เกิดความเข้าใจ รวมถึงการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของครูเพื่อให้นักเรียนเห็นด้วย การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีถือเป็นการยกตัวอย่างที่ดีที่สุดที่นักเรียนสามารถเห็นและเลียนแบบการกระทำ ความประพฤติต่าง ๆ ได้โดยตรง
2. การสอนอธิบายให้รู้จักใช้เหตุผล (Explanation) ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน จากเดิมที่ควบคุมความประพฤติโดยเน้นการท่องกฎแล้วปฏิบัติตามกฎโดยขาดเหตุผล มาเป็นการใช้อธิบายให้รู้จักใช้เหตุและผลในการพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ กระตุ้นให้เกิดการวิพากษ์หรือสนทนาเกี่ยวกับคุณลักษณะที่ดีและไม่ดี พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบเพื่อสร้างความตระหนักและการปรับพฤติกรรมอันสะท้อนถึงคุณลักษณะของเด็กออกมา
3. การเชิญชวนให้ทำความดี (Exhortation) การชี้แนะ เชิญชวน โดยใช้การเสริมแรงทางบวกควบคู่กับการพัฒนาความกล้าหาญเชิงจริยธรรม (moral courage development) โดยให้กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่อายหรือกลัวที่จะทำในสิ่งที่ควร
4. การจัดสิ่งแวดล้อมเชิงคุณธรรม (Ethos or Ethical Environment) เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ไม่มีสิ่งยั่วยุให้ไปในทางเสื่อม โดยเฉพาะในห้องเรียนซึ่งเป็นสังคมย่อยเล็ก ๆ ที่นักเรียนจะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ครูสามารถจำลองสังคมใหญ่ภายในห้องเรียนได้ สร้างบรรยากาศเชิงคุณธรรม
5. การจัดประสบการณ์ (Experience) การเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสสังคมภายนอกอย่างจริงจังนอกโรงเรียนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้และซึมซับแนวคิดในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างพึงประสงค์
6. การคาดหวังความเป็นเลิศ (Expectations of Excellence) การวางเป้าหมายของตนเองของเด็ก เป็นเสมือนการกำหนดหลักชัยในการพัฒนาคุณลักษณะของตนเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
Educational Materials Center (2003, อ้างถึงใน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:25) เสนอกลยุทธ์การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practice) ของการจัดคุณลักษณะศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนไว้ 10 ประการ โดยแยกการปฏิบัติด้วยวิธีการต่าง ๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม รายละเอียดมีดังนี้
กลุ่มที่ 1 การนำหลักสูตรคุณลักษณ์ศึกษาเพิ่มเติมเข้าไปกับความรู้ที่ครูสอน และสนับสนุนการเข้าใจคุณลักษณะต่าง ๆ อย่างแท้จริง โดยแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศประกอบด้วย
แนวทางที่ 1 เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรมจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เหมือนชีวิตจริงที่มีโอกาสได้พบ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตอบสนองต่อสถานการณ์นั้น ๆ อย่างหลากหลาย
แนวทางที่ 2 ทำให้คุณลักษณ์ศึกษาเป็นเสมือนเครื่องมือที่นำนักเรียนไปสู่เป้าหมายในการเรียน ไม่ใช่นำคุณลักษณศึกษาเข้ามาเพิ่มจากการเรียนการสอนปกติ แนวทางที่ 3 จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้สะท้อนตนเองและกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อช่วยให้นักเรียนพัฒนาคุณลักษณะการยอมรับตนเองและผู้อื่นอย่างสมดุล
กลุ่มที่ 2 การจัดกิจกรรมการสอนทักษะต่างๆ ให้กับนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
แนวทางที่ 4 คือให้นักเรียนได้ฝึกฟังและทำความเข้าใจความเชื่อของผู้อื่นๆ และเคารพในความคิดของผู้อื่น ซึ่งหมายรวมถึงการยอมรับความแตกต่างของผู้อื่นด้วย
แนวทางที่ 5 จัดกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะโดยใช้กิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การวางแผน การจัดกิจกรรม และสะท้อนผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมร่วมกัน
กลุ่มที่ 3 การจัดกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในตัวเองและการยอมรับตนเองของนักเรียน แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
แนวทางที่ 6 จัดโอกาสให้นักเรียนได้กำหนดสัญญากับตนเอง ในการพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ
แนวทางที่ 7 จัดโอกาสที่ช่วยให้นักเรียนเชื่อมั่นในตนเอง
กลุ่มที่ 4 การจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนช่วยสังคม แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศแนวทางที่ 8 จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างทัศนคติและการปฏิบัติตนในทางที่ดีให้แก่นักเรียน
แนวทางที่ 9 จัดโอกาสการเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้อุทิศหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
แนวทางที่ 10 ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน
จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชน กล่าวโดยสรุปได้ว่า หลักการและแนวปฏิบัติในการจัดคุณลักษณะศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชน แบ่งออกได้เป็น 4 แนวทาง (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:29)
แนวทางที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรวิชาเฉพาะเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชนคือ วิชาหลักพลเมือง ซึ่งหมายถึง วิชาสำคัญหรือวิชาบังคับที่จัดให้นักเรียนได้เรียนรู้คุณลักษณะและการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี โดยจัดให้มีหลักสูตรวิชาดังกล่าวแยกต่างหากจากกลุ่มสาระวิชาที่มีอยู่ในหลักสูตรปกติ
แนวทางที่ 2 การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีเข้าไปกับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เป็นการสอดแทรกการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีเข้าไปในการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระวิชา โดยเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับคุณลักษณะที่ต้องการเสริมสร้างพัฒนาให้เหมาะสม เป็นการบูรณาการการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีกับการจัดการเรียนรู้ปกติ ให้นักเรียนมีความรู้ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
แนวทางที่ 3 การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร หมายถึง กิจกรรมที่จัดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ไม่ยึดติดกับเนื้อหาวิชา แต่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักสูตรหรือส่งเสริมคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของนักเรียน และเป็นกิจกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
แนวทางที่ 4 การจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชน แตกต่างจากกิจกรรมเสริมหลักสูตรตรงที่กิจกรรมพิเศษจะจัดขึ้นเป็นครั้งคราว ตามวาระ ไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ และกิจกรรมดังกล่าวมักเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นจิตสำนึกในการพัฒนาตนเอง หรือการให้สัญญากับตนเองหรือสาธารณชนในการพัฒนาตนเอง โดยกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นกิจกรรมที่ให้สถาบันที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน เช่น สถาบันครอบครัว โดยให้พ่อแม่ผู้ปกครองปลูกฝังและพัฒนาคุณลักษณะของเด็กและเยาวชนเมื่ออยู่ในครอบครัว หรือสถาบันศาสนา สามารถใช้สถานที่สำคัญทางศาสนาทำกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะของเด็กและเยาวชนได้ ทั้งนี้ควรมีการประเมินเพื่อกำกับติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กในกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
แนวคิด หลักการ และกลยุทธ์หรือนวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะ
จากผลการวิจัยของสุวิมล ว่องวาณิช และคณะ (2549, อ้างถึงในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:30) พบว่าแนวคิดและหลักการสำหรับการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของนักเรียนมีดังต่อไปนี้
1. การสร้างตัวแบบ/ผู้นำ การพัฒนาคุณลักษณะต้องมีการสร้างตัวแบบที่ดี ทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ หรือบุคคลตัวอย่างในสังคม
2. การพัฒนาคุณธรรมและคุณลักษณะอื่น ๆ ให้เป็นวิถีชีวิต มีความสอดคล้องกับธรรมชาติ ตอกย้ำให้พัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง โดยมีกระบวนการพัฒนาที่บูรณาการสอดแทรกอยู่ในชีวิตการเรียน การปฏิบัติงาน เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม และคนกับธรรมชาติ โยงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน
3. การพัฒนาตัวตนของนักเรียน ด้วยการจัดพื้นที่สร้างสรรค์และเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถ ศักยภาพ และการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ตามแนวทางที่ตนเองคิดสร้างสรรค์ และอยู่ในบริบทของการทำความดี มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคม ให้เด็กมีการปฏิบัติและพัฒนาตนอย่างเข้าใจความหมาย เห็นบทบาทและคุณค่าของตนเองมากขึ้น
4. การสร้างระบบค่านิยมให้เด็กและเยาวชนเห็นได้ชัดเจนว่าแก่นของเด็กไทยคืออะไร ต้องประพฤติและปฏิบัติตนอย่างไร กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาชัดเจนและดึงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ทำให้เด็กมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับเปลี่ยนจริยธรรม เช่น การสำรวจพฤติกรรมการปฏิบัติตนของตนเองในแต่ละวัน และต้องยอมรับว่าค่านิยมต้องมาจากตัวแบบที่ดี
5. การสร้างความร่วมมือรวมพลังทั้งจากผู้บริหาร/ครูอาจารย์ในโรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองในครอบครัว ชุมชน สังคม ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย กำหนดคุณธรรมที่เป็นเป้าหมาย การให้ครอบครัว ชุมชนมีการทำกิจกรรมร่วมกัน
6. การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของเด็กและเยาวชนต้องสอดคล้องกับลักษณะของโรงเรียน ธรรมชาติ บริบท และช่วงวัยของเด็ก
7. การสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน และซึมซับวิธีคิดและการปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันผ่านกระบวนการ เป็นธรรมชาติในระบบของชุมชน
8. โรงเรียนต้องมีนโยบายที่ไม่เน้นวิชาการอย่างเดียว โรงเรียนมีครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ดึงชุมชนเข้ามา สร้างชุมชนที่สร้างสรรค์ ชี้ให้เห็นปัญหาของชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อบุตรหลาน
9. ต้องมีการสร้างแนวร่วม มีเครือข่ายที่ช่วยเสริมกำลังใจให้เด็กทำความดี เด็กที่ได้รับการพัฒนาทำให้เขาดีไปแล้ว ก็มีเด็กรุ่นใหม่เรื่อย ๆ ต้องสร้างเครือข่าย การให้รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน เพียงแค่คำชมก็ได้
จากแนวคิด และหลักการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนข้างต้น สรุปเป็นกลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะได้ดังนี้ (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:30)
1. กลยุทธ์การสร้างนโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาคุณลักษณะ โดยการให้ความสำคัญกับองค์กรฐานรากของสังคม คือ สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา ในฐานะแกนกลางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และการรวมพลังจากการเชื่อมประสานทุกภาคส่วนของสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ตั้งแต่ระดับบุคคล เช่น ควรมีการทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน และการช่วยอบรมตักเตือนโดยผู้อาวุโส ระดับกลุ่มบุคคล เช่น การรวมตัวจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการปลูกฝังคุณลักษณะระดับองค์กร เช่น การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านคุณลักษณะผ่านสื่อมวลชน การลดการเสนอข่าวความรุนแรง เป็นต้น
2. กลยุทธ์การปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน ทั้งนี้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม เขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานอื่น ๆ ต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมาย วางนโยบาย และวางแผนการเสริมสร้างคุณลักษณะอย่างมีระบบ มีกลไกนำแผนสู่การปฏิบัติ และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อนำผลการประเมินมาพัฒนาแผนงานในช่วงต่อไป พันธกิจที่สำคัญ คือ การดำเนินงานโดยความร่วมมือกับสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา องค์กรเอกชน มูลนิธิ และสถาบันอื่นในสังคม เพื่อการประสาน ส่งเสริม สนับสนุน ให้โรงเรียน/สถานศึกษาสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ให้ได้โรงเรียน/สถานศึกษาต้นแบบการพัฒนาคุณลักษณะ ที่สามารถขยายผลต่อไปได้
3. กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างมีระบบ โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นการวิจัยสำรวจความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณลักษณะ การวางแผนและการออกแบบกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะ การดำเนินการตามแผนการพัฒนาคุณลักษณะ การติดตามกำกับผลการดำเนินงานตามแผนงานรวมทั้งการประเมินคุณภาพ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแผนงานกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะ
4. กลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) ประกอบด้วยกลยุทธ์การสอดแทรกการเรียนรู้เข้าไปในการปฏิบัติงานจริง การจัดประชุมเกี่ยวกับอนาคตเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่หลากหลาย การสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีม การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และการสนับสนุนอย่างจริงจังโดยผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ
5. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสสังคม ให้เกิดสำนึกสาธารณะ เชิดชูคุณธรรมจริยธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน รวมทั้งการสร้างกระแสสังคมให้เกิดการเชื่อมประสาน เสริมหนุน และการขยายเครือข่ายองค์กรภาคีในด้านการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างต่อเนื่อง
6. กลยุทธ์การวิจัยและการจัดการองค์ความรู้ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน เช่น การวิจัยพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา คุณลักษณะ การวิจัยนำร่องเพื่อพัฒนารูปแบบ/กิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนคุณธรรมจริยธรรม หล่อหลอมให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ การวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผ่านสถาบันทางสังคม การวิจัยเพื่อสืบค้นและจัดทำแผนที่นักเรียน/โรงเรียน/สถานศึกษาที่มีคุณลักษณะ
นวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะที่ดี
ผลการดำเนินโครงการทำให้ครูอาจารย์ในโรงเรียนได้มีการพัฒนานวัตกรรมคุณลักษณะศึกษาซึ่งสามารถจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551:33)
1. นวัตกรรมหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum Innovation) การจัดกิจกรรมบูรณาการแบบเน้นคุณธรรม (moral-focused activity) โดยการสอดแทรกการพัฒนาคุณธรรมระหว่างการพัฒนาทักษะความสามารถของนักเรียนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดในหลักสูตร
2. นวัตกรรมกระแสนิยม (In Trend Innovation) การจัดกิจกรรมใช้การสร้างกระแสหรือการนำค่านิยมที่เกิดขึ้นตามกระแสในช่วงนั้นมาใช้เป็นสื่อในการออกแบบกิจกรรมเพื่อดึงความสนใจของนักเรียน หรือการกำหนดกิจกรรมที่มีลักษณะการแข่งขัน เพื่อลดช่องว่างระหว่างสถานภาพของบุคคลหรือชนชั้น
3. นวัตกรรมขบวนการบูรณาการ (Integrated Process Innovation) การจัดกิจกรรมที่มีการบูรณาการกระบวนการดำเนินงานของนักเรียนในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ มิใช่จัดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งแล้วหยุด แล้วเริ่มทำกิจกรรมอื่นต่อไปที่ไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมเดิม
4. นวัตกรรมริเริ่มจากนักเรียนร้อยแปดแบบ (108 Student Initiations Innovation) การจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนเป็นผู้คิดริเริ่มและออกแบบกิจกรรม เพื่อให้ได้กิจกรรมและการขยายผลที่นำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณะ
5. นวัตกรรมที่ทำให้เข้าระบบสถาบัน (Institutionalized Innovation) การจัดกิจกรรมที่กำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานในระดับสูง และทำให้เป็นภารกิจปกติของโรงเรียนโดยกำหนดเป็นแผนงานหลัก
6. นวัตกรรมอิงการเรียนรู้จากการบริการ (Service Learning-Based Innovation) การจัดกิจกรรมที่จัดโอกาสให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำงานที่เป็นการให้บริการแก่สังคม
7. นวัตกรรมการประชุม (Forum Innovation) การจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการประชุมในรูปแบบของสมัชชาหรือการเสวนา เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน
8. นวัตกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต (Living Values Innovation) การจัดกิจกรรมโดยใช้แนวคิด “คุณค่าเพื่อชีวิต” ซึ่งพัฒนาโดยนักวิชาการชาวตะวันตก บนพื้นฐานแนวคิดของการพัฒนาจิตใจของนักเรียนให้มีความสงบ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
9. นวัตกรรมที่เป็นนิสัยประจำ (Routine Habit Innovation) การจัดกิจกรรมโดยครูเป็นผู้กำหนด คุณลักษณะที่จำเป็นต้องพัฒนาในตัวนักเรียนและฝึกปฏิบัติเป็นนิสัยในชีวิตประจำวัน
10. นวัตกรรมการพัฒนาตนเอง (Self-Development Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการฝึกให้นักเรียนรู้จักประเมินตนเอง และมีการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการเผากิเลส ให้นักเรียนเขียนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ตนเองได้ปฏิบัติบนกระดาษ
11. นวัตกรรมการประยุกต์ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World Application Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการนำพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงมาใช้กับการแสดงพฤติกรรมในโรงเรียน
อำรุง จันทวานิช เลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวถึงการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยว่า สกศ. ได้ศึกษาเรื่องคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย ซึ่งเป็นงานส่วนหนึ่งในโครงการวิถีการเรียนรู้ของคนไทย โดยเริ่มโครงการมาในสมัยที่ นายปองพล อดิเรกสาร ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลงานด้านการศึกษา ขณะนี้ได้ผลสรุปจากการทำวิจัยในโครงการ แบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ
1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย มี 2 ลักษณะ ได้แก่
1.1 คุณลักษณะร่วม คือ ลักษณะที่คนไทยควรมี มี 9 ประการ ดังนี้
1.1.1 มีความใฝ่รู้
1.1.2 ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
1.1.3 ความสามารถด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์
1.1.4 วินัยในตนเอง
1.1.5 ความอาทรต่อชุมชนและระบบนิเวศ
1.1.6 ความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม
1.1.7 ฉันทะและวิริยะในการงาน
1.1.8 มีความสามารถในการปรับตัว
1.1.9 มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
1.2 คุณลักษณะเฉพาะ คือ คนไทยควรมีลักษณะเฉพาะที่อาจแตกต่างจากชนชาติอื่น ดังนี้
1.2.1 มีความสามัคคี
1.2.2 ประนีประนอมและรู้จักให้อภัย
1.2.3 อดกลั้น
1.2.4 เมตตากรุณา
1.2.5 ละอายต่อการทำชั่ว
1.2.6 มีความรักและยึดมั่นในสัจจะ
1.2.7 กล้าหาญทางจริยธรรม
1.2.8 รับผิดชอบต่อครอบครัวและชุมชน
1.2.9 รักและยึดมั่นในอหิงสธรรม
2. ยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย มี 9 ประการ
2.1 เสริมความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นให้กับระบบครอบครัว
2.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นให้กับ “ สมาคมคนร่วมวัย ”
2.3 สร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการเรียนรู้แบบดั้งเดิมในชุมชน
2.4 สร้างและส่งเสริมองค์กรเรียนรู้สมัยใหม่ในชุมชน
2.5 จัดหรือสนับสนุนให้มีการพิมพ์หนังสือประเภทการปลูกฝังคุณค่าและประวัติบุคคล
2.6 สนับสนุนและส่งเสริมรายการที่สร้างคุณค่าและการสร้างแบบอย่างที่พึงประสงค์ผ่านสื่อมวลชน
2.7 เสริมความเข้มแข้งให้กับสถาบันศาสนา
2.8 ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน
2.9 เสริมสร้างความเข้มแข็งและเป็นปึกแผ่นให้กับชุมชน
3. การพัฒนาคุณลักษณะตามช่วงวัย การจะสร้างหรือปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยทั้งคุณลักษณะร่วมและคุณลักษณะเฉพาะควรใช้หลักคิด 4 ประการ ประกอบด้วย
3.1 หลักพัฒนาการ ในช่วงวัย 3 -5 ปี คุณลักษณะที่ควรปลูกฝังคือ การรู้จักควบคุม อารมณ์ การรู้จักถูก /ผิด ในช่วงนี้ครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุด ในช่วง 6 -11 ปี ควรปลูกฝังในเรื่องการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความรับผิดชอบ การมีวินัยและรู้จักประหยัด ซึ่งช่วงนี้โรงเรียนจะมีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุดและในช่วง 12 -19 ปี ควรปลูกฝังในเรื่องอัตลักษณ์ทางสังคมและทางเพศ ช่วงนี้เพื่อนจะมีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุด นอกจากนี้สื่อยังมีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนมากขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่วัยอนุบาลถึงวัยรุ่น
3.2 ความเป็นไทย ความเป็นไทยถือเป็นต้นทุนทางสังคมทำให้ทุกศาสนา สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้รับการปลูกฝังเท่าที่ควร
3.3 ความรู้ทันโลก หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์และการมีความคิดสร้างสรรค์
3.4 การแก้ไขจุดอ่อนของสังคมไทย เช่น ความมีวินัย ใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย เป็นต้น ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้ วัยอนุบาล 3- 5 ปี นี้ เด็กควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ถูกผิดและความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้ วัยเรียน 6 -11 ปี เด็กควรได้รับการพัฒนาให้ความความเพียรพยายามในการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น มีวินัย ประหยัด มีคุณธรรม จริยธรรม และควบคุมตัวเองได้ และวัยรุ่น 12 -19 ปี เยาวชนวัยรุ่นควรพัฒนาให้มีอัตลักษณ์ทางเพศและจิตลักษณ์ทางสังคมที่มีความรับผิดชอบ พร้อมไปกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ใฝ่รู้และความประหยัด (http://www.onec.go.th/news46/pr/sala/s_491206-a.htm)
แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ
แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ
ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกหรือความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ ความเชื่อ ซึ่งจะขอกล่าวถึง ความหมาย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ดังนี้
ความหมายของความพึงพอใจ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542: 775) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ
พฤติกรรมเกี่ยวกับความพึงพอใจของมนุษย์คือความพยายามที่จะขจัดความตึงเครียด หรือ ความกระวนกระวาย หรือภาวะไม่ได้ดุลยภาพในร่างกาย ซึ่งเมื่อมนุษย์สามารถขจัดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แล้ว มนุษย์ย่อมได้รับความพึงพอใจในสิ่งที่ตนต้องการ (เศกสิทธิ์, 2544: 6)
อุทัยพรรณ สุดใจ (2545:7) ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อ สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอาจจะเป็นไปในเชิงประเมินค่า ว่าความรู้สึกหรือทัศนคติต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางลบ
สุพล (2540: 27) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็นในลักษณะเชิงบวกของบุคคลเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการหรือได้รับสิ่งตอบแทนที่คาดหวังไว้
สุภาลักษณ์ ชัยอนันต์ (2540: 17) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกส่วนตัวที่รู้สึกเป็นสุขหรือยินดีที่ได้รับการตอบสนองความต้องการในสิ่งที่ขาดหายไป หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สมดุล ความพึงพอใจเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมที่จะแสดงออกของบุคคล ซึ่งมีผลต่อการเลือกที่จะปฏิบัติในกิจกรรมใดๆ นั้น
อรรถพร (2546: 29) ได้สรุปว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติหรือระดับความพึงพอใจของบุคคลต่อกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกิจกรรมนั้นๆ โดยเกิดจากพื้นฐานของการรับรู้ ค่านิยมและประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับ ระดับของความพึงพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อกิจกรรมนั้นๆ สามารถตอบสนองความต้องการแก่บุคคลนั้นได้
สายจิตร (2546: 14) ได้สรุปว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ แต่ถ้าเมื่อใดที่สิ่งนั้นสามารถตอบสนองความต้องการหรือทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ ก็จะเกิดความรู้สึกทางบวกแต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสิ่งใดสร้างความรู้สึกผิดหวังไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกทางลบเป็นความรู้สึกไม่พึงพอใจ
จากความหมายที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีความสึกของบุคคลที่มีต่องานที่ปฏิบัติอยู่และความพึงพอใจจะส่งผลต่อขวัญในการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดีความพึงพอใจของแต่ละบุคคลไม่มีวันสิ้นสุด เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อมบุคคลจึงมีโอกาสที่จะไม่พึงพอใจในสิ่งที่เคยพึงพอใจมาแล้ว ฉะนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องสำรวจตรวจสอบความพึงพอใจในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรตลอดไป ทั้งนี้เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายขององค์กรหรือหน่วยงานที่ตั้งไว้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
นักวิชาการได้พัฒนาทฤษฎีที่อธิบายองค์ประกอบของความพึงพอใจ และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับปัจจัยอื่น ๆ ไว้หลายทฤษฎี
โคร์แมน (Korman, A.K., 1977 อ้างอิงในสมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง, 2542: 161-162) ได้จำแนกทฤษฎีความพึงพอใจในงานออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. ทฤษฎีการสนองความต้องการ กลุ่มนี้ถือว่าความพึงพอใจ ในงานเกิดจากความต้องการส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อผลที่ได้รับจากงานกับการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายส่วนบุคคล
2. ทฤษฎีการอ้างอิงกลุ่ม ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับคุณลักษณะของงานตามความปรารถนาของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกให้กลุ่มเป็นแนวทางในการประเมินผลการทำงาน
ส่วนมัมฟอร์ด (Manford, E., 1972 อ้างถึงใน สมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง, 2542:162) ได้จำแนกความคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจงานจากผลการวิจัยออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
1. กลุ่มความต้องการทางด้านจิตวิทยา กลุ่มนี้ได้แก่ Maslow, A.H. , Herzberg. F และ Likert R.โดยมองความพึงพอใจงานเกิดจากความต้องการของบุคคลที่ต้องการความสำเร็จของงานและความต้องการการยอมรับจากบุคคลอื่น
2. กลุ่มภาวะผู้นำมองความพึงพอใจงานจากรูปแบบและการปฏิบัติของผู้นำที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา กลุ่มนี้ได้แก่ Blake R.R., Mouton J.S. และ Fiedler R.R.
3. กลุ่มความพยายามต่อรองรางวัล เป็นกลุ่มที่มองความพึงพอใจจากรายได้ เงินเดือน และผลตอบแทนอื่น ๆ กลุ่มนี้ ได้แก่ กลุ่มบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (Manchester Business School)
4. กลุ่มอุดมการณ์ทางการจัดการมองความพึงพอใจจากพฤติกรรมการบริหารงานขององค์กร ได้แก่ Crogier M. และ Coulder G.M.
5. กลุ่มเนื้อหาของงานและการออกแบบงาน ความพึงพอใจงานเกิดจากเนื้อหาของตัวงาน กลุ่มแนวคิดนี้มาจากสถาบันทาวิสตอค (Tavistock Institute) มหาวิทยาลัยลอนดอน
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์
มาสโลว์มีหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับแรงจูงใจ โดยเน้นในเรื่องลำดับขั้นความต้องการเขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้นแรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการพฤติกรรมของคนเรา มุ่งไปสู่การตอบสนอง ความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน (http://web.rmut.ac.th/larts/phy/module7/unit7_7.html) ได้แก่
1. มนุษย์มีความต้องการ และความต้องการมีอยู่เสมอ ไม่มีที่สิ้นสุด
2. ความต้องการที่ได้รับการสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจสำหรับพฤติกรรมต่อไป ความต้องการที่ไม่ได้รับการสนองเท่านั้นที่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรม
3. ความต้องการของคนซ้ำซ้อนกัน บางทีความต้องการหนึ่ง ได้รับการตอบสนองแล้วยังไม่สิ้นสุดก็เกิดความต้องการด้านอื่นขึ้นอีก
4. ความต้องการของคนมีลักษณะเป็นลำดับขั้น ความสำคัญกล่าวคือ เมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็จะเรียกร้องให้มีการตอบสนอง
5. ความต้องการเป็นตัวตนที่แท้จริงของตนเอง
ลำดับความต้องการพื้นฐานของ Maslow เรียกว่า Hierarchy of Needs มี 5 ลำดับขั้น ดังนี้
1. ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นต้องการปัจจัย 4 เช่น ต้องการอาหารให้อิ่มท้อง เครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความร้อน หนาวและอุจาดตา ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันแดด ฝน ลม อากาศร้อน หนาว และสัตว์ร้าย ความต้องการเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน จึงมีความต้องการพื้นฐานขั้นแรกที่มนุษย์ทุกคนต้องการบรรลุให้ได้ก่อน
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) หลังจากที่มนุษย์บรรลุความต้องการด้านร่างกาย ทำให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ในขั้นแรกแล้ว จะมีความต้องการด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตนเองเพิ่มขึ้นต่อไป เช่น หลังจากมนุษย์มีอาหารรับประทานจนอิ่มท้องแล้วได้เริ่มหันมาคำนึงถึงความปลอดภัยของ อาหาร หรือสุขภาพ โดยหันมาให้ความสำคัญกันเรื่องสารพิษที่ติดมากับอาหาร ซึ่งสารพิษเหล่านี้อาจสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับชีวิตของเขา เป็นต้น
3. ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นหลังจากการที่มีชีวิตอยู่รอดแล้ว มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว มนุษย์จะเริ่มมองหาความรักจากผู้อื่น ต้องการที่จะเป็นจ้าของสิ่งต่างๆ ที่ตนเองครอบครองอยู่ตลอดไป เช่น ต้องการให้พ่อแม่ พี่น้อง คนรัก รักเราและต้องการให้เขาเหล่านั้นรักเราคนเดียว ไม่ต้องการให้เขาเหล่านั้นไปรักคนอื่น โดยการแสดงความเป็นเจ้าของ เป็นต้น
4. ความต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น (Esteem needs) เป็นความต้องการอีกขั้นหนึ่งหลังจากได้รับความต้องการทางร่างกาย ความปลอดภัย ความรักและเป็นเจ้าของแล้ว จะต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น ต้องการได้รับเกียรติจากผู้อื่น เช่น ต้องการการเรียกขานจากบุคคลทั่วไปอย่างสุภาพ ให้ความเคารพนับถือตามควรไม่ต้องการการกดขี่ข่มเหงจากผู้อื่น เนื่องจากทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
5. ความต้องการความเป็นตัวตนอันแท้จริงของตนเอง (Self - actualization needs) เป็นความต้องการขั้นสุดท้าย หลังจากที่ผ่านความต้องการความเป็นส่วนตัว เป็นความต้องการที่แท้จริงของตนเอง ลดความต้องการภายนอกลง หันมาต้องการสิ่งที่ตนเองมีและเป็นอยู่ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ แต่ความต้องการในขั้นนี้มักเกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องผ่านความต้องการในขั้นอื่นๆ มาก่อนและต้องมีความเข้าใจในชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
(http://research.doae.go.th/data/%B7%C4%C9%AE%D5%B5%E8%D2%A7%E6.doc)
เมื่อวิเคราะห์โดยรอบด้านแล้วจะพบว่าระดับความต้องการทั้ง 5 ระดับของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์นั้น สามารถตอบคำถามเรื่องความมุ่งหมายของชีวิตได้ครบถ้วน ในระดับหนึ่ง เพราะมนุษย์เราตามปกติจะมีระดับความต้องการหลายระดับ และเมื่อความต้องการระดับต้นได้รับการสนองตอบก็จะเกิดความต้องการในระดับสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยไปตามลำดับจนถึงระดับสูงสุด การตอบคำถามเรื่องเป้าหมายและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ตามแนวของจิตวิทยาแขนงมานุษยนิยมจึงทำได้เราได้เห็นคำตอบในอีกแง่มุมหนึ่ง
ทฤษฎีความต้องการของแอลเดอร์เฟอร์ (Alderfer’ s Hierarchy Modified Need Theory)
Alderfer ได้ให้ทฤษฎีที่เรียกว่า E.R.G (Existence - Relatedness- Growth Theory) โดยแบ่งความต้องการของบุคคลออกเป็น 3 ประการ คือ (Feildman and Arnold, 1983: 110) ความต้องการมีชีวิตอยู่ (Existence needs) ความต้องการสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น (Relatedness needs) และ ความต้องการความเจริญก้าวหน้า (Growth needs)
ทฤษฎีความต้องการของเมอร์เรย์ (Murry’s Manifest Needs)
ทฤษฎีของ Murry สามารถอธิบายได้ว่า ในเวลาเดียวกันบุคคลอาจมีความต้องการด้านใดด้านหนึ่งที่จำเป็นและสำคัญเกี่ยวกับการทำงานซึ่งมีอยู่ 4 ประการ คือ ความต้องการความสำเร็จ (Needs for achievement) ความต้องการมิตรสัมพันธ์ (Needs for affiliation) ความต้องการอิสระ (Needs for autonomy)
ทฤษฎีความต้องการแสวงหาของแมคคีแลนด์ (McClelland’s Acquired needs Theory)
เป็นทฤษฎีที่บุคคลมุ่งความต้องการเฉพาะอย่างมากกว่าความต้องการอื่น ๆ ความต้องการความสำเร็จเป็นความปรารถนาที่บรรลุเป้าหมายซึ่งมีลักษณะท้าทาย ทฤษฎีนี้ทำความเข้าใจถึงรูปแบบการจูงใจความต้องการพื้นฐาน 3 ประการ คือ ความต้องการอำนาจ (Needs for power) ความต้องการผูกพัน (Needs for affiliation) ความต้องการความสำเร็จ (Needs for achievement)
ทฤษฎีสองปัจจัย (Two Factor Theory)
เป็นทฤษฎีที่ Frederick K. Herzberg ได้ศึกษาทำการวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคคล เขา ได้ศึกษาถึงความต้องการของคนในองค์การ หรือการจูงใจจากการทำงาน โดยเฉพาะเจาะจง โดยศึกษาว่าคนเราต้องการอะไรจากงานคำตอบก็คือ บุคคลต้องการความสุขจากการทำงาน ซึ่งสรุปได้ว่า ความสุขจากการทำงานนั้น เกิดมาจากความพึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจในงานที่ทำ โดยความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจในงานที่ทำนั้น ไม่ได้มาจากกลุ่มเดียวกัน แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยสองกลุ่ม คือ ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) และปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์ (Maintenance or Hygiene Factors)
1. ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานที่ปฏิบัติเป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์การให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นปัจจัยที่สามารถตอบสนองความต้องการภายในของบุคคลได้ด้วย อันได้แก่
1.1 ความสำเร็จในงานที่ทำของบุคคล (Achievement) หมายถึงการที่บุคคลสามารถทำงานได้เสร็จสิ้น และประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การรู้จักป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อผลงานสำเร็จจึงเกิดความรู้สึกพอใจและปลาบปลื้มในผลสำเร็จของงานนั้น ๆ
1.2 การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) หมายถึง การได้รับการยอมรับนับถือไม่ว่าจากผู้บังคับบัญชา จากเพื่อน จากผู้มาขอรับคำปรึกษาหรือ จากบุคคลในหน่วยงาน การยอมรับนี้อาจจะอยู่ในรูปของการยกย่องชมเชยแสดงความยินดี การให้กำลังใจ หรือการแสดงออกอื่นใดที่ก่อให้เห็นถึงการยอมรับในความสามารถ เมื่อได้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดบรรลุผลสำเร็จ การยอมรับนับถือจะแฝงอยู่กับความสำเร็จในงานด้วย
1.3 ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (The Work Itself) หมายถึงงานที่น่าสนใจ งานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ท้าทายให้ลงมือทำ หรือเป็นงานที่มีลักษณะสามารถกระทำได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยลำพังแต่ผู้เดียว
1.4 ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการได้รับมอบหมาย ให้รับผิดชอบงานใหม่ ๆและมีอำนาจในการรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ไม่มีการตรวจ หรือควบคุมอย่างใกล้ชิด
1.5 ความก้าวหน้า (Advancement) หมายถึง ได้รับเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของบุคคลในองค์การ การมีโอกาสได้ศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่มหรือได้รับการฝึกอบรม
2. ปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์ (Maintenance or Hygiene Factors) หมายถึง ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจ ในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การบุคคลในองค์การจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้น และเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกตัวบุคคล ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
2.1 เงินเดือน (Salary) หมายถึง เงินเดือนและการเลื่อนขั้นเงินเดือนในหน่วยงานนั้น ๆ เป็นที่พอใจของบุคลากรที่ทำงาน
2.2 โอกาสได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of Growth) หมายถึง การที่บุคคลได้รับการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งภายในหน่วยงานแล้ว ยังหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลสามารถได้รับ ความก้าวหน้าในทักษะวิชาชีพด้วย
2.3 ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน (Interpersonal Relation Superior, Subordinate and Peers) หมายถึง การติดต่อไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจา ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สามารถทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างดี
2.4 สถานะทางอาชีพ (Status) หมายถึง อาชีพนั้นเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคมที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี
2.5 นโยบายและการบริการ (Company Policy and Administration) หมายถึงการจัดการและการบริหารขององค์การ การติดต่อสื่อสารภายในองค์การ
2.6 สภาพการทำงาน (Working Conditions) หมายถึง สภาพทางกายภาพของงาน เช่น แสง เสียง อากาศ ชั่วโมงการทำงาน รวมทั้งลักษณะของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
2.7 ความเป็นอยู่ส่วนตัว (Personal life) ความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดี อันเป็นผลที่ได้รับจากงานในหน้าที่ เช่น การที่บุคคลถูกย้ายไปทำงานในที่แห่งใหม่ ซึ่งห่างไกลจากครอบครัว ทำให้ไม่มีความสุข และไม่พอใจกับการทำงานในที่แห่งใหม่
2.8 ความมั่นคงในการทำงาน (Security) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อความมั่นคงในการทำงาน ความยั่งยืนของอาชีพ หรือความมั่นคงขององค์การ
2.9 วิธีการปกครองบังคับบัญชา (Supervision-Technical) หมายถึง ความสามารถของผู้บังคับบัญชาในการทำงาน หรือความยุติธรรมในการบริหาร
จากทฤษฎีสองปัจจัย สรุปได้ว่าปัจจัยทั้ง 2 ด้านนี้ เป็นสิ่งที่คนต้องการ เพราะเป็นแรงจูงใจในการทำงาน องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทำให้คนเกิดความสุขในการทำงาน โดยมีความสัมพันธ์กับกรอบแนวคิดที่ว่า เมื่อคนได้รับการตอบสนองด้วยปัจจัยชนิดนี้ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน ผลที่ตามมาก็คือ คนจะเกิดความพึงพอใจในงาน สามารถทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ส่วนปัจจัยค้ำจุน หรือสุขศาสตร์ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันมิให้คนเกิดความไม่เป็นสุข หรือ ไม่พึงพอใจในงานขึ้น ช่วยทำให้คนเปลี่ยนเจตคติจากการ ไม่อยากทำงานมาสู่ความพร้อมที่จะทำงาน
นอกจากนี้ Herzberg ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า องค์ประกอบทางด้านการจูงใจจะต้องมีค่าเป็นบวกเท่านั้น จึงจะทำให้บุคคลมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขึ้นมาได้ แต่ถ้าหากว่ามีค่าเป็นลบ จะทำให้บุคคลไม่พึงพอใจในงาน ส่วนองค์ประกอบทางด้านการค้ำจุน ถ้าหากว่ามีค่าเป็นลบ บุคคลจะไม่มีความรู้สึก ไม่พึงพอใจในงานแต่อย่างใดเนื่องจากองค์ประกอบทางด้านปัจจัยนี้ มีหน้าที่ค้ำจุนหรือบำรุงรักษาบุคคลให้มีความพึงพอใจในงานอยู่แล้ว สรุปได้ว่า ปัจจัยทั้งสองนี้ ควรจะต้องมีในทางบวก จึงจะทำให้ความพึงพอใจในการทำงานของบุคคลเพิ่มขึ้น จากทฤษฎีสองปัจจัยของ Herzberg เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับขวัญโดยจะขวัญมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความพึงพอใจและการจูงใจ ซึ่งเกิดจากปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนนั่นเอง (www.lib.kku.ac.th/fulltext/Art/2543/art004-chap2.pdf)
ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกหรือความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ ความเชื่อ ซึ่งจะขอกล่าวถึง ความหมาย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ดังนี้
ความหมายของความพึงพอใจ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542: 775) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ
พฤติกรรมเกี่ยวกับความพึงพอใจของมนุษย์คือความพยายามที่จะขจัดความตึงเครียด หรือ ความกระวนกระวาย หรือภาวะไม่ได้ดุลยภาพในร่างกาย ซึ่งเมื่อมนุษย์สามารถขจัดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แล้ว มนุษย์ย่อมได้รับความพึงพอใจในสิ่งที่ตนต้องการ (เศกสิทธิ์, 2544: 6)
อุทัยพรรณ สุดใจ (2545:7) ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อ สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอาจจะเป็นไปในเชิงประเมินค่า ว่าความรู้สึกหรือทัศนคติต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางลบ
สุพล (2540: 27) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็นในลักษณะเชิงบวกของบุคคลเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการหรือได้รับสิ่งตอบแทนที่คาดหวังไว้
สุภาลักษณ์ ชัยอนันต์ (2540: 17) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกส่วนตัวที่รู้สึกเป็นสุขหรือยินดีที่ได้รับการตอบสนองความต้องการในสิ่งที่ขาดหายไป หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สมดุล ความพึงพอใจเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมที่จะแสดงออกของบุคคล ซึ่งมีผลต่อการเลือกที่จะปฏิบัติในกิจกรรมใดๆ นั้น
อรรถพร (2546: 29) ได้สรุปว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติหรือระดับความพึงพอใจของบุคคลต่อกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกิจกรรมนั้นๆ โดยเกิดจากพื้นฐานของการรับรู้ ค่านิยมและประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับ ระดับของความพึงพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อกิจกรรมนั้นๆ สามารถตอบสนองความต้องการแก่บุคคลนั้นได้
สายจิตร (2546: 14) ได้สรุปว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ แต่ถ้าเมื่อใดที่สิ่งนั้นสามารถตอบสนองความต้องการหรือทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ ก็จะเกิดความรู้สึกทางบวกแต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสิ่งใดสร้างความรู้สึกผิดหวังไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกทางลบเป็นความรู้สึกไม่พึงพอใจ
จากความหมายที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีความสึกของบุคคลที่มีต่องานที่ปฏิบัติอยู่และความพึงพอใจจะส่งผลต่อขวัญในการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดีความพึงพอใจของแต่ละบุคคลไม่มีวันสิ้นสุด เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อมบุคคลจึงมีโอกาสที่จะไม่พึงพอใจในสิ่งที่เคยพึงพอใจมาแล้ว ฉะนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องสำรวจตรวจสอบความพึงพอใจในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรตลอดไป ทั้งนี้เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายขององค์กรหรือหน่วยงานที่ตั้งไว้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
นักวิชาการได้พัฒนาทฤษฎีที่อธิบายองค์ประกอบของความพึงพอใจ และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับปัจจัยอื่น ๆ ไว้หลายทฤษฎี
โคร์แมน (Korman, A.K., 1977 อ้างอิงในสมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง, 2542: 161-162) ได้จำแนกทฤษฎีความพึงพอใจในงานออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. ทฤษฎีการสนองความต้องการ กลุ่มนี้ถือว่าความพึงพอใจ ในงานเกิดจากความต้องการส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อผลที่ได้รับจากงานกับการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายส่วนบุคคล
2. ทฤษฎีการอ้างอิงกลุ่ม ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับคุณลักษณะของงานตามความปรารถนาของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกให้กลุ่มเป็นแนวทางในการประเมินผลการทำงาน
ส่วนมัมฟอร์ด (Manford, E., 1972 อ้างถึงใน สมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง, 2542:162) ได้จำแนกความคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจงานจากผลการวิจัยออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
1. กลุ่มความต้องการทางด้านจิตวิทยา กลุ่มนี้ได้แก่ Maslow, A.H. , Herzberg. F และ Likert R.โดยมองความพึงพอใจงานเกิดจากความต้องการของบุคคลที่ต้องการความสำเร็จของงานและความต้องการการยอมรับจากบุคคลอื่น
2. กลุ่มภาวะผู้นำมองความพึงพอใจงานจากรูปแบบและการปฏิบัติของผู้นำที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา กลุ่มนี้ได้แก่ Blake R.R., Mouton J.S. และ Fiedler R.R.
3. กลุ่มความพยายามต่อรองรางวัล เป็นกลุ่มที่มองความพึงพอใจจากรายได้ เงินเดือน และผลตอบแทนอื่น ๆ กลุ่มนี้ ได้แก่ กลุ่มบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (Manchester Business School)
4. กลุ่มอุดมการณ์ทางการจัดการมองความพึงพอใจจากพฤติกรรมการบริหารงานขององค์กร ได้แก่ Crogier M. และ Coulder G.M.
5. กลุ่มเนื้อหาของงานและการออกแบบงาน ความพึงพอใจงานเกิดจากเนื้อหาของตัวงาน กลุ่มแนวคิดนี้มาจากสถาบันทาวิสตอค (Tavistock Institute) มหาวิทยาลัยลอนดอน
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์
มาสโลว์มีหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับแรงจูงใจ โดยเน้นในเรื่องลำดับขั้นความต้องการเขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้นแรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการพฤติกรรมของคนเรา มุ่งไปสู่การตอบสนอง ความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน (http://web.rmut.ac.th/larts/phy/module7/unit7_7.html) ได้แก่
1. มนุษย์มีความต้องการ และความต้องการมีอยู่เสมอ ไม่มีที่สิ้นสุด
2. ความต้องการที่ได้รับการสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจสำหรับพฤติกรรมต่อไป ความต้องการที่ไม่ได้รับการสนองเท่านั้นที่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรม
3. ความต้องการของคนซ้ำซ้อนกัน บางทีความต้องการหนึ่ง ได้รับการตอบสนองแล้วยังไม่สิ้นสุดก็เกิดความต้องการด้านอื่นขึ้นอีก
4. ความต้องการของคนมีลักษณะเป็นลำดับขั้น ความสำคัญกล่าวคือ เมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็จะเรียกร้องให้มีการตอบสนอง
5. ความต้องการเป็นตัวตนที่แท้จริงของตนเอง
ลำดับความต้องการพื้นฐานของ Maslow เรียกว่า Hierarchy of Needs มี 5 ลำดับขั้น ดังนี้
1. ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นต้องการปัจจัย 4 เช่น ต้องการอาหารให้อิ่มท้อง เครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความร้อน หนาวและอุจาดตา ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันแดด ฝน ลม อากาศร้อน หนาว และสัตว์ร้าย ความต้องการเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน จึงมีความต้องการพื้นฐานขั้นแรกที่มนุษย์ทุกคนต้องการบรรลุให้ได้ก่อน
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) หลังจากที่มนุษย์บรรลุความต้องการด้านร่างกาย ทำให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ในขั้นแรกแล้ว จะมีความต้องการด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตนเองเพิ่มขึ้นต่อไป เช่น หลังจากมนุษย์มีอาหารรับประทานจนอิ่มท้องแล้วได้เริ่มหันมาคำนึงถึงความปลอดภัยของ อาหาร หรือสุขภาพ โดยหันมาให้ความสำคัญกันเรื่องสารพิษที่ติดมากับอาหาร ซึ่งสารพิษเหล่านี้อาจสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับชีวิตของเขา เป็นต้น
3. ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นหลังจากการที่มีชีวิตอยู่รอดแล้ว มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว มนุษย์จะเริ่มมองหาความรักจากผู้อื่น ต้องการที่จะเป็นจ้าของสิ่งต่างๆ ที่ตนเองครอบครองอยู่ตลอดไป เช่น ต้องการให้พ่อแม่ พี่น้อง คนรัก รักเราและต้องการให้เขาเหล่านั้นรักเราคนเดียว ไม่ต้องการให้เขาเหล่านั้นไปรักคนอื่น โดยการแสดงความเป็นเจ้าของ เป็นต้น
4. ความต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น (Esteem needs) เป็นความต้องการอีกขั้นหนึ่งหลังจากได้รับความต้องการทางร่างกาย ความปลอดภัย ความรักและเป็นเจ้าของแล้ว จะต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น ต้องการได้รับเกียรติจากผู้อื่น เช่น ต้องการการเรียกขานจากบุคคลทั่วไปอย่างสุภาพ ให้ความเคารพนับถือตามควรไม่ต้องการการกดขี่ข่มเหงจากผู้อื่น เนื่องจากทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
5. ความต้องการความเป็นตัวตนอันแท้จริงของตนเอง (Self - actualization needs) เป็นความต้องการขั้นสุดท้าย หลังจากที่ผ่านความต้องการความเป็นส่วนตัว เป็นความต้องการที่แท้จริงของตนเอง ลดความต้องการภายนอกลง หันมาต้องการสิ่งที่ตนเองมีและเป็นอยู่ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ แต่ความต้องการในขั้นนี้มักเกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องผ่านความต้องการในขั้นอื่นๆ มาก่อนและต้องมีความเข้าใจในชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
(http://research.doae.go.th/data/%B7%C4%C9%AE%D5%B5%E8%D2%A7%E6.doc)
เมื่อวิเคราะห์โดยรอบด้านแล้วจะพบว่าระดับความต้องการทั้ง 5 ระดับของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์นั้น สามารถตอบคำถามเรื่องความมุ่งหมายของชีวิตได้ครบถ้วน ในระดับหนึ่ง เพราะมนุษย์เราตามปกติจะมีระดับความต้องการหลายระดับ และเมื่อความต้องการระดับต้นได้รับการสนองตอบก็จะเกิดความต้องการในระดับสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยไปตามลำดับจนถึงระดับสูงสุด การตอบคำถามเรื่องเป้าหมายและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ตามแนวของจิตวิทยาแขนงมานุษยนิยมจึงทำได้เราได้เห็นคำตอบในอีกแง่มุมหนึ่ง
ทฤษฎีความต้องการของแอลเดอร์เฟอร์ (Alderfer’ s Hierarchy Modified Need Theory)
Alderfer ได้ให้ทฤษฎีที่เรียกว่า E.R.G (Existence - Relatedness- Growth Theory) โดยแบ่งความต้องการของบุคคลออกเป็น 3 ประการ คือ (Feildman and Arnold, 1983: 110) ความต้องการมีชีวิตอยู่ (Existence needs) ความต้องการสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น (Relatedness needs) และ ความต้องการความเจริญก้าวหน้า (Growth needs)
ทฤษฎีความต้องการของเมอร์เรย์ (Murry’s Manifest Needs)
ทฤษฎีของ Murry สามารถอธิบายได้ว่า ในเวลาเดียวกันบุคคลอาจมีความต้องการด้านใดด้านหนึ่งที่จำเป็นและสำคัญเกี่ยวกับการทำงานซึ่งมีอยู่ 4 ประการ คือ ความต้องการความสำเร็จ (Needs for achievement) ความต้องการมิตรสัมพันธ์ (Needs for affiliation) ความต้องการอิสระ (Needs for autonomy)
ทฤษฎีความต้องการแสวงหาของแมคคีแลนด์ (McClelland’s Acquired needs Theory)
เป็นทฤษฎีที่บุคคลมุ่งความต้องการเฉพาะอย่างมากกว่าความต้องการอื่น ๆ ความต้องการความสำเร็จเป็นความปรารถนาที่บรรลุเป้าหมายซึ่งมีลักษณะท้าทาย ทฤษฎีนี้ทำความเข้าใจถึงรูปแบบการจูงใจความต้องการพื้นฐาน 3 ประการ คือ ความต้องการอำนาจ (Needs for power) ความต้องการผูกพัน (Needs for affiliation) ความต้องการความสำเร็จ (Needs for achievement)
ทฤษฎีสองปัจจัย (Two Factor Theory)
เป็นทฤษฎีที่ Frederick K. Herzberg ได้ศึกษาทำการวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคคล เขา ได้ศึกษาถึงความต้องการของคนในองค์การ หรือการจูงใจจากการทำงาน โดยเฉพาะเจาะจง โดยศึกษาว่าคนเราต้องการอะไรจากงานคำตอบก็คือ บุคคลต้องการความสุขจากการทำงาน ซึ่งสรุปได้ว่า ความสุขจากการทำงานนั้น เกิดมาจากความพึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจในงานที่ทำ โดยความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจในงานที่ทำนั้น ไม่ได้มาจากกลุ่มเดียวกัน แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยสองกลุ่ม คือ ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) และปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์ (Maintenance or Hygiene Factors)
1. ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานที่ปฏิบัติเป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์การให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นปัจจัยที่สามารถตอบสนองความต้องการภายในของบุคคลได้ด้วย อันได้แก่
1.1 ความสำเร็จในงานที่ทำของบุคคล (Achievement) หมายถึงการที่บุคคลสามารถทำงานได้เสร็จสิ้น และประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การรู้จักป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อผลงานสำเร็จจึงเกิดความรู้สึกพอใจและปลาบปลื้มในผลสำเร็จของงานนั้น ๆ
1.2 การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) หมายถึง การได้รับการยอมรับนับถือไม่ว่าจากผู้บังคับบัญชา จากเพื่อน จากผู้มาขอรับคำปรึกษาหรือ จากบุคคลในหน่วยงาน การยอมรับนี้อาจจะอยู่ในรูปของการยกย่องชมเชยแสดงความยินดี การให้กำลังใจ หรือการแสดงออกอื่นใดที่ก่อให้เห็นถึงการยอมรับในความสามารถ เมื่อได้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดบรรลุผลสำเร็จ การยอมรับนับถือจะแฝงอยู่กับความสำเร็จในงานด้วย
1.3 ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (The Work Itself) หมายถึงงานที่น่าสนใจ งานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ท้าทายให้ลงมือทำ หรือเป็นงานที่มีลักษณะสามารถกระทำได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยลำพังแต่ผู้เดียว
1.4 ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการได้รับมอบหมาย ให้รับผิดชอบงานใหม่ ๆและมีอำนาจในการรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ไม่มีการตรวจ หรือควบคุมอย่างใกล้ชิด
1.5 ความก้าวหน้า (Advancement) หมายถึง ได้รับเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของบุคคลในองค์การ การมีโอกาสได้ศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่มหรือได้รับการฝึกอบรม
2. ปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์ (Maintenance or Hygiene Factors) หมายถึง ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจ ในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การบุคคลในองค์การจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้น และเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกตัวบุคคล ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
2.1 เงินเดือน (Salary) หมายถึง เงินเดือนและการเลื่อนขั้นเงินเดือนในหน่วยงานนั้น ๆ เป็นที่พอใจของบุคลากรที่ทำงาน
2.2 โอกาสได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of Growth) หมายถึง การที่บุคคลได้รับการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งภายในหน่วยงานแล้ว ยังหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลสามารถได้รับ ความก้าวหน้าในทักษะวิชาชีพด้วย
2.3 ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน (Interpersonal Relation Superior, Subordinate and Peers) หมายถึง การติดต่อไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจา ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สามารถทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างดี
2.4 สถานะทางอาชีพ (Status) หมายถึง อาชีพนั้นเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคมที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี
2.5 นโยบายและการบริการ (Company Policy and Administration) หมายถึงการจัดการและการบริหารขององค์การ การติดต่อสื่อสารภายในองค์การ
2.6 สภาพการทำงาน (Working Conditions) หมายถึง สภาพทางกายภาพของงาน เช่น แสง เสียง อากาศ ชั่วโมงการทำงาน รวมทั้งลักษณะของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
2.7 ความเป็นอยู่ส่วนตัว (Personal life) ความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดี อันเป็นผลที่ได้รับจากงานในหน้าที่ เช่น การที่บุคคลถูกย้ายไปทำงานในที่แห่งใหม่ ซึ่งห่างไกลจากครอบครัว ทำให้ไม่มีความสุข และไม่พอใจกับการทำงานในที่แห่งใหม่
2.8 ความมั่นคงในการทำงาน (Security) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อความมั่นคงในการทำงาน ความยั่งยืนของอาชีพ หรือความมั่นคงขององค์การ
2.9 วิธีการปกครองบังคับบัญชา (Supervision-Technical) หมายถึง ความสามารถของผู้บังคับบัญชาในการทำงาน หรือความยุติธรรมในการบริหาร
จากทฤษฎีสองปัจจัย สรุปได้ว่าปัจจัยทั้ง 2 ด้านนี้ เป็นสิ่งที่คนต้องการ เพราะเป็นแรงจูงใจในการทำงาน องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทำให้คนเกิดความสุขในการทำงาน โดยมีความสัมพันธ์กับกรอบแนวคิดที่ว่า เมื่อคนได้รับการตอบสนองด้วยปัจจัยชนิดนี้ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน ผลที่ตามมาก็คือ คนจะเกิดความพึงพอใจในงาน สามารถทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ส่วนปัจจัยค้ำจุน หรือสุขศาสตร์ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันมิให้คนเกิดความไม่เป็นสุข หรือ ไม่พึงพอใจในงานขึ้น ช่วยทำให้คนเปลี่ยนเจตคติจากการ ไม่อยากทำงานมาสู่ความพร้อมที่จะทำงาน
นอกจากนี้ Herzberg ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า องค์ประกอบทางด้านการจูงใจจะต้องมีค่าเป็นบวกเท่านั้น จึงจะทำให้บุคคลมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขึ้นมาได้ แต่ถ้าหากว่ามีค่าเป็นลบ จะทำให้บุคคลไม่พึงพอใจในงาน ส่วนองค์ประกอบทางด้านการค้ำจุน ถ้าหากว่ามีค่าเป็นลบ บุคคลจะไม่มีความรู้สึก ไม่พึงพอใจในงานแต่อย่างใดเนื่องจากองค์ประกอบทางด้านปัจจัยนี้ มีหน้าที่ค้ำจุนหรือบำรุงรักษาบุคคลให้มีความพึงพอใจในงานอยู่แล้ว สรุปได้ว่า ปัจจัยทั้งสองนี้ ควรจะต้องมีในทางบวก จึงจะทำให้ความพึงพอใจในการทำงานของบุคคลเพิ่มขึ้น จากทฤษฎีสองปัจจัยของ Herzberg เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับขวัญโดยจะขวัญมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความพึงพอใจและการจูงใจ ซึ่งเกิดจากปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนนั่นเอง (www.lib.kku.ac.th/fulltext/Art/2543/art004-chap2.pdf)
จิตวิทยาวัยรุ่น
การศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาวัยรุ่น
ความหมายของวัยรุ่น
มีผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับ”วัยรุ่น” ไว้หลายท่านดังนี้
เฮอร์ล็อค (Hurlock) (1949 อ้างถึงในเพ็ญรัตน์. 2524 :3) กล่าวถึงวัยรุ่น เป็นระยะที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการพัฒนาในด้านร่างกายและจิตใจ เป็นช่วงเวลาของการเจริญงอกงามและการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน คือ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม เป็นช่วงเวลาที่รับสิ่งใหม่ ๆ ทั้งทางด้านประสบการณ์ ความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมักจะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงจากวัยรุ่นไปสู่วัยผู้ใหญ่ในระยะแรก จึงดูเสมือนว่าปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นพร้อมกันในตัวเด็ก เด็กวัยรุ่นจึงไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อปัญหาเหล่านั้น
สุพัตรา สุภาพ (2525 : 42) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมวัยรุ่น ว่าเป็นวัยที่เริ่มแตกเนื้อหนุ่มสาว (Puberty) จนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อความเจริญด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น มีการแปรปรวนทางอารมณ์ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำ ให้มีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น รัก ชอบอะไร ก็รักจนหลง ชอบจนคลั่ง ที่เป็นเช่นนี้ เพราะมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย ถ้าผิดหวังหรือไม่ได้ดังใจจะเสียใจมาก หรือมีเรื่องกระทบกระเทือนเล็กน้อยก็จะหนีออกจากบ้าน บางรายถึงกับแสดงความอาฆาตพยาบาทหรือโต้ตอบอย่างรุนแรง ถึงขนาดยกพวกตีกัน ซึ่งบางครั้งผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ ทำให้เกิดปัญหาในการมีความสัมพันธ์ต่อกัน
จิราภรณ์ อารยะรังสฤษฎ์ (2526: 65) กล่าวถึง วัยรุ่นคือวัยที่สิ้นสุดความเป็นเด็กและกำลัง จะพัฒนาไปสู่วัยผู้ใหญ่ อายุประมาณ 13-20 ปี อาจกล่าวได้ว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญช่วงหนึ่งในชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญหา และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็มีผลทำ ให้วัยรุ่นขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และประสบปัญหาในการปรับตัว จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากวัยอื่น ๆ
โยธิน ศันสนยุทธ (2533 : 191-192) ได้กล่าวถึง วัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มในช่วงอายุตั้งแต่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (12-13 ปี) จนอายุที่เด็กสามารถมีงานทำ ซึ่งในแต่ละสังคมจะสิ้นสุดระยะอายุไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปวัยรุ่นจะสิ้นสุดระยะอายุประมาณ 20 ปี วัยรุ่นเป็นวัยที่เด็กมีพัฒนาการที่รวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การเปลี่ยนแปลงกลุ่มของสังคมหรือการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ทำ ให้เด็กต้องปรับตัว ซึ่งการปรับตัวนำ มาซึ่งความวิตกกังวล ความเครียดของอารมณ์ ความโกรธฯลฯ นักจิตวิทยา Stangley Hall เรียกระยะวัยรุ่นว่าเป็นวัยพายุบุแคม (Storm and Stress) นั่นก็คือ เด็กวัยรุ่นจะไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความขวัญผวาของอารมณ์ และอารมณ์ก็มักจะเป็นอารมณ์ที่รุนแรง มีความกดดันสูง และในสายตาของคนโดยทั่วไปก็เรียกว่า วัยรุ่น เป็นวัยของปัญหาวัยอลวนวัยรุ่น เพราะฉะนั้นวัยรุ่นจึงจัดเป็นวัยหนึ่งที่บุคคลในสังคมให้ความสนใจและคิดว่าเป็นปัญหาพฤติกรรมส่วนหนึ่งของสังคม
สุชา จันทน์เอม (2533 : 30) กล่าวถึง วัยรุ่นไว้ว่าเป็นวัยที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ความเชื่อมั่น ความต้องการ ตลอดจนความปรารถนาต่าง ๆ เป็นไปอย่างรุนแรงปราศจากความยั้งคิด ชอบทำ อะไรตามใจหรือตามความนึกคิดของตน ต้องการเป็นที่ยอมรับนับถือในหมู่เพื่อนฝูง โดยพยายามทำ อะไรให้คล้าย ๆ กัน เลียนแบบตามกัน จึงมีวัยรุ่นเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ได้ตกเป็นทาสของยาเสพติดจากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า วัยรุ่น เป็นวัยที่เริ่มตั้งแต่อายุ 12-20 ปี มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วหรือที่เรียกว่าพายุบุแคม (Strom and Stress) นี้ ส่งผลต่อการปรับตัว ความวิตกกังวล ความเครียดทางอารมณ์ ทำ ให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาโดยไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั่นเอง
พฤติกรรมวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีโอกาสเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนได้ง่ายมากที่สุด พฤติกรรมเบี่ยงเบนของวัยรุ่นมีตั้งแต่ความเบี่ยงเบนระดับน้อย ๆ เช่น ดื้อรั้น ก้าวร้าว จนกระทั่งพฤติกรรมเบี่ยงเบนระดับสูง เช่น การกระทำ ผิดของเด็กและเยาวชน
นักจิตวิทยา สรุปพฤติกรรมวัยรุ่น เนื่องมาจากความต้องการ 3 ประการได้แก่ (สุชา จันทน์เอม, ม.ป.ป. : 73)
1. ความต้องการทางกาย หรือความต้องการทางสรีระ ได้แก่ ความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต เช่น ความต้องการอาหารเพื่อบรรเทาความหิวกระหาย ความต้องการขับถ่ายของเสีย แต่ถ้าเขาไม่ได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจ ก็จะแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อให้ได้สิ่งที่ยังขาดอยู่
2. ความต้องการทางสังคม เพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมจึงต้องอยู่รวมกันเป็นสังคมแต่ละอย่างเป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ
3. ความต้องการทางใจ เป็นความต้องการที่เกิดความคิดมั่นใจว่าตนจะมีชีวิตอยู่รอดได้แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากความคิดหรือเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การต้องการความรัก ความมั่นคงปลอดภัย ความยกย่องนับถือ ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ และความต้องการเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ความต้องการของวัยรุ่น
วัยรุ่นมีความต้องการทางด้านจิตใจหรือความต้องการด้านอารมณ์ ความต้องการทางกาย และความต้องการทางสังคมแตกต่างไปจากเด็กเล็กและผู้ใหญ่ ความต้องการที่สำคัญดังที่ ฉวีวรรณ สุขพันธ์โพธาราม (2527 : 123-125) กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
1. ความต้องการอยากรู้อยากเห็น
2. ความต้องการความรัก
3. ความต้องการความปลอดภัย
4. ความต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม
5. ความต้องการได้รับอิสระ
6. ความต้องการที่จะหาเลี้ยงตนเอง
7. ความต้องการปรัชญาชีวิตที่น่าพอใจ
ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแรงจูงใจที่นำ ไปสู่การกระทำ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งในทางที่สังคมยอมรับหรือไปสู่พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่สังคมไม่ยอมรับ
ความสนใจของวัยรุ่น
วัยรุ่นมีความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจะมีมากโดยเฉพาะกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อนที่เป็นการสร้างประสบการณ์และบังเกิดผลดีด้านการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งฉวีวรรณ สุขพันธ์ - โพธาราม (2527 : 131-132) ได้กล่าวถึงความสนใจของวัยรุ่นไว้ดังนี้
1. สนใจเรื่องสุขภาพ
2. สนใจเรื่องเพศ
3. สนใจการเลือกอาชีพ
4. สนใจสันทนาการ
5. สนใจค้นคว้า
6. สนใจสร้างนิสัยการเรียนดี
7. สนใจเรื่องคุณสมบัติส่วนตัว
8. สนใจเรื่องปรัชญาชีวิต
จากลักษณะความต้องการและความสนใจของวัยรุ่นที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นเป็นระยะของการมีสภาพหลักการเหตุผล เขาต้องการให้ผู้ใหญ่มีหลักการเช่นเดียวกับเขาในบางครั้งความคิด ความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนรักและสนใจ เป็นเช่นที่เขาปรารถนา วัยรุ่นจะแสดงออกในลักษณะก้าวร้าว ดึงดัน ประชดประชันต่าง ๆ จนกลายเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน เช่น วัยรุ่นต้องการอยู่ในครอบครัวอบอุ่น รักปรองดองกัน ถ้าพ่อแม่มีปากเสียงกันจะเห็นว่าวัยรุ่นจะมีปฏิกิริยาความรู้สึกโต้ตอบรุนแรง เป็นการแสดงให้เห็นถึงการถูกขัดขวางความคิด ปรารถนาของวัยรุ่นขัดใจและแสดงปฏิกิริยาต่อต้าน ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ ใช้การบีบบังคับโดยไร้เหตุผล ยิ่งทำ ให้วัยรุ่นเกิดความคับข้องใจมากขึ้น จึงแสดงพฤติกรรมเบี่ยงเบนออกมา เช่น หนีไปมั่วสุมกับเพื่อนชอบเที่ยวไม่อยากอยู่บ้าน ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา
พฤติกรรมที่เป็นปัญหา
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของวัยรุ่นจะมาจาก 6 ปัจจัย ดังที่ ฉวีวรรณ สุขพันธ์โพธาราม (2527. : 138-140) กล่าวไว้ดังนี้
1. เกิดจากตัวเด็กเอง คือ สภาพทางร่างกายและปัญหาส่วนตัว อาจจะมาจากสาเหตุ ดังนี้
1.1 อาหาร การขาดอาหาร ได้อาหารไม่เพียงพอ
1.2 ปัญหาโรคทางกายเฉพาะตัว
1.3 ความพิการหรือความบกพร่องของบุคลิกภาพ
1.4 เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางบุคลิกภาพ มีวุฒิภาวะตํ่า มีปัญหาทางด้านการปรับตัว
1.5 ความกดดันและผิดปกติของอารมณ์เพศ
2. เกิดจากความบีบคั้นทางใจ นับจากสภาพแวดล้อมใกล้ชิด คือ ครอบครัวและภาวะสังคมรอบตัวที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
2.1 สภาพครอบครัวยุ่งเหยิง พ่อแม่ไม่ปรองดองกัน ทะเลาะเบาะแวงกัน
2.2 ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่แยกทางกัน เด็กไม่อาจหาที่พึ่งยึดเป็นแบบแผนได้
2.3 ความบีบคั้นที่ได้รับมีมากมาย นับจากพ่อแม่ไม่มีเวลาสนใจ เอาใจใส่ลูกเด็กว้าเหว่
3. สภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับ เช่น สภาพที่ตั้งของบ้าน โรงเรียน เด็กขาดตัวอย่าง และการชักนำ ไปในทางเสื่อมเสียเป็นส่วนใหญ่
4. กลุ่มเพื่อน การทำ ตามค่านิยมกลุ่มในทางที่ผิด เป็นสาเหตุสำคัญของการกระทำ ผิดของวัยรุ่นได้มาก
5. สภาพเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชนที่ทรุดโทรม เป็นเหตุใหญ่ที่สุดของคดีอาชญากรวัยรุ่น
6. สื่อมวลชน หนังสือต่าง ๆ ที่มีจำ หน่ายมากมายไม่ได้รับการควบคุมอย่างจริงจัง
สาเหตุการทำ ความผิดของเยาวชนเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาดูเรื่องราวและสาเหตุอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมไปในทุก ๆ ด้าน ด้านที่เกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตของเยาวชนแต่ละ คนและพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน จึงจะสรุปและหาแนวทางแก้ไข และป้องกันให้เหมาะสมกับการกระทำ ผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทุกองค์กรนับแต่ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทั้งฝ่ายรัฐและเอกชน
ปัญหาประเภทต่าง ๆ ของนักเรียนวัยรุ่น
นักเรียนแต่ละคนที่เข้ามาอยู่ร่วมกันในสังคมในโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อม และบุคลิกภาพของนักเรียนที่แตกต่างกัน อาจนำ ไปสู่ปัญหา หรือทำ ให้เกิดการปรับตัวที่ผิดแผกจากการยอมรับของสังคมได้ นักเรียนวัยรุ่นที่ก่อคดีในห้องเรียนที่จะกล่าวถึงนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดเบื้องต้นทางด้านพฤติกรรม ซึ่งไม่เป็นผลรุนแรงต่อการจะต้องโทษทางอาญามีดังนี้
1. ปัญหาทางด้านการเรียน มีดังนี้
1.1 ความไม่เข้าใจบทเรียนของนักเรียน
1.2 วางแผนการเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนให้เหมาะสมกับสติปัญญาและความถนัดของเด็ก
1.3 ปัญหาทางด้านส่วนตัว พฤติกรรมที่แสดงออกที่เป็นปัญหา มีดังนี้
1.3.1 ความผิดปกติทางนิสัย
1.3.2 การมีนิสัยสะเพร่า
1.4 มีความไม่ซื่อสัตย์ ทำ การทุจริต ลักขโมย
2. ปัญหาการบีบคั้นทางจิตใจ อันเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ มีดังนี้
2.1 ลักษณะอาการทางด้านประสาท
2.2 อาการเฉื่อยชา เหม่อลอย
2.3 อาการช่างกังวล
2.4 ลักษณะความไม่มั่นใจด้วยการยํ้าคิด
2.5 อาการยํ้าทำ
3. ปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ
3.1 ความกังวลเรื่องบุคลิกลักษณะของตน
3.2 การแสดงความเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก
3.3 การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัย
3.4 การแสดงพฤติกรรมไม่สมกับเพศหรือที่เรียกว่า กะเทย
การแก้ไขปัญหาวัยรุ่น
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2529: 1) กล่าวถึงการให้คำ ปรึกษาว่าเป็นกระบวนการที่แสดงถึงมนุษยสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อนระหว่างบุคคล โดยผู้ให้คำ ปรึกษาจะให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษา แก่ผู้มารับคำ ปรึกษา เพื่อให้บุคคลที่มารับคำ ปรึกษาเข้าใจปัญหาหรือเรื่องราวที่นำ มาปรึกษา สามารถใช้พลังปัญญาและความสามารถของตนเองในการตัดสินใจ ตกลงที่จะเลือกจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดในวิถีทางที่เหมาะสมที่เขาปรารถนา ในที่สุดบุคคลที่มาขอรับคำ ปรึกษาจะสามารถป้องกันปัญหา แก้ปัญหาและพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม
ผกา สัตยธรรม (2535, 175-188) กล่าวว่าการส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดีนั้นเป็นการกระทำ ที่ควบคู่ไปกับการป้องกันไม่ให้เด็กสุขภาพจิตเสีย หรือสุขภาพจิตไม่ดี การส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กนั้น มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ด้วย คือ บิดามารดา ครู อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องกับเด็กในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. บิดามารดาควรส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกายดี เพราะผู้ที่จะมีสุขภาพจิตดีได้ต้องอาศัยการมีสุขภาพกายดีเป็นเบื้องต้น ซึ่งตรงกับคำ กล่าวที่ว่าสุขภาพจิตที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ การไม่ปล่อยให้เด็กอดอยากขาดอาหาร เป็นต้น ทางโรงเรียนก็ควรช่วยจัดรายการอาหารกลางวัน สำ หรับเด็กที่ไม่มีอาหารรับประทานด้วย
2. บิดา มารดา ครูอาจารย์ ควรฝึกให้เด็กมีอารมณ์เย็น อารมณ์ดี เป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความแจ่มใสร่าเริงเบิกบาน เมื่อเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียว ควรอธิบายให้เข้าใจถึงความไม่ดีของความโกรธ เพราะเป็นการเกิดโทษแก่ตนเอง เช่น อาจทำ ให้หัวใจเต้นแรง ควบคุมสติไม่อยู่ เกิดความทุกข์แก่ตนฝ่ายเดียว
3. ฝึกให้เด็กรู้จักตนเองอย่างแท้จริงในด้านต่าง ๆ เช่น รู้จักนิสัยของตนเอง รู้จักพิจารณาตนเองว่ามีข้อดีข้อเสียที่จะต้องแก้ไขอย่างไร อาจเขียนข้อดี ข้อเสีย ข้อเสนอแนะที่จะแก้ไขให้มีนิสัยดีขึ้น และปฏิบัติในสิ่งที่ดีขึ้นต่อไป
ทศพร ประเสริฐสุข (2542 : 101-105) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กสรุปได้ว่า ปัญหาของเด็กในโรงเรียนมีตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยไปจนถึงปัญหาใหญ่ ๆ เด็กที่มีปัญหา หรือเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม เป็นเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และไม่เป็นที่ยอมรับของครู เช่น ส่งเสียงดังขณะที่ครูสอน ไม่ทำ งานที่ครูมอบหมาย บางพฤติกรรมอาจก่ออันตรายแก่เพื่อนร่วมชั้นและต่อตัวนักเรียนเอง เช่น การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ทำ ลายทรัพย์สินของผู้อื่น ก่อกวนชั้นเรียน จนทำ ให้กิจกรรมการเรียนการสอนต้องหยุดชะงัก เป็นต้น บางลักษณะอาจเป็นพฤติกรรมทางด้านการถดถอย หลีกหนีจากความจริง เพ้อฝันหรือเซื่องซึม เป็นต้น
ในทางจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมทุกชนิดย่อมมีสาเหตุ เมื่อครูพบพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอาจจะวิเคราะห์ได้จากสาเหตุที่เกิดดังนี้
1. พัฒนาการทางกาย ได้แก่ ความไม่ครบถ้วน ความสมบูรณ์ของอวัยวะ เช่น พิการ ตาบอด ขาด้วน ผอมเกินไป อ้วนเกินไป
2. พัฒนาการทางสังคม ได้แก่ สังคมในครอบครัว สังคมรอบๆ ตัว เพื่อน ๆ เพื่อนบ้าน ครอบครัวที่พ่อแม่แตกแยกหรือครอบครัวที่อบอุ่น จะมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก
3. พัฒนาการทางจิตใจ ได้แก่ สะเทือนใจอย่างรุนแรงเนื่องจากพ่อแม่ตายตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว หน้าตาขี้เหร่ มีแผลเป็นชัดเจน เกิดในครอบครัวที่ตํ่าต้อย ครอบครัวยากจนถูกบีบคั้นมาก พ่อแม่ไม่ให้ความสนใจ เป็นต้น เด็กที่มีพัฒนาการทางจิตใจดี สุขภาพจิตก็จะดี มองคนในแง่ดี เป็นคนรักคนอื่น พร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด
บทสรุป เมื่อพบนักเรียนที่มีปัญหาในโรงเรียนสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ พฤติกรรมทุกชนิดต้องมีสาเหตุ ทางที่ดีแล้วควร หาพฤติกรรมนั้นเกิดมาจากสาเหตุใด โดยวิเคราะห์จากสถานการณ์ในอดีตและปัจจุบันของเด็ก ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของเด็ก เมื่อทราบสาเหตุแล้วอาจจะใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยการให้คำ ปรึกษาทางจิตวิทยา การปรับพฤติกรรม ฯลฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กลดการกระทำที่เป็นปัญหาลง
เบญจพร ปัญญายง (อ้างในกรมสุขภาพจิต 2544 : 14-19) กล่าวถึงการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน สรุปได้ว่า ปัญหาทางจิตเวชในเด็กพบประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั่วไป เด็กบางคนเท่านั้นที่ต้องการประเมินสภาพจิตและรักษาในคลินิก แต่โดยส่วนใหญ่พ่อแม่และครูแนะแนวสามารถให้การช่วยเหลือได้ โดยให้คำ แนะนำ ในระยะเริ่มแรกก่อนเกิดปัญหารุนแรง หลังจากมีโปรแกรมการเฝ้าระวังโรคทางจิตเวชที่ดีทำ ให้พบปัญหาสุขภาพจิตในเด็กจำนวนมากขึ้น การช่วยเหลือจะได้ผลดี ถ้าทีมผู้รักษามีความตั้งใจในการช่วยเหลือ ให้กำลังแก่เด็กและพ่อแม่ เมื่อครูประจำชั้นพบเด็กที่มีปัญหาควรทำ ความตกลงและวางแผนร่วมกับพ่อแม่จากนั้นแนะนำ เข้าโปรแกรมเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต ควรหลีกเลี่ยงที่จะระบุว่าเด็กมีปัญหา ถ้าปัญหานั้นยังไม่รุนแรงและมีอาการช่วงสั้น ๆ ครูและครูแนะแนวที่ผ่านการฝึกงานหรือการอบรมทางสุขภาพจิตสามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ และถ้าหากยังไม่ได้ผลจึงส่งต่อเพื่อพบจิตแพทย์เด็กต่อไป
ศูนย์การศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาส คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อ้างถึงในสารปฏิรูป, 2545 : 18-22) ได้ระบุว่าปัจจุบันมีเด็กไทยติดยาบ้าถึง 6 แสนคน และได้ศึกษาวิจัยเจาะลึกพฤติกรรมเด็กเที่ยว เด็กเสพยาและเด็กขายบริการที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก พบว่าเด็กเหล่านี้มีปัญหาความไม่มั่นคงทางด้านอารมณ์และจิตใจ จนกระทั่งได้รับการเรียกขานว่าเป็น “เด็กไทยพันธุ์ใหม่” นอกจากนี้ยังมีเด็กอาชีวะ ยกพวกตีกันและทำ ร้ายนักเรียนต่างสถาบันเกิดขึ้นเป็นประจำ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า เด็กและเยาวชนไทยจำนวนไม่น้อยกำลังประสบภาวะปัญหาด้าน “อีคิว” ตกต่ำอย่างรุนแรงและไร้ภูมิต้านทานทางอารมณ์ ในการพัฒนาอีคิวนั้นโรงเรียนเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้เกิดขึ้นกับเด็ก เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนอย่างน้อย 9-12 ปี เป็นช่วงอายุที่เหมาะสมต่อการพัฒนาทักษะทางด้านอีคิว
การพัฒนาอีคิวให้แก่เด็กนักเรียนสามารถบูรณาการได้ในแทบทุกรายวิชาและทุกระดับชั้น โดยครูอาจจะต้องเลือกและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียน อาทิ สุขศึกษาสอนให้เด็กรู้จักตนเองทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฝึกการพูดและเขียนที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกวิทยาศาสตร์ ให้เด็กแบ่งกลุ่ม ทำงานร่วมกับเพื่อนเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและการแบ่งปัน ประวัติศาสตร์เลือกตัวละคร ในประวัติศาสตร์ที่มีบุคลิกต่างๆ กันทั้งที่มีอีคิวดีและ อีคิวตํ่า ให้นักเรียนวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเหล่านั้น เป็นต้น นอกจากการ บูรณาการแล้วยังสามารถจัดค่ายนอกสถานที่เพื่อฝึกทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความมีนํ้าใจ และการสร้างเสริมระเบียบวินัย ดังที่ได้มีหน่วยงานบางแห่งในขณะนี้จัดกิจกรรมค่ายเด็กอาชีวะและค่ายเด็กติดยาเสพติด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหา และสร้างค่านิยมใหม่ในทางบวกให้แก่เด็กจากเอกสารข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สรุปได้ว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่จะเลือกทิศทางเดินของตนเอง ถ้าวัยรุ่นได้รับการเลี้ยงดูในวัยเด็กเป็นอย่างดี เขาจะก้าวไปสู่วัยผู้ใหญ่ด้วยความมั่นคง แต่ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูเขาไม่ดี เด็กขาดความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย จากพ่อแม่ และถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดีอีกด้วยแล้ว โอกาสที่เด็กจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมย่อมมีมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเด็กขาดประสบการณ์หรือขาดความยั้งคิดตามลักษณะของวัยรุ่นที่เรียกว่าวัยพายุบุแคม ดังนั้นสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องหันมาให้ความสนใจวัยรุ่นกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ ครอบครัว พ่อแม่ต้องให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูก ปรับปรุงสภาพครอบครัวให้น่าอยู่อาศัย สร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอย่างมีคุณภาพ ในขณะที่โรงเรียนก็ต้องมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าการให้ความรู้เพียงอย่างเดียว คือต้องมีส่วนร่วมในการให้ความรู้ สร้างทักษะทางสังคมและความสามารถในการปรับตัวให้กับวัยรุ่น เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติต่อไป
ความหมายของวัยรุ่น
มีผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับ”วัยรุ่น” ไว้หลายท่านดังนี้
เฮอร์ล็อค (Hurlock) (1949 อ้างถึงในเพ็ญรัตน์. 2524 :3) กล่าวถึงวัยรุ่น เป็นระยะที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการพัฒนาในด้านร่างกายและจิตใจ เป็นช่วงเวลาของการเจริญงอกงามและการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน คือ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม เป็นช่วงเวลาที่รับสิ่งใหม่ ๆ ทั้งทางด้านประสบการณ์ ความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมักจะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงจากวัยรุ่นไปสู่วัยผู้ใหญ่ในระยะแรก จึงดูเสมือนว่าปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นพร้อมกันในตัวเด็ก เด็กวัยรุ่นจึงไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อปัญหาเหล่านั้น
สุพัตรา สุภาพ (2525 : 42) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมวัยรุ่น ว่าเป็นวัยที่เริ่มแตกเนื้อหนุ่มสาว (Puberty) จนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อความเจริญด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น มีการแปรปรวนทางอารมณ์ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำ ให้มีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น รัก ชอบอะไร ก็รักจนหลง ชอบจนคลั่ง ที่เป็นเช่นนี้ เพราะมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย ถ้าผิดหวังหรือไม่ได้ดังใจจะเสียใจมาก หรือมีเรื่องกระทบกระเทือนเล็กน้อยก็จะหนีออกจากบ้าน บางรายถึงกับแสดงความอาฆาตพยาบาทหรือโต้ตอบอย่างรุนแรง ถึงขนาดยกพวกตีกัน ซึ่งบางครั้งผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ ทำให้เกิดปัญหาในการมีความสัมพันธ์ต่อกัน
จิราภรณ์ อารยะรังสฤษฎ์ (2526: 65) กล่าวถึง วัยรุ่นคือวัยที่สิ้นสุดความเป็นเด็กและกำลัง จะพัฒนาไปสู่วัยผู้ใหญ่ อายุประมาณ 13-20 ปี อาจกล่าวได้ว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญช่วงหนึ่งในชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญหา และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็มีผลทำ ให้วัยรุ่นขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และประสบปัญหาในการปรับตัว จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากวัยอื่น ๆ
โยธิน ศันสนยุทธ (2533 : 191-192) ได้กล่าวถึง วัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มในช่วงอายุตั้งแต่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (12-13 ปี) จนอายุที่เด็กสามารถมีงานทำ ซึ่งในแต่ละสังคมจะสิ้นสุดระยะอายุไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปวัยรุ่นจะสิ้นสุดระยะอายุประมาณ 20 ปี วัยรุ่นเป็นวัยที่เด็กมีพัฒนาการที่รวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การเปลี่ยนแปลงกลุ่มของสังคมหรือการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ทำ ให้เด็กต้องปรับตัว ซึ่งการปรับตัวนำ มาซึ่งความวิตกกังวล ความเครียดของอารมณ์ ความโกรธฯลฯ นักจิตวิทยา Stangley Hall เรียกระยะวัยรุ่นว่าเป็นวัยพายุบุแคม (Storm and Stress) นั่นก็คือ เด็กวัยรุ่นจะไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความขวัญผวาของอารมณ์ และอารมณ์ก็มักจะเป็นอารมณ์ที่รุนแรง มีความกดดันสูง และในสายตาของคนโดยทั่วไปก็เรียกว่า วัยรุ่น เป็นวัยของปัญหาวัยอลวนวัยรุ่น เพราะฉะนั้นวัยรุ่นจึงจัดเป็นวัยหนึ่งที่บุคคลในสังคมให้ความสนใจและคิดว่าเป็นปัญหาพฤติกรรมส่วนหนึ่งของสังคม
สุชา จันทน์เอม (2533 : 30) กล่าวถึง วัยรุ่นไว้ว่าเป็นวัยที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ความเชื่อมั่น ความต้องการ ตลอดจนความปรารถนาต่าง ๆ เป็นไปอย่างรุนแรงปราศจากความยั้งคิด ชอบทำ อะไรตามใจหรือตามความนึกคิดของตน ต้องการเป็นที่ยอมรับนับถือในหมู่เพื่อนฝูง โดยพยายามทำ อะไรให้คล้าย ๆ กัน เลียนแบบตามกัน จึงมีวัยรุ่นเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ได้ตกเป็นทาสของยาเสพติดจากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า วัยรุ่น เป็นวัยที่เริ่มตั้งแต่อายุ 12-20 ปี มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วหรือที่เรียกว่าพายุบุแคม (Strom and Stress) นี้ ส่งผลต่อการปรับตัว ความวิตกกังวล ความเครียดทางอารมณ์ ทำ ให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาโดยไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั่นเอง
พฤติกรรมวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีโอกาสเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนได้ง่ายมากที่สุด พฤติกรรมเบี่ยงเบนของวัยรุ่นมีตั้งแต่ความเบี่ยงเบนระดับน้อย ๆ เช่น ดื้อรั้น ก้าวร้าว จนกระทั่งพฤติกรรมเบี่ยงเบนระดับสูง เช่น การกระทำ ผิดของเด็กและเยาวชน
นักจิตวิทยา สรุปพฤติกรรมวัยรุ่น เนื่องมาจากความต้องการ 3 ประการได้แก่ (สุชา จันทน์เอม, ม.ป.ป. : 73)
1. ความต้องการทางกาย หรือความต้องการทางสรีระ ได้แก่ ความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต เช่น ความต้องการอาหารเพื่อบรรเทาความหิวกระหาย ความต้องการขับถ่ายของเสีย แต่ถ้าเขาไม่ได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจ ก็จะแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อให้ได้สิ่งที่ยังขาดอยู่
2. ความต้องการทางสังคม เพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมจึงต้องอยู่รวมกันเป็นสังคมแต่ละอย่างเป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ
3. ความต้องการทางใจ เป็นความต้องการที่เกิดความคิดมั่นใจว่าตนจะมีชีวิตอยู่รอดได้แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากความคิดหรือเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การต้องการความรัก ความมั่นคงปลอดภัย ความยกย่องนับถือ ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ และความต้องการเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ความต้องการของวัยรุ่น
วัยรุ่นมีความต้องการทางด้านจิตใจหรือความต้องการด้านอารมณ์ ความต้องการทางกาย และความต้องการทางสังคมแตกต่างไปจากเด็กเล็กและผู้ใหญ่ ความต้องการที่สำคัญดังที่ ฉวีวรรณ สุขพันธ์โพธาราม (2527 : 123-125) กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
1. ความต้องการอยากรู้อยากเห็น
2. ความต้องการความรัก
3. ความต้องการความปลอดภัย
4. ความต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม
5. ความต้องการได้รับอิสระ
6. ความต้องการที่จะหาเลี้ยงตนเอง
7. ความต้องการปรัชญาชีวิตที่น่าพอใจ
ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแรงจูงใจที่นำ ไปสู่การกระทำ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งในทางที่สังคมยอมรับหรือไปสู่พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่สังคมไม่ยอมรับ
ความสนใจของวัยรุ่น
วัยรุ่นมีความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจะมีมากโดยเฉพาะกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อนที่เป็นการสร้างประสบการณ์และบังเกิดผลดีด้านการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งฉวีวรรณ สุขพันธ์ - โพธาราม (2527 : 131-132) ได้กล่าวถึงความสนใจของวัยรุ่นไว้ดังนี้
1. สนใจเรื่องสุขภาพ
2. สนใจเรื่องเพศ
3. สนใจการเลือกอาชีพ
4. สนใจสันทนาการ
5. สนใจค้นคว้า
6. สนใจสร้างนิสัยการเรียนดี
7. สนใจเรื่องคุณสมบัติส่วนตัว
8. สนใจเรื่องปรัชญาชีวิต
จากลักษณะความต้องการและความสนใจของวัยรุ่นที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นเป็นระยะของการมีสภาพหลักการเหตุผล เขาต้องการให้ผู้ใหญ่มีหลักการเช่นเดียวกับเขาในบางครั้งความคิด ความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนรักและสนใจ เป็นเช่นที่เขาปรารถนา วัยรุ่นจะแสดงออกในลักษณะก้าวร้าว ดึงดัน ประชดประชันต่าง ๆ จนกลายเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน เช่น วัยรุ่นต้องการอยู่ในครอบครัวอบอุ่น รักปรองดองกัน ถ้าพ่อแม่มีปากเสียงกันจะเห็นว่าวัยรุ่นจะมีปฏิกิริยาความรู้สึกโต้ตอบรุนแรง เป็นการแสดงให้เห็นถึงการถูกขัดขวางความคิด ปรารถนาของวัยรุ่นขัดใจและแสดงปฏิกิริยาต่อต้าน ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ ใช้การบีบบังคับโดยไร้เหตุผล ยิ่งทำ ให้วัยรุ่นเกิดความคับข้องใจมากขึ้น จึงแสดงพฤติกรรมเบี่ยงเบนออกมา เช่น หนีไปมั่วสุมกับเพื่อนชอบเที่ยวไม่อยากอยู่บ้าน ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา
พฤติกรรมที่เป็นปัญหา
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของวัยรุ่นจะมาจาก 6 ปัจจัย ดังที่ ฉวีวรรณ สุขพันธ์โพธาราม (2527. : 138-140) กล่าวไว้ดังนี้
1. เกิดจากตัวเด็กเอง คือ สภาพทางร่างกายและปัญหาส่วนตัว อาจจะมาจากสาเหตุ ดังนี้
1.1 อาหาร การขาดอาหาร ได้อาหารไม่เพียงพอ
1.2 ปัญหาโรคทางกายเฉพาะตัว
1.3 ความพิการหรือความบกพร่องของบุคลิกภาพ
1.4 เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางบุคลิกภาพ มีวุฒิภาวะตํ่า มีปัญหาทางด้านการปรับตัว
1.5 ความกดดันและผิดปกติของอารมณ์เพศ
2. เกิดจากความบีบคั้นทางใจ นับจากสภาพแวดล้อมใกล้ชิด คือ ครอบครัวและภาวะสังคมรอบตัวที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
2.1 สภาพครอบครัวยุ่งเหยิง พ่อแม่ไม่ปรองดองกัน ทะเลาะเบาะแวงกัน
2.2 ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่แยกทางกัน เด็กไม่อาจหาที่พึ่งยึดเป็นแบบแผนได้
2.3 ความบีบคั้นที่ได้รับมีมากมาย นับจากพ่อแม่ไม่มีเวลาสนใจ เอาใจใส่ลูกเด็กว้าเหว่
3. สภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับ เช่น สภาพที่ตั้งของบ้าน โรงเรียน เด็กขาดตัวอย่าง และการชักนำ ไปในทางเสื่อมเสียเป็นส่วนใหญ่
4. กลุ่มเพื่อน การทำ ตามค่านิยมกลุ่มในทางที่ผิด เป็นสาเหตุสำคัญของการกระทำ ผิดของวัยรุ่นได้มาก
5. สภาพเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชนที่ทรุดโทรม เป็นเหตุใหญ่ที่สุดของคดีอาชญากรวัยรุ่น
6. สื่อมวลชน หนังสือต่าง ๆ ที่มีจำ หน่ายมากมายไม่ได้รับการควบคุมอย่างจริงจัง
สาเหตุการทำ ความผิดของเยาวชนเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาดูเรื่องราวและสาเหตุอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมไปในทุก ๆ ด้าน ด้านที่เกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตของเยาวชนแต่ละ คนและพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน จึงจะสรุปและหาแนวทางแก้ไข และป้องกันให้เหมาะสมกับการกระทำ ผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทุกองค์กรนับแต่ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทั้งฝ่ายรัฐและเอกชน
ปัญหาประเภทต่าง ๆ ของนักเรียนวัยรุ่น
นักเรียนแต่ละคนที่เข้ามาอยู่ร่วมกันในสังคมในโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อม และบุคลิกภาพของนักเรียนที่แตกต่างกัน อาจนำ ไปสู่ปัญหา หรือทำ ให้เกิดการปรับตัวที่ผิดแผกจากการยอมรับของสังคมได้ นักเรียนวัยรุ่นที่ก่อคดีในห้องเรียนที่จะกล่าวถึงนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดเบื้องต้นทางด้านพฤติกรรม ซึ่งไม่เป็นผลรุนแรงต่อการจะต้องโทษทางอาญามีดังนี้
1. ปัญหาทางด้านการเรียน มีดังนี้
1.1 ความไม่เข้าใจบทเรียนของนักเรียน
1.2 วางแผนการเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนให้เหมาะสมกับสติปัญญาและความถนัดของเด็ก
1.3 ปัญหาทางด้านส่วนตัว พฤติกรรมที่แสดงออกที่เป็นปัญหา มีดังนี้
1.3.1 ความผิดปกติทางนิสัย
1.3.2 การมีนิสัยสะเพร่า
1.4 มีความไม่ซื่อสัตย์ ทำ การทุจริต ลักขโมย
2. ปัญหาการบีบคั้นทางจิตใจ อันเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ มีดังนี้
2.1 ลักษณะอาการทางด้านประสาท
2.2 อาการเฉื่อยชา เหม่อลอย
2.3 อาการช่างกังวล
2.4 ลักษณะความไม่มั่นใจด้วยการยํ้าคิด
2.5 อาการยํ้าทำ
3. ปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ
3.1 ความกังวลเรื่องบุคลิกลักษณะของตน
3.2 การแสดงความเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก
3.3 การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัย
3.4 การแสดงพฤติกรรมไม่สมกับเพศหรือที่เรียกว่า กะเทย
การแก้ไขปัญหาวัยรุ่น
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2529: 1) กล่าวถึงการให้คำ ปรึกษาว่าเป็นกระบวนการที่แสดงถึงมนุษยสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อนระหว่างบุคคล โดยผู้ให้คำ ปรึกษาจะให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษา แก่ผู้มารับคำ ปรึกษา เพื่อให้บุคคลที่มารับคำ ปรึกษาเข้าใจปัญหาหรือเรื่องราวที่นำ มาปรึกษา สามารถใช้พลังปัญญาและความสามารถของตนเองในการตัดสินใจ ตกลงที่จะเลือกจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดในวิถีทางที่เหมาะสมที่เขาปรารถนา ในที่สุดบุคคลที่มาขอรับคำ ปรึกษาจะสามารถป้องกันปัญหา แก้ปัญหาและพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม
ผกา สัตยธรรม (2535, 175-188) กล่าวว่าการส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดีนั้นเป็นการกระทำ ที่ควบคู่ไปกับการป้องกันไม่ให้เด็กสุขภาพจิตเสีย หรือสุขภาพจิตไม่ดี การส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กนั้น มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ด้วย คือ บิดามารดา ครู อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องกับเด็กในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. บิดามารดาควรส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกายดี เพราะผู้ที่จะมีสุขภาพจิตดีได้ต้องอาศัยการมีสุขภาพกายดีเป็นเบื้องต้น ซึ่งตรงกับคำ กล่าวที่ว่าสุขภาพจิตที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ การไม่ปล่อยให้เด็กอดอยากขาดอาหาร เป็นต้น ทางโรงเรียนก็ควรช่วยจัดรายการอาหารกลางวัน สำ หรับเด็กที่ไม่มีอาหารรับประทานด้วย
2. บิดา มารดา ครูอาจารย์ ควรฝึกให้เด็กมีอารมณ์เย็น อารมณ์ดี เป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความแจ่มใสร่าเริงเบิกบาน เมื่อเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียว ควรอธิบายให้เข้าใจถึงความไม่ดีของความโกรธ เพราะเป็นการเกิดโทษแก่ตนเอง เช่น อาจทำ ให้หัวใจเต้นแรง ควบคุมสติไม่อยู่ เกิดความทุกข์แก่ตนฝ่ายเดียว
3. ฝึกให้เด็กรู้จักตนเองอย่างแท้จริงในด้านต่าง ๆ เช่น รู้จักนิสัยของตนเอง รู้จักพิจารณาตนเองว่ามีข้อดีข้อเสียที่จะต้องแก้ไขอย่างไร อาจเขียนข้อดี ข้อเสีย ข้อเสนอแนะที่จะแก้ไขให้มีนิสัยดีขึ้น และปฏิบัติในสิ่งที่ดีขึ้นต่อไป
ทศพร ประเสริฐสุข (2542 : 101-105) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กสรุปได้ว่า ปัญหาของเด็กในโรงเรียนมีตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยไปจนถึงปัญหาใหญ่ ๆ เด็กที่มีปัญหา หรือเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม เป็นเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และไม่เป็นที่ยอมรับของครู เช่น ส่งเสียงดังขณะที่ครูสอน ไม่ทำ งานที่ครูมอบหมาย บางพฤติกรรมอาจก่ออันตรายแก่เพื่อนร่วมชั้นและต่อตัวนักเรียนเอง เช่น การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ทำ ลายทรัพย์สินของผู้อื่น ก่อกวนชั้นเรียน จนทำ ให้กิจกรรมการเรียนการสอนต้องหยุดชะงัก เป็นต้น บางลักษณะอาจเป็นพฤติกรรมทางด้านการถดถอย หลีกหนีจากความจริง เพ้อฝันหรือเซื่องซึม เป็นต้น
ในทางจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมทุกชนิดย่อมมีสาเหตุ เมื่อครูพบพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอาจจะวิเคราะห์ได้จากสาเหตุที่เกิดดังนี้
1. พัฒนาการทางกาย ได้แก่ ความไม่ครบถ้วน ความสมบูรณ์ของอวัยวะ เช่น พิการ ตาบอด ขาด้วน ผอมเกินไป อ้วนเกินไป
2. พัฒนาการทางสังคม ได้แก่ สังคมในครอบครัว สังคมรอบๆ ตัว เพื่อน ๆ เพื่อนบ้าน ครอบครัวที่พ่อแม่แตกแยกหรือครอบครัวที่อบอุ่น จะมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก
3. พัฒนาการทางจิตใจ ได้แก่ สะเทือนใจอย่างรุนแรงเนื่องจากพ่อแม่ตายตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว หน้าตาขี้เหร่ มีแผลเป็นชัดเจน เกิดในครอบครัวที่ตํ่าต้อย ครอบครัวยากจนถูกบีบคั้นมาก พ่อแม่ไม่ให้ความสนใจ เป็นต้น เด็กที่มีพัฒนาการทางจิตใจดี สุขภาพจิตก็จะดี มองคนในแง่ดี เป็นคนรักคนอื่น พร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด
บทสรุป เมื่อพบนักเรียนที่มีปัญหาในโรงเรียนสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ พฤติกรรมทุกชนิดต้องมีสาเหตุ ทางที่ดีแล้วควร หาพฤติกรรมนั้นเกิดมาจากสาเหตุใด โดยวิเคราะห์จากสถานการณ์ในอดีตและปัจจุบันของเด็ก ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของเด็ก เมื่อทราบสาเหตุแล้วอาจจะใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยการให้คำ ปรึกษาทางจิตวิทยา การปรับพฤติกรรม ฯลฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กลดการกระทำที่เป็นปัญหาลง
เบญจพร ปัญญายง (อ้างในกรมสุขภาพจิต 2544 : 14-19) กล่าวถึงการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน สรุปได้ว่า ปัญหาทางจิตเวชในเด็กพบประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั่วไป เด็กบางคนเท่านั้นที่ต้องการประเมินสภาพจิตและรักษาในคลินิก แต่โดยส่วนใหญ่พ่อแม่และครูแนะแนวสามารถให้การช่วยเหลือได้ โดยให้คำ แนะนำ ในระยะเริ่มแรกก่อนเกิดปัญหารุนแรง หลังจากมีโปรแกรมการเฝ้าระวังโรคทางจิตเวชที่ดีทำ ให้พบปัญหาสุขภาพจิตในเด็กจำนวนมากขึ้น การช่วยเหลือจะได้ผลดี ถ้าทีมผู้รักษามีความตั้งใจในการช่วยเหลือ ให้กำลังแก่เด็กและพ่อแม่ เมื่อครูประจำชั้นพบเด็กที่มีปัญหาควรทำ ความตกลงและวางแผนร่วมกับพ่อแม่จากนั้นแนะนำ เข้าโปรแกรมเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต ควรหลีกเลี่ยงที่จะระบุว่าเด็กมีปัญหา ถ้าปัญหานั้นยังไม่รุนแรงและมีอาการช่วงสั้น ๆ ครูและครูแนะแนวที่ผ่านการฝึกงานหรือการอบรมทางสุขภาพจิตสามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ และถ้าหากยังไม่ได้ผลจึงส่งต่อเพื่อพบจิตแพทย์เด็กต่อไป
ศูนย์การศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาส คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อ้างถึงในสารปฏิรูป, 2545 : 18-22) ได้ระบุว่าปัจจุบันมีเด็กไทยติดยาบ้าถึง 6 แสนคน และได้ศึกษาวิจัยเจาะลึกพฤติกรรมเด็กเที่ยว เด็กเสพยาและเด็กขายบริการที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก พบว่าเด็กเหล่านี้มีปัญหาความไม่มั่นคงทางด้านอารมณ์และจิตใจ จนกระทั่งได้รับการเรียกขานว่าเป็น “เด็กไทยพันธุ์ใหม่” นอกจากนี้ยังมีเด็กอาชีวะ ยกพวกตีกันและทำ ร้ายนักเรียนต่างสถาบันเกิดขึ้นเป็นประจำ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า เด็กและเยาวชนไทยจำนวนไม่น้อยกำลังประสบภาวะปัญหาด้าน “อีคิว” ตกต่ำอย่างรุนแรงและไร้ภูมิต้านทานทางอารมณ์ ในการพัฒนาอีคิวนั้นโรงเรียนเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้เกิดขึ้นกับเด็ก เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนอย่างน้อย 9-12 ปี เป็นช่วงอายุที่เหมาะสมต่อการพัฒนาทักษะทางด้านอีคิว
การพัฒนาอีคิวให้แก่เด็กนักเรียนสามารถบูรณาการได้ในแทบทุกรายวิชาและทุกระดับชั้น โดยครูอาจจะต้องเลือกและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียน อาทิ สุขศึกษาสอนให้เด็กรู้จักตนเองทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฝึกการพูดและเขียนที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกวิทยาศาสตร์ ให้เด็กแบ่งกลุ่ม ทำงานร่วมกับเพื่อนเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและการแบ่งปัน ประวัติศาสตร์เลือกตัวละคร ในประวัติศาสตร์ที่มีบุคลิกต่างๆ กันทั้งที่มีอีคิวดีและ อีคิวตํ่า ให้นักเรียนวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเหล่านั้น เป็นต้น นอกจากการ บูรณาการแล้วยังสามารถจัดค่ายนอกสถานที่เพื่อฝึกทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความมีนํ้าใจ และการสร้างเสริมระเบียบวินัย ดังที่ได้มีหน่วยงานบางแห่งในขณะนี้จัดกิจกรรมค่ายเด็กอาชีวะและค่ายเด็กติดยาเสพติด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหา และสร้างค่านิยมใหม่ในทางบวกให้แก่เด็กจากเอกสารข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สรุปได้ว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่จะเลือกทิศทางเดินของตนเอง ถ้าวัยรุ่นได้รับการเลี้ยงดูในวัยเด็กเป็นอย่างดี เขาจะก้าวไปสู่วัยผู้ใหญ่ด้วยความมั่นคง แต่ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูเขาไม่ดี เด็กขาดความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย จากพ่อแม่ และถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดีอีกด้วยแล้ว โอกาสที่เด็กจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมย่อมมีมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเด็กขาดประสบการณ์หรือขาดความยั้งคิดตามลักษณะของวัยรุ่นที่เรียกว่าวัยพายุบุแคม ดังนั้นสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องหันมาให้ความสนใจวัยรุ่นกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ ครอบครัว พ่อแม่ต้องให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูก ปรับปรุงสภาพครอบครัวให้น่าอยู่อาศัย สร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอย่างมีคุณภาพ ในขณะที่โรงเรียนก็ต้องมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าการให้ความรู้เพียงอย่างเดียว คือต้องมีส่วนร่วมในการให้ความรู้ สร้างทักษะทางสังคมและความสามารถในการปรับตัวให้กับวัยรุ่น เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)