แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ
ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกหรือความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ ความเชื่อ ซึ่งจะขอกล่าวถึง ความหมาย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ดังนี้
ความหมายของความพึงพอใจ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542: 775) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ
พฤติกรรมเกี่ยวกับความพึงพอใจของมนุษย์คือความพยายามที่จะขจัดความตึงเครียด หรือ ความกระวนกระวาย หรือภาวะไม่ได้ดุลยภาพในร่างกาย ซึ่งเมื่อมนุษย์สามารถขจัดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แล้ว มนุษย์ย่อมได้รับความพึงพอใจในสิ่งที่ตนต้องการ (เศกสิทธิ์, 2544: 6)
อุทัยพรรณ สุดใจ (2545:7) ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อ สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอาจจะเป็นไปในเชิงประเมินค่า ว่าความรู้สึกหรือทัศนคติต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางลบ
สุพล (2540: 27) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็นในลักษณะเชิงบวกของบุคคลเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการหรือได้รับสิ่งตอบแทนที่คาดหวังไว้
สุภาลักษณ์ ชัยอนันต์ (2540: 17) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกส่วนตัวที่รู้สึกเป็นสุขหรือยินดีที่ได้รับการตอบสนองความต้องการในสิ่งที่ขาดหายไป หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สมดุล ความพึงพอใจเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมที่จะแสดงออกของบุคคล ซึ่งมีผลต่อการเลือกที่จะปฏิบัติในกิจกรรมใดๆ นั้น
อรรถพร (2546: 29) ได้สรุปว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติหรือระดับความพึงพอใจของบุคคลต่อกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกิจกรรมนั้นๆ โดยเกิดจากพื้นฐานของการรับรู้ ค่านิยมและประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับ ระดับของความพึงพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อกิจกรรมนั้นๆ สามารถตอบสนองความต้องการแก่บุคคลนั้นได้
สายจิตร (2546: 14) ได้สรุปว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ แต่ถ้าเมื่อใดที่สิ่งนั้นสามารถตอบสนองความต้องการหรือทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ ก็จะเกิดความรู้สึกทางบวกแต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสิ่งใดสร้างความรู้สึกผิดหวังไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกทางลบเป็นความรู้สึกไม่พึงพอใจ
จากความหมายที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีความสึกของบุคคลที่มีต่องานที่ปฏิบัติอยู่และความพึงพอใจจะส่งผลต่อขวัญในการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดีความพึงพอใจของแต่ละบุคคลไม่มีวันสิ้นสุด เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อมบุคคลจึงมีโอกาสที่จะไม่พึงพอใจในสิ่งที่เคยพึงพอใจมาแล้ว ฉะนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องสำรวจตรวจสอบความพึงพอใจในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรตลอดไป ทั้งนี้เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายขององค์กรหรือหน่วยงานที่ตั้งไว้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
นักวิชาการได้พัฒนาทฤษฎีที่อธิบายองค์ประกอบของความพึงพอใจ และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับปัจจัยอื่น ๆ ไว้หลายทฤษฎี
โคร์แมน (Korman, A.K., 1977 อ้างอิงในสมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง, 2542: 161-162) ได้จำแนกทฤษฎีความพึงพอใจในงานออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. ทฤษฎีการสนองความต้องการ กลุ่มนี้ถือว่าความพึงพอใจ ในงานเกิดจากความต้องการส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อผลที่ได้รับจากงานกับการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายส่วนบุคคล
2. ทฤษฎีการอ้างอิงกลุ่ม ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับคุณลักษณะของงานตามความปรารถนาของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกให้กลุ่มเป็นแนวทางในการประเมินผลการทำงาน
ส่วนมัมฟอร์ด (Manford, E., 1972 อ้างถึงใน สมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง, 2542:162) ได้จำแนกความคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจงานจากผลการวิจัยออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
1. กลุ่มความต้องการทางด้านจิตวิทยา กลุ่มนี้ได้แก่ Maslow, A.H. , Herzberg. F และ Likert R.โดยมองความพึงพอใจงานเกิดจากความต้องการของบุคคลที่ต้องการความสำเร็จของงานและความต้องการการยอมรับจากบุคคลอื่น
2. กลุ่มภาวะผู้นำมองความพึงพอใจงานจากรูปแบบและการปฏิบัติของผู้นำที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา กลุ่มนี้ได้แก่ Blake R.R., Mouton J.S. และ Fiedler R.R.
3. กลุ่มความพยายามต่อรองรางวัล เป็นกลุ่มที่มองความพึงพอใจจากรายได้ เงินเดือน และผลตอบแทนอื่น ๆ กลุ่มนี้ ได้แก่ กลุ่มบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (Manchester Business School)
4. กลุ่มอุดมการณ์ทางการจัดการมองความพึงพอใจจากพฤติกรรมการบริหารงานขององค์กร ได้แก่ Crogier M. และ Coulder G.M.
5. กลุ่มเนื้อหาของงานและการออกแบบงาน ความพึงพอใจงานเกิดจากเนื้อหาของตัวงาน กลุ่มแนวคิดนี้มาจากสถาบันทาวิสตอค (Tavistock Institute) มหาวิทยาลัยลอนดอน
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์
มาสโลว์มีหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับแรงจูงใจ โดยเน้นในเรื่องลำดับขั้นความต้องการเขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้นแรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการพฤติกรรมของคนเรา มุ่งไปสู่การตอบสนอง ความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน (http://web.rmut.ac.th/larts/phy/module7/unit7_7.html) ได้แก่
1. มนุษย์มีความต้องการ และความต้องการมีอยู่เสมอ ไม่มีที่สิ้นสุด
2. ความต้องการที่ได้รับการสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจสำหรับพฤติกรรมต่อไป ความต้องการที่ไม่ได้รับการสนองเท่านั้นที่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรม
3. ความต้องการของคนซ้ำซ้อนกัน บางทีความต้องการหนึ่ง ได้รับการตอบสนองแล้วยังไม่สิ้นสุดก็เกิดความต้องการด้านอื่นขึ้นอีก
4. ความต้องการของคนมีลักษณะเป็นลำดับขั้น ความสำคัญกล่าวคือ เมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็จะเรียกร้องให้มีการตอบสนอง
5. ความต้องการเป็นตัวตนที่แท้จริงของตนเอง
ลำดับความต้องการพื้นฐานของ Maslow เรียกว่า Hierarchy of Needs มี 5 ลำดับขั้น ดังนี้
1. ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นต้องการปัจจัย 4 เช่น ต้องการอาหารให้อิ่มท้อง เครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความร้อน หนาวและอุจาดตา ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันแดด ฝน ลม อากาศร้อน หนาว และสัตว์ร้าย ความต้องการเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน จึงมีความต้องการพื้นฐานขั้นแรกที่มนุษย์ทุกคนต้องการบรรลุให้ได้ก่อน
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) หลังจากที่มนุษย์บรรลุความต้องการด้านร่างกาย ทำให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ในขั้นแรกแล้ว จะมีความต้องการด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตนเองเพิ่มขึ้นต่อไป เช่น หลังจากมนุษย์มีอาหารรับประทานจนอิ่มท้องแล้วได้เริ่มหันมาคำนึงถึงความปลอดภัยของ อาหาร หรือสุขภาพ โดยหันมาให้ความสำคัญกันเรื่องสารพิษที่ติดมากับอาหาร ซึ่งสารพิษเหล่านี้อาจสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับชีวิตของเขา เป็นต้น
3. ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นหลังจากการที่มีชีวิตอยู่รอดแล้ว มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว มนุษย์จะเริ่มมองหาความรักจากผู้อื่น ต้องการที่จะเป็นจ้าของสิ่งต่างๆ ที่ตนเองครอบครองอยู่ตลอดไป เช่น ต้องการให้พ่อแม่ พี่น้อง คนรัก รักเราและต้องการให้เขาเหล่านั้นรักเราคนเดียว ไม่ต้องการให้เขาเหล่านั้นไปรักคนอื่น โดยการแสดงความเป็นเจ้าของ เป็นต้น
4. ความต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น (Esteem needs) เป็นความต้องการอีกขั้นหนึ่งหลังจากได้รับความต้องการทางร่างกาย ความปลอดภัย ความรักและเป็นเจ้าของแล้ว จะต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น ต้องการได้รับเกียรติจากผู้อื่น เช่น ต้องการการเรียกขานจากบุคคลทั่วไปอย่างสุภาพ ให้ความเคารพนับถือตามควรไม่ต้องการการกดขี่ข่มเหงจากผู้อื่น เนื่องจากทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
5. ความต้องการความเป็นตัวตนอันแท้จริงของตนเอง (Self - actualization needs) เป็นความต้องการขั้นสุดท้าย หลังจากที่ผ่านความต้องการความเป็นส่วนตัว เป็นความต้องการที่แท้จริงของตนเอง ลดความต้องการภายนอกลง หันมาต้องการสิ่งที่ตนเองมีและเป็นอยู่ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ แต่ความต้องการในขั้นนี้มักเกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องผ่านความต้องการในขั้นอื่นๆ มาก่อนและต้องมีความเข้าใจในชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
(http://research.doae.go.th/data/%B7%C4%C9%AE%D5%B5%E8%D2%A7%E6.doc)
เมื่อวิเคราะห์โดยรอบด้านแล้วจะพบว่าระดับความต้องการทั้ง 5 ระดับของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์นั้น สามารถตอบคำถามเรื่องความมุ่งหมายของชีวิตได้ครบถ้วน ในระดับหนึ่ง เพราะมนุษย์เราตามปกติจะมีระดับความต้องการหลายระดับ และเมื่อความต้องการระดับต้นได้รับการสนองตอบก็จะเกิดความต้องการในระดับสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยไปตามลำดับจนถึงระดับสูงสุด การตอบคำถามเรื่องเป้าหมายและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ตามแนวของจิตวิทยาแขนงมานุษยนิยมจึงทำได้เราได้เห็นคำตอบในอีกแง่มุมหนึ่ง
ทฤษฎีความต้องการของแอลเดอร์เฟอร์ (Alderfer’ s Hierarchy Modified Need Theory)
Alderfer ได้ให้ทฤษฎีที่เรียกว่า E.R.G (Existence - Relatedness- Growth Theory) โดยแบ่งความต้องการของบุคคลออกเป็น 3 ประการ คือ (Feildman and Arnold, 1983: 110) ความต้องการมีชีวิตอยู่ (Existence needs) ความต้องการสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น (Relatedness needs) และ ความต้องการความเจริญก้าวหน้า (Growth needs)
ทฤษฎีความต้องการของเมอร์เรย์ (Murry’s Manifest Needs)
ทฤษฎีของ Murry สามารถอธิบายได้ว่า ในเวลาเดียวกันบุคคลอาจมีความต้องการด้านใดด้านหนึ่งที่จำเป็นและสำคัญเกี่ยวกับการทำงานซึ่งมีอยู่ 4 ประการ คือ ความต้องการความสำเร็จ (Needs for achievement) ความต้องการมิตรสัมพันธ์ (Needs for affiliation) ความต้องการอิสระ (Needs for autonomy)
ทฤษฎีความต้องการแสวงหาของแมคคีแลนด์ (McClelland’s Acquired needs Theory)
เป็นทฤษฎีที่บุคคลมุ่งความต้องการเฉพาะอย่างมากกว่าความต้องการอื่น ๆ ความต้องการความสำเร็จเป็นความปรารถนาที่บรรลุเป้าหมายซึ่งมีลักษณะท้าทาย ทฤษฎีนี้ทำความเข้าใจถึงรูปแบบการจูงใจความต้องการพื้นฐาน 3 ประการ คือ ความต้องการอำนาจ (Needs for power) ความต้องการผูกพัน (Needs for affiliation) ความต้องการความสำเร็จ (Needs for achievement)
ทฤษฎีสองปัจจัย (Two Factor Theory)
เป็นทฤษฎีที่ Frederick K. Herzberg ได้ศึกษาทำการวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคคล เขา ได้ศึกษาถึงความต้องการของคนในองค์การ หรือการจูงใจจากการทำงาน โดยเฉพาะเจาะจง โดยศึกษาว่าคนเราต้องการอะไรจากงานคำตอบก็คือ บุคคลต้องการความสุขจากการทำงาน ซึ่งสรุปได้ว่า ความสุขจากการทำงานนั้น เกิดมาจากความพึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจในงานที่ทำ โดยความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจในงานที่ทำนั้น ไม่ได้มาจากกลุ่มเดียวกัน แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยสองกลุ่ม คือ ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) และปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์ (Maintenance or Hygiene Factors)
1. ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานที่ปฏิบัติเป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์การให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นปัจจัยที่สามารถตอบสนองความต้องการภายในของบุคคลได้ด้วย อันได้แก่
1.1 ความสำเร็จในงานที่ทำของบุคคล (Achievement) หมายถึงการที่บุคคลสามารถทำงานได้เสร็จสิ้น และประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การรู้จักป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อผลงานสำเร็จจึงเกิดความรู้สึกพอใจและปลาบปลื้มในผลสำเร็จของงานนั้น ๆ
1.2 การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) หมายถึง การได้รับการยอมรับนับถือไม่ว่าจากผู้บังคับบัญชา จากเพื่อน จากผู้มาขอรับคำปรึกษาหรือ จากบุคคลในหน่วยงาน การยอมรับนี้อาจจะอยู่ในรูปของการยกย่องชมเชยแสดงความยินดี การให้กำลังใจ หรือการแสดงออกอื่นใดที่ก่อให้เห็นถึงการยอมรับในความสามารถ เมื่อได้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดบรรลุผลสำเร็จ การยอมรับนับถือจะแฝงอยู่กับความสำเร็จในงานด้วย
1.3 ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (The Work Itself) หมายถึงงานที่น่าสนใจ งานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ท้าทายให้ลงมือทำ หรือเป็นงานที่มีลักษณะสามารถกระทำได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยลำพังแต่ผู้เดียว
1.4 ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการได้รับมอบหมาย ให้รับผิดชอบงานใหม่ ๆและมีอำนาจในการรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ไม่มีการตรวจ หรือควบคุมอย่างใกล้ชิด
1.5 ความก้าวหน้า (Advancement) หมายถึง ได้รับเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของบุคคลในองค์การ การมีโอกาสได้ศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่มหรือได้รับการฝึกอบรม
2. ปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขศาสตร์ (Maintenance or Hygiene Factors) หมายถึง ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจ ในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การบุคคลในองค์การจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้น และเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกตัวบุคคล ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
2.1 เงินเดือน (Salary) หมายถึง เงินเดือนและการเลื่อนขั้นเงินเดือนในหน่วยงานนั้น ๆ เป็นที่พอใจของบุคลากรที่ทำงาน
2.2 โอกาสได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of Growth) หมายถึง การที่บุคคลได้รับการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งภายในหน่วยงานแล้ว ยังหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลสามารถได้รับ ความก้าวหน้าในทักษะวิชาชีพด้วย
2.3 ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน (Interpersonal Relation Superior, Subordinate and Peers) หมายถึง การติดต่อไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจา ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สามารถทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างดี
2.4 สถานะทางอาชีพ (Status) หมายถึง อาชีพนั้นเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคมที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี
2.5 นโยบายและการบริการ (Company Policy and Administration) หมายถึงการจัดการและการบริหารขององค์การ การติดต่อสื่อสารภายในองค์การ
2.6 สภาพการทำงาน (Working Conditions) หมายถึง สภาพทางกายภาพของงาน เช่น แสง เสียง อากาศ ชั่วโมงการทำงาน รวมทั้งลักษณะของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
2.7 ความเป็นอยู่ส่วนตัว (Personal life) ความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดี อันเป็นผลที่ได้รับจากงานในหน้าที่ เช่น การที่บุคคลถูกย้ายไปทำงานในที่แห่งใหม่ ซึ่งห่างไกลจากครอบครัว ทำให้ไม่มีความสุข และไม่พอใจกับการทำงานในที่แห่งใหม่
2.8 ความมั่นคงในการทำงาน (Security) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อความมั่นคงในการทำงาน ความยั่งยืนของอาชีพ หรือความมั่นคงขององค์การ
2.9 วิธีการปกครองบังคับบัญชา (Supervision-Technical) หมายถึง ความสามารถของผู้บังคับบัญชาในการทำงาน หรือความยุติธรรมในการบริหาร
จากทฤษฎีสองปัจจัย สรุปได้ว่าปัจจัยทั้ง 2 ด้านนี้ เป็นสิ่งที่คนต้องการ เพราะเป็นแรงจูงใจในการทำงาน องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทำให้คนเกิดความสุขในการทำงาน โดยมีความสัมพันธ์กับกรอบแนวคิดที่ว่า เมื่อคนได้รับการตอบสนองด้วยปัจจัยชนิดนี้ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน ผลที่ตามมาก็คือ คนจะเกิดความพึงพอใจในงาน สามารถทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ส่วนปัจจัยค้ำจุน หรือสุขศาสตร์ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันมิให้คนเกิดความไม่เป็นสุข หรือ ไม่พึงพอใจในงานขึ้น ช่วยทำให้คนเปลี่ยนเจตคติจากการ ไม่อยากทำงานมาสู่ความพร้อมที่จะทำงาน
นอกจากนี้ Herzberg ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า องค์ประกอบทางด้านการจูงใจจะต้องมีค่าเป็นบวกเท่านั้น จึงจะทำให้บุคคลมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขึ้นมาได้ แต่ถ้าหากว่ามีค่าเป็นลบ จะทำให้บุคคลไม่พึงพอใจในงาน ส่วนองค์ประกอบทางด้านการค้ำจุน ถ้าหากว่ามีค่าเป็นลบ บุคคลจะไม่มีความรู้สึก ไม่พึงพอใจในงานแต่อย่างใดเนื่องจากองค์ประกอบทางด้านปัจจัยนี้ มีหน้าที่ค้ำจุนหรือบำรุงรักษาบุคคลให้มีความพึงพอใจในงานอยู่แล้ว สรุปได้ว่า ปัจจัยทั้งสองนี้ ควรจะต้องมีในทางบวก จึงจะทำให้ความพึงพอใจในการทำงานของบุคคลเพิ่มขึ้น จากทฤษฎีสองปัจจัยของ Herzberg เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับขวัญโดยจะขวัญมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความพึงพอใจและการจูงใจ ซึ่งเกิดจากปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนนั่นเอง (www.lib.kku.ac.th/fulltext/Art/2543/art004-chap2.pdf)
83 ความคิดเห็น:
thx you 4 yr article.
i used yr article 4 my work.
thx
very usefull.
ขอบคุณมากครับสำหรับบทความ
ขอบคุณสำหรับบทความเรื่องนี้ กำลังมองหาเพื่อเพิ่มเติมให้ผลงานสมบูรณ์ ขอให้ท่านได้รับบุญกุศลในการเผื่อแผ่วิทยาทาน แก่ผู้ที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
ขอบคุณอย่างสุดซึ้งครับ
กำลังหาแนวคิดเรื่องหาความพึงพอใจในการเขียนงานวิจัย ขอบคุณมากค่ะ
เป็นประโยชน์มากค่ะ
บทความมีประโยชน์มากค่ะ
จะรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยได้ไหมคะ
ขอบคุณล่วงหน้า ค่ะ
ดิฉันเป็นนศ.ป.โทอยู่ค่ะ กำลังทำ IS เรื่อง JOB SAT ค่ะกำลังหาทฤษฎีสนับสนุนงานอยู่ หากรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยจะได้ไหมคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
w_nanny@hotmail.com
กำลังหาแนวคิดเรื่องความพึงพอใจในการเขียนงานวิจัย ขอบคุณมากค่ะ
กำลังหาข้อมูลทำ IS เช่นกันค่ะ ขอบคุณมากที่ท่านได้ลงบทความนี้ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
ืnoomai_c@hotmail.com
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลที่สั้น กระชับ ได้เนื้อหาใจความค่ะ กำลังทำวิจัยเช่นกัน รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยคนได้ไหมค่ะ งานนี้อาจารย์ให้เวลาน้อยมากค่ะ
ห้องสมุดที่ต่างจังหวัดก้อมีหนังสือน้อย รบกวนด้วยคนค่ะ
tatoobuga@gmail.com
ขอบคุณค่ะ
รบกวนขอบรรณุกรมอีกคนค่ะ กำลังทำงานวิจัยส่งอาจารย์และเป็นผลงานวิจัยให้วิทยาลัยด้วยค่ะ ขอขอบพระคุณมากๆ และขอให้มีความสุขตลอดไปนะค่ะ ถ้าขึ้นไปเที่ยวจ.น่านแวะเยี่ยมที่วิทยาลัยการอาชีพปัวด้วยค่ะ
korn_beam@hotmail.com
ขอบคุณมาก ๆ เช่นกัน กำลังทำเค้าโครง 3 บท ขอบรรณานุกรมด้วย ขอขอบคุณล่วงหน้า และขอให้ประสบความสำเร็จสำหรับความอนุเคราะห์นี้ ส่งที่ Suvimol.ssk5@gmail.com
ทำงานวิจัยอยู่เหมือนกันคะ กำลังหาทฤษฎีสำหรับอ้างอิง และอยากได้บรรณานุกรมเหมือนกัน แต่ว่า มาพบบทความนี้ก็วันนี้เอง จะช้าเกินไปรึเปล่าคะ ยังไงรบกวนส่งให้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ
chunyapuc_b_@hotmail.com
กำลังทำรายงานการวิจัย ขอบคุณมากคะที่คุณเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มเติมเนื้อหาในรายงานให้ดียิ่งขึ้น
ขอบคุณมากค่ะ
การวิจัยแบบนี้ง่ายดีนะ ไม่มีข้อมูลก็ขอข้อมูล ไม่มีบรรณานุกรม ก็ยังขอบรรณานุกรมเพิ่มอีก
งานวิจัย เป็นงาน ค้นคว้า หาข้อมูล ทั้งจากการปฏิบัติ และเอกสารตำรา เหมือนให้ปรุงอาหารเป็น
แล้วงานวิจัยที่ทำเช่นนี้ เพื่ออะไร -ศึกษาค้นคว้า หรือคว้า/คัดลอกข้อมูล แล้วจะได้อะไร เหมือนกลับไปกินอาหารถุง ไม่ต้องปรุง
ผู้ควบคุมวิจัยเข้ามาเห็นเข้าคงเตรียมปากกาไว้เขียน "หนังสือเล่มนี้อ่านมากหรือเปล่า" เพราะบางแล่มไม่มีในจังหวัดนั้นก็ได้
อยากให้อ่านหนังสือมาก ดีกว่า และที่ ม. ทุก ม. ก็มีการค้นหาด้วย คอม. แล้ว ไม่ลำบากนักหรอก
ขอบคุณสำหรับบทความที่ช่วยประหยัดเวลาในการค้นคว้าแต่ถ้าใครมีเวลามากก็ควรจะค้นคว้าในตำรำจะได้ช่วยในเรื่องการอ่าน
ขอบคุณสำหรับข้อความนี้นะครับ เป็นประโยชน์มาก
แต่รบกวนขอบรรณานุกรมตามที่อ้างในเอกสารนี้ด้วยนะครับ ด่วนด้วย เพราะผมต้องทำวิจัยส่งภายในอาทิตย์นี้คับ
ขอบพระคุณมากครับ
ส่งมาที่ www.man_2540@hotmail.com
กำลังหาข้อมูลทำ IS เช่นกันค่ะ ขอบคุณมากที่ท่านได้ลงบทความนี้ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
s_anussara@hotmail.com
ผู้ที่นำข้อมูลมาลงได้บุญได้กุศล แต่บางคนอาจจะคิดว่าผู้ที่เข้ามาดูและนำข้อมูลไปสังเคราะห์นั้นคงจะยกไปทั้งดุ้น การค้นคว้าจากอินเตอร์เนทก็เป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้าค่ะ และคณาจารย์ที่ท่านดูแลงานวิจัยมีวิสัยทัศน์กว้างไกล รับรองหลอกท่านทั้งหลายไม่ได้แน่ ๆ และหวังว่าหากคุณ Wat จะทำวิจัยสักหนึ่งเรื่องคงไม่ย้อนเวลาไปยุคไดโนเสาร์น่ะค่ะ
รบกวนขอ ชื่อนามสกุล คุณเสวก ได้ไหมครับ จะเอาไปอ้างอิงครับ
รบกวนขอ ชื่อนามสกุล คุณเสวก ได้ไหมครับ จะเอาไปอ้างอิงครับ
ขอบคุณครับ
nai_win@hotmail.com
เรียน คุณเสวก
ดิฉันกำลังทำ IS เกี่ยวกับความพึงพอใจ ซึ่งบทความนี้มีประโยชน์อย่างมากเลยค่ะหากจะรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยได้ไหมคะ
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าในความอนุเคราะห์ค่ะ
krajibb@hotmail.com
ขอบรรณานุกรมด้วยครับ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง
ส่วมาที่ s_iamnok@hotmail.com
จะรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยคนค่ะ
รบกวนส่งมาที่ natt.kaew@gmail.com
จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ
ขอขอบคุณที่ให้ข้อมูล เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง ขอความกรุณาขอทราบนามสกุลเพื่อไปจัดทำบรรณานุกรม มาที่ kipkea_golf@hotmail.com
เป็นอีกคนที่กำลังทำIS และรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยคนค่ะ ส่งมาได้ที่ pooksm@hotmail.com ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ขอบคุณสำหรับบทความที่ช่วยประหยัดเวลาในการค้นคว้ากำลังหาข้อมูลทำ IS เช่นกันค่ะ ขอบคุณมากที่ท่านได้ลงบทความนี้ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
ขอขอบคุณที่ให้ข้อมูล เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง ขอความกรุณารบกวนขอบรรณานุกรมด้วยคนค่ะรบกวนส่งมาที่ kilikijung@hotmail.com.com
จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
อขอบคุณที่ให้ข้อมูล เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง ขอความกรุณา รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยคนค่ะ
รบกวนส่งมาที่ kilikijung@hotmail.com
จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
บทความนี้ดีมากเลยคับ ผมกำลังเริ่มทำทีสีสอยู่คับ
รบกวนขอบรรรณานุกรมได้ไหมคับ
alamo0001@hotmail.com
ขอบคุณล่วงหน้าคับ..
ขอรบกวนบรรณานุกรมได้ไหมครับ ผมกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องความพึงพอใจ
ขอบคุณครับ
nophanit@hotmail.com
มีประโยชน์มาก ได้นำไปอ้างอิงในผลงานทางวิชาการแต่ยังขาดบรรณนานุกรมที่อ้างถึงในเอกสารนี้ ขอความอนุเคราะห์ส่งมาที่ warang_b@hotmail.com ด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง เพราะว่าดิฉันจะต้องส่งผลงานภายในวันที่ 20ส.ค.53 นี้คะ
บทความนี้เป็นประโยชน์มากกับผู้ที่กำลัง IS และจะเป็นพระคุณอย่างมากถ้าจะกรุณาในส่วนของบรรณานุกรมด้วยค่ะ
ขอบคุณมากกำลังทำการวิจัยเสนออาจารย์
ขอบคุณมากกำลังทำวิจัยเสนออาจารย์ครับขอบรรนุกรมด้วยครับ
ขอบคุณมากน่ะค่ะสำหรับข้อมูลนี้
รบกวนของบรรณานุกรมได้ไหมค่ะ
เพราะจะช่วยได้มากเลยกับงานวิจัย
หรือจะเป็นชื่อนานสกุลเต็มของคุณก็ได้ค่ะ
ดิฉันเมื่อสักครู่ที่ให้ความคิดเห็น
รบกวนส่งบรรณานุกรมหรือชื่อสกุลเต็มของคุณ
มาได้ที่ E-mail: artitaya_B@hotmail.com
ขอบคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ
รบกวนเช่นกันนะครับ
ขอเอกสารอ้างอิงด้วยครับ
กำลังทำ senior project ครับ
เป็นพระคุณอย่างสูงครับ
ขอบคุณครับ
กรุณาส่ง film_wish@hotmail.com
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
แต่ขอรบกวนส่งอ้างอิงได้มั๊ยค่ะ
จะใช้ทำงานวิจัยค่ะ
ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
sani_time@hotmail.com
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องความพึงพอใจอยู่เช่นกัน จะรบกวนขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบรรณานุกรมด้วยได้ไหมค่ะ อาจารย์ให้ทำบรรณานุกรมด้วย
ถ้าได้กรุณาส่งข้อมูลมาที่
ที่ E-mail: keadd_043@hotmail.com
ขอบพระคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ
หากรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยจะได้ไหมคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
kunnu_toon@hotmail.com
บทความนี้มีประโยชน์มาก อยากได้บรรณานุกรม
เกี่ยวกับความหมายของความพึงพอใจ ...ขอบคุณล่วงหน้าครับ
sumontri.cam@gmail.com
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความที่นำมาลงอย่างสูง อ่านแล้วรู้สึกว่าเขียนได้ดีมาก ขอให้ท่านเจ้าของบทความมีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป สำหรับคุณwat
คุณควรจะเข้าใจว่ายุคนี้เป็นยุคของไอที ควรจะเปิดกะลาที่ครอบตัวคุณอยู่ออกมาดูโลกภายนอกบ้างนะครับ การค้นคว้าข้อมูลทางอินเตอร์เนตสามารถนำไปอ้างอิงได้เหมือนกันครับ
รบกวนขอบรรณุกรมอีกคนค่ะ กำลังทำงานวิจัยส่งอาจารย์และเป็นผลงานวิจัยให้วิทยาลัยด้วยค่ะ ขอขอบพระคุณมากๆ และขอให้มีความสุขตลอดไปนะ
tuk_sweet@hotmail.com
ต้องส่งรายงานภายในวันนี้อะค่ะ
ผู้เขียนกรุณาอย่างยิ่งในการคัดเลือกความหมายมาให้เข้าใจกระจ่างที่สุด ถือเป็นประโยชน์อย่างมาก
แต่มีกลุ่มคนบางคน ประสงค์ที่จะขอบรรณานุกรม
ตกลงว่าที่พวกคุณขอ บรรณานุกรม เพื่อคัดลอกข้อความของผู้ตั้งกระทู้ไปทั้งกระบวนความแล้วนำไปใส่ใน IS หรือ TSIS แค่นั้นหรือคะ ยิ่งคนที่บอกว่าจะส่งอาทิตย์นี้ ขอด่วน เวลาก่อนหน้านี้พวกคุณใช้เวลากับอะไรถึง เพิ่งคิดจะทำ ยิ่งไม่มีความรับผิดชอบต่อตัวเองอย่างยิ่ง รู้สึกสงสาร และสังเวชกับวิธีการทำงานแบบนี้จริงๆ
กำลังทำผลงาน เกี่ยวกับความพึงพอใจ อยากรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยได้ไหมคะ
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าในความอนุเคราะห์ค่ะ
ทำงานวิจัยอยู่เหมือนกันคะ กำลังหาทฤษฎีสำหรับอ้างอิง และอยากได้บรรณานุกรมเหมือนกัน ยังไงรบกวนส่งให้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ
nok_tansita@hotmail.com
ทำงานวิจัยอยู่เหมือนกันคะ กำลังหาทฤษฎีสำหรับอ้างอิง และอยากได้บรรณานุกรมเหมือนกัน ยังไงรบกวนส่งให้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ
nok_tansita@hotmail.com
ขอบคุณสำหรับบทความนี้ครั ขออนุญาตนำไปใช้อ้างอิงครับ
ขอบคุณตะสำหรับความรู้ที่เผยแพร่
กรุณาอีกนิดขอบรรณานุกรมด้วยคะ
อีเมล์ pjplus8@hotmail.co.th
ขอขอบคุณสำหรับเนื้อหานะคะ
ขอรบกวนช่วยกรุณาส่งบรรณานุกรมให้ด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ
su_pumpim@hotmail.com
รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ
prayoonsri@hotmail.com
ขอบคุณมากค่ะ
รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยน่ะคะ่ ตอนนี้กำลังทำงานวิจัยอยู่กำลังต้องการเลยค่ะ
saeah_jaejoong@hotmail.com
น่าจะอ้างแหล่งที่มีของบทความด้วยว่ามาจากใหน....เป็นจริธรรมทางการศึกษาที่สำคัญยิ่ง อ่านเจอในงานวิจัยเรื่องหนึ่ง เจ้าของบล็อกคงทราบว่าของใคร
กำลังหาข้อมูลทำ IS เช่นกันค่ะ ขอบคุณมากที่ท่านได้ลงบทความนี้ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
chana_61@hotmail.com
กำลังทำ IS อยู่สนใจเรื่องนี้อยากได้บรรณานุกรมค่ะ สุธา
เป็นบทความที่มีประโยชน์มากครับ รบกวนช่วยส่งบรรณานุกรมให้ด้วยครับ ผมต้องทำ IS ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ
jedai_pak@hotmail.com
เป็นบทความที่มีประโยชน์มากครับ ช่วยได้เยอะจริงๆในการรวบรวมข้อมูล รบกวนช่วยส่งบรรณานุกรมให้ด้วยได้ไหมครับครับ ผมต้องทำ IS ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ หรือถ้าจะหาเองต้องทำยังไงครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับ LLOYDALITTE@HOTMAIL.COM
ท่านครับ ผมต้องการทรายความสำคัญของความพึงพอใจต่อการบริหารสถานศึกษาและองค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษา
ขอบคุณครับ
วิชิต
(ต้องการทราบด่วนครับท่าน)
รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยครับ
nattaetu@gmail.com
ขอบคุณมากครับ
กำลังทำ วิทยานิพน
รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ
ben117702@hotmail.com
ขอบคุณมากค่ะ
ขอบคุณสำหรับบทความเรื่องนี้ กำลังมองหาเพื่อเพิ่มทำวิจัย ขอให้ท่านได้รับผลบุญกุศลในการเผื่อแผ่วิทยาทาน แก่ผู้ที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ ขอบคุณคะ
namaoy_su@hotmail.com
ดิฉันเป็นนศ.อยู่ค่ะ กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับความพึงพอใจอยู่ กำลังหาทฤษฎีสนับสนุนงานอยู่ หากรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยจะได้ไหมคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
hiso_lanna@hotmail.com
กำลังทำสารนิพนธ์เรื่องความพึงพอใจอยู่เลยค่ะ ได้เจอข้อมูลดีๆแบบนี้ รบกวนขอบรรณานุกรมเพิ่มอีกคนนะคะ ขอบคุณมากค่ะ juna_scj@hotmail.com
รบกวนขอบรรณานุกรม ได้ไหมคะ พอดีทำ T-sis เรื่องนี้อยู่ค่ะ ส่งเมลมาที่ catchamameaw@hotmail.co.th นะคะ
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
รบกวนขอบรรณานุกรมได้ไหมคะ พอดีทำโทเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ค่ะ
ส่งมาได้ที่เมล tsmngkl@gmail.com
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
ขอความกรุณา ขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ ที่ vokvak_1@hotmail.com ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ
รบกวนขอบรรณานุกรมด้วยค่ะ กำลังทำวิจัยอยู่อ่าค่ะ ขอด่วนเลยนะคะ ส่งมาที่ shampoo_yk@hotmail.com ขอบคุณค่ะ
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ กำลังทำ IS อยู่ รบกวนขอบรรณานุกรมด้วย ขอบคุณมากคะ ส่งมาที่ tue2697@hotmail.co.th นะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
รบกวนขอบรรณานุกรมด้วย ขอบคุณมากคะ ส่งมาที่ seriver_id@hotmail.co.th ขอบคุณล่วงหน้าครับ
จะรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยได้ไหม ครับ
rengikung@hotmail.com
ขอบคุณครับ
ขอบพระคุณค่ะ รบกวนขอเอกสารอ้างอิงด้วยได้มั๊ยคะ
beer.nuntakarn@gmail.com
รบกวนขอบรรณนานุกรมด้วยค่ะ ran-dear@hotmail.com
ขอบรรณานุกรมด้วยครับผม ขอบคุรครับ i-gatz@hotmail.com
ขอขอบคุณบทความดีที่เผยแพร่ให้ทุกคนนะคะ ดิฉันกำลังทำวิจัย เป็นประโยชน์อย่างมากเลยคะ ยังไงรบกวนช่วยส่งบรรณานุกรมให้หน่อยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ Thippawon.thip@gmail.com
บทความมีประโยชน์มากค่ะ
จะรบกวนขอบรรณานุกรมด้วยได้ไหมคะเพราะ กำลังหาทฤษฎีสำหรับอ้างอิง ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
promsungwong@hotmail.com
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคับ
ผมก็กำลังทำวิจัย รบกวนขอบรรณานุกรมหน่อยนะค๊าบ
ขอบคุณค๊าบบ
manzathaitafan@gmail.com
ขอขอบพระคุณยิ่งสำหรับข้อมูลที่ดีมีประโยชน์ขอบคุณค่ะ
ดิฉันขอบพระคุณมากเกี่ยวกับความรู้ ครั้งนี้ ตอนนี้ทำวิจัย ต้องการบรรณานุกกรมค่ะ fufu_mu@hotmail.com ขอบคุณค่ะ
รบกวนขอบรรณานุกรมหน่อยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ pkjppk178@gmail.com
แสดงความคิดเห็น