การศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาวัยรุ่น
ความหมายของวัยรุ่น
มีผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับ”วัยรุ่น” ไว้หลายท่านดังนี้
เฮอร์ล็อค (Hurlock) (1949 อ้างถึงในเพ็ญรัตน์. 2524 :3) กล่าวถึงวัยรุ่น เป็นระยะที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการพัฒนาในด้านร่างกายและจิตใจ เป็นช่วงเวลาของการเจริญงอกงามและการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน คือ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม เป็นช่วงเวลาที่รับสิ่งใหม่ ๆ ทั้งทางด้านประสบการณ์ ความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมักจะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงจากวัยรุ่นไปสู่วัยผู้ใหญ่ในระยะแรก จึงดูเสมือนว่าปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นพร้อมกันในตัวเด็ก เด็กวัยรุ่นจึงไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อปัญหาเหล่านั้น
สุพัตรา สุภาพ (2525 : 42) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมวัยรุ่น ว่าเป็นวัยที่เริ่มแตกเนื้อหนุ่มสาว (Puberty) จนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อความเจริญด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น มีการแปรปรวนทางอารมณ์ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำ ให้มีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น รัก ชอบอะไร ก็รักจนหลง ชอบจนคลั่ง ที่เป็นเช่นนี้ เพราะมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย ถ้าผิดหวังหรือไม่ได้ดังใจจะเสียใจมาก หรือมีเรื่องกระทบกระเทือนเล็กน้อยก็จะหนีออกจากบ้าน บางรายถึงกับแสดงความอาฆาตพยาบาทหรือโต้ตอบอย่างรุนแรง ถึงขนาดยกพวกตีกัน ซึ่งบางครั้งผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ ทำให้เกิดปัญหาในการมีความสัมพันธ์ต่อกัน
จิราภรณ์ อารยะรังสฤษฎ์ (2526: 65) กล่าวถึง วัยรุ่นคือวัยที่สิ้นสุดความเป็นเด็กและกำลัง จะพัฒนาไปสู่วัยผู้ใหญ่ อายุประมาณ 13-20 ปี อาจกล่าวได้ว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญช่วงหนึ่งในชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญหา และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็มีผลทำ ให้วัยรุ่นขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และประสบปัญหาในการปรับตัว จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากวัยอื่น ๆ
โยธิน ศันสนยุทธ (2533 : 191-192) ได้กล่าวถึง วัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มในช่วงอายุตั้งแต่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (12-13 ปี) จนอายุที่เด็กสามารถมีงานทำ ซึ่งในแต่ละสังคมจะสิ้นสุดระยะอายุไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปวัยรุ่นจะสิ้นสุดระยะอายุประมาณ 20 ปี วัยรุ่นเป็นวัยที่เด็กมีพัฒนาการที่รวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การเปลี่ยนแปลงกลุ่มของสังคมหรือการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ทำ ให้เด็กต้องปรับตัว ซึ่งการปรับตัวนำ มาซึ่งความวิตกกังวล ความเครียดของอารมณ์ ความโกรธฯลฯ นักจิตวิทยา Stangley Hall เรียกระยะวัยรุ่นว่าเป็นวัยพายุบุแคม (Storm and Stress) นั่นก็คือ เด็กวัยรุ่นจะไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความขวัญผวาของอารมณ์ และอารมณ์ก็มักจะเป็นอารมณ์ที่รุนแรง มีความกดดันสูง และในสายตาของคนโดยทั่วไปก็เรียกว่า วัยรุ่น เป็นวัยของปัญหาวัยอลวนวัยรุ่น เพราะฉะนั้นวัยรุ่นจึงจัดเป็นวัยหนึ่งที่บุคคลในสังคมให้ความสนใจและคิดว่าเป็นปัญหาพฤติกรรมส่วนหนึ่งของสังคม
สุชา จันทน์เอม (2533 : 30) กล่าวถึง วัยรุ่นไว้ว่าเป็นวัยที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ความเชื่อมั่น ความต้องการ ตลอดจนความปรารถนาต่าง ๆ เป็นไปอย่างรุนแรงปราศจากความยั้งคิด ชอบทำ อะไรตามใจหรือตามความนึกคิดของตน ต้องการเป็นที่ยอมรับนับถือในหมู่เพื่อนฝูง โดยพยายามทำ อะไรให้คล้าย ๆ กัน เลียนแบบตามกัน จึงมีวัยรุ่นเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ได้ตกเป็นทาสของยาเสพติดจากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า วัยรุ่น เป็นวัยที่เริ่มตั้งแต่อายุ 12-20 ปี มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วหรือที่เรียกว่าพายุบุแคม (Strom and Stress) นี้ ส่งผลต่อการปรับตัว ความวิตกกังวล ความเครียดทางอารมณ์ ทำ ให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาโดยไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั่นเอง
พฤติกรรมวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีโอกาสเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนได้ง่ายมากที่สุด พฤติกรรมเบี่ยงเบนของวัยรุ่นมีตั้งแต่ความเบี่ยงเบนระดับน้อย ๆ เช่น ดื้อรั้น ก้าวร้าว จนกระทั่งพฤติกรรมเบี่ยงเบนระดับสูง เช่น การกระทำ ผิดของเด็กและเยาวชน
นักจิตวิทยา สรุปพฤติกรรมวัยรุ่น เนื่องมาจากความต้องการ 3 ประการได้แก่ (สุชา จันทน์เอม, ม.ป.ป. : 73)
1. ความต้องการทางกาย หรือความต้องการทางสรีระ ได้แก่ ความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต เช่น ความต้องการอาหารเพื่อบรรเทาความหิวกระหาย ความต้องการขับถ่ายของเสีย แต่ถ้าเขาไม่ได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจ ก็จะแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อให้ได้สิ่งที่ยังขาดอยู่
2. ความต้องการทางสังคม เพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมจึงต้องอยู่รวมกันเป็นสังคมแต่ละอย่างเป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ
3. ความต้องการทางใจ เป็นความต้องการที่เกิดความคิดมั่นใจว่าตนจะมีชีวิตอยู่รอดได้แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากความคิดหรือเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การต้องการความรัก ความมั่นคงปลอดภัย ความยกย่องนับถือ ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ และความต้องการเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ความต้องการของวัยรุ่น
วัยรุ่นมีความต้องการทางด้านจิตใจหรือความต้องการด้านอารมณ์ ความต้องการทางกาย และความต้องการทางสังคมแตกต่างไปจากเด็กเล็กและผู้ใหญ่ ความต้องการที่สำคัญดังที่ ฉวีวรรณ สุขพันธ์โพธาราม (2527 : 123-125) กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
1. ความต้องการอยากรู้อยากเห็น
2. ความต้องการความรัก
3. ความต้องการความปลอดภัย
4. ความต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม
5. ความต้องการได้รับอิสระ
6. ความต้องการที่จะหาเลี้ยงตนเอง
7. ความต้องการปรัชญาชีวิตที่น่าพอใจ
ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแรงจูงใจที่นำ ไปสู่การกระทำ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งในทางที่สังคมยอมรับหรือไปสู่พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่สังคมไม่ยอมรับ
ความสนใจของวัยรุ่น
วัยรุ่นมีความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจะมีมากโดยเฉพาะกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อนที่เป็นการสร้างประสบการณ์และบังเกิดผลดีด้านการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งฉวีวรรณ สุขพันธ์ - โพธาราม (2527 : 131-132) ได้กล่าวถึงความสนใจของวัยรุ่นไว้ดังนี้
1. สนใจเรื่องสุขภาพ
2. สนใจเรื่องเพศ
3. สนใจการเลือกอาชีพ
4. สนใจสันทนาการ
5. สนใจค้นคว้า
6. สนใจสร้างนิสัยการเรียนดี
7. สนใจเรื่องคุณสมบัติส่วนตัว
8. สนใจเรื่องปรัชญาชีวิต
จากลักษณะความต้องการและความสนใจของวัยรุ่นที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นเป็นระยะของการมีสภาพหลักการเหตุผล เขาต้องการให้ผู้ใหญ่มีหลักการเช่นเดียวกับเขาในบางครั้งความคิด ความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนรักและสนใจ เป็นเช่นที่เขาปรารถนา วัยรุ่นจะแสดงออกในลักษณะก้าวร้าว ดึงดัน ประชดประชันต่าง ๆ จนกลายเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน เช่น วัยรุ่นต้องการอยู่ในครอบครัวอบอุ่น รักปรองดองกัน ถ้าพ่อแม่มีปากเสียงกันจะเห็นว่าวัยรุ่นจะมีปฏิกิริยาความรู้สึกโต้ตอบรุนแรง เป็นการแสดงให้เห็นถึงการถูกขัดขวางความคิด ปรารถนาของวัยรุ่นขัดใจและแสดงปฏิกิริยาต่อต้าน ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ ใช้การบีบบังคับโดยไร้เหตุผล ยิ่งทำ ให้วัยรุ่นเกิดความคับข้องใจมากขึ้น จึงแสดงพฤติกรรมเบี่ยงเบนออกมา เช่น หนีไปมั่วสุมกับเพื่อนชอบเที่ยวไม่อยากอยู่บ้าน ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา
พฤติกรรมที่เป็นปัญหา
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของวัยรุ่นจะมาจาก 6 ปัจจัย ดังที่ ฉวีวรรณ สุขพันธ์โพธาราม (2527. : 138-140) กล่าวไว้ดังนี้
1. เกิดจากตัวเด็กเอง คือ สภาพทางร่างกายและปัญหาส่วนตัว อาจจะมาจากสาเหตุ ดังนี้
1.1 อาหาร การขาดอาหาร ได้อาหารไม่เพียงพอ
1.2 ปัญหาโรคทางกายเฉพาะตัว
1.3 ความพิการหรือความบกพร่องของบุคลิกภาพ
1.4 เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางบุคลิกภาพ มีวุฒิภาวะตํ่า มีปัญหาทางด้านการปรับตัว
1.5 ความกดดันและผิดปกติของอารมณ์เพศ
2. เกิดจากความบีบคั้นทางใจ นับจากสภาพแวดล้อมใกล้ชิด คือ ครอบครัวและภาวะสังคมรอบตัวที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
2.1 สภาพครอบครัวยุ่งเหยิง พ่อแม่ไม่ปรองดองกัน ทะเลาะเบาะแวงกัน
2.2 ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่แยกทางกัน เด็กไม่อาจหาที่พึ่งยึดเป็นแบบแผนได้
2.3 ความบีบคั้นที่ได้รับมีมากมาย นับจากพ่อแม่ไม่มีเวลาสนใจ เอาใจใส่ลูกเด็กว้าเหว่
3. สภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับ เช่น สภาพที่ตั้งของบ้าน โรงเรียน เด็กขาดตัวอย่าง และการชักนำ ไปในทางเสื่อมเสียเป็นส่วนใหญ่
4. กลุ่มเพื่อน การทำ ตามค่านิยมกลุ่มในทางที่ผิด เป็นสาเหตุสำคัญของการกระทำ ผิดของวัยรุ่นได้มาก
5. สภาพเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชนที่ทรุดโทรม เป็นเหตุใหญ่ที่สุดของคดีอาชญากรวัยรุ่น
6. สื่อมวลชน หนังสือต่าง ๆ ที่มีจำ หน่ายมากมายไม่ได้รับการควบคุมอย่างจริงจัง
สาเหตุการทำ ความผิดของเยาวชนเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาดูเรื่องราวและสาเหตุอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมไปในทุก ๆ ด้าน ด้านที่เกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตของเยาวชนแต่ละ คนและพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน จึงจะสรุปและหาแนวทางแก้ไข และป้องกันให้เหมาะสมกับการกระทำ ผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทุกองค์กรนับแต่ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทั้งฝ่ายรัฐและเอกชน
ปัญหาประเภทต่าง ๆ ของนักเรียนวัยรุ่น
นักเรียนแต่ละคนที่เข้ามาอยู่ร่วมกันในสังคมในโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อม และบุคลิกภาพของนักเรียนที่แตกต่างกัน อาจนำ ไปสู่ปัญหา หรือทำ ให้เกิดการปรับตัวที่ผิดแผกจากการยอมรับของสังคมได้ นักเรียนวัยรุ่นที่ก่อคดีในห้องเรียนที่จะกล่าวถึงนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดเบื้องต้นทางด้านพฤติกรรม ซึ่งไม่เป็นผลรุนแรงต่อการจะต้องโทษทางอาญามีดังนี้
1. ปัญหาทางด้านการเรียน มีดังนี้
1.1 ความไม่เข้าใจบทเรียนของนักเรียน
1.2 วางแผนการเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนให้เหมาะสมกับสติปัญญาและความถนัดของเด็ก
1.3 ปัญหาทางด้านส่วนตัว พฤติกรรมที่แสดงออกที่เป็นปัญหา มีดังนี้
1.3.1 ความผิดปกติทางนิสัย
1.3.2 การมีนิสัยสะเพร่า
1.4 มีความไม่ซื่อสัตย์ ทำ การทุจริต ลักขโมย
2. ปัญหาการบีบคั้นทางจิตใจ อันเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ มีดังนี้
2.1 ลักษณะอาการทางด้านประสาท
2.2 อาการเฉื่อยชา เหม่อลอย
2.3 อาการช่างกังวล
2.4 ลักษณะความไม่มั่นใจด้วยการยํ้าคิด
2.5 อาการยํ้าทำ
3. ปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ
3.1 ความกังวลเรื่องบุคลิกลักษณะของตน
3.2 การแสดงความเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก
3.3 การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัย
3.4 การแสดงพฤติกรรมไม่สมกับเพศหรือที่เรียกว่า กะเทย
การแก้ไขปัญหาวัยรุ่น
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2529: 1) กล่าวถึงการให้คำ ปรึกษาว่าเป็นกระบวนการที่แสดงถึงมนุษยสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อนระหว่างบุคคล โดยผู้ให้คำ ปรึกษาจะให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษา แก่ผู้มารับคำ ปรึกษา เพื่อให้บุคคลที่มารับคำ ปรึกษาเข้าใจปัญหาหรือเรื่องราวที่นำ มาปรึกษา สามารถใช้พลังปัญญาและความสามารถของตนเองในการตัดสินใจ ตกลงที่จะเลือกจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดในวิถีทางที่เหมาะสมที่เขาปรารถนา ในที่สุดบุคคลที่มาขอรับคำ ปรึกษาจะสามารถป้องกันปัญหา แก้ปัญหาและพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม
ผกา สัตยธรรม (2535, 175-188) กล่าวว่าการส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดีนั้นเป็นการกระทำ ที่ควบคู่ไปกับการป้องกันไม่ให้เด็กสุขภาพจิตเสีย หรือสุขภาพจิตไม่ดี การส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กนั้น มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ด้วย คือ บิดามารดา ครู อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องกับเด็กในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. บิดามารดาควรส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกายดี เพราะผู้ที่จะมีสุขภาพจิตดีได้ต้องอาศัยการมีสุขภาพกายดีเป็นเบื้องต้น ซึ่งตรงกับคำ กล่าวที่ว่าสุขภาพจิตที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ การไม่ปล่อยให้เด็กอดอยากขาดอาหาร เป็นต้น ทางโรงเรียนก็ควรช่วยจัดรายการอาหารกลางวัน สำ หรับเด็กที่ไม่มีอาหารรับประทานด้วย
2. บิดา มารดา ครูอาจารย์ ควรฝึกให้เด็กมีอารมณ์เย็น อารมณ์ดี เป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความแจ่มใสร่าเริงเบิกบาน เมื่อเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียว ควรอธิบายให้เข้าใจถึงความไม่ดีของความโกรธ เพราะเป็นการเกิดโทษแก่ตนเอง เช่น อาจทำ ให้หัวใจเต้นแรง ควบคุมสติไม่อยู่ เกิดความทุกข์แก่ตนฝ่ายเดียว
3. ฝึกให้เด็กรู้จักตนเองอย่างแท้จริงในด้านต่าง ๆ เช่น รู้จักนิสัยของตนเอง รู้จักพิจารณาตนเองว่ามีข้อดีข้อเสียที่จะต้องแก้ไขอย่างไร อาจเขียนข้อดี ข้อเสีย ข้อเสนอแนะที่จะแก้ไขให้มีนิสัยดีขึ้น และปฏิบัติในสิ่งที่ดีขึ้นต่อไป
ทศพร ประเสริฐสุข (2542 : 101-105) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กสรุปได้ว่า ปัญหาของเด็กในโรงเรียนมีตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยไปจนถึงปัญหาใหญ่ ๆ เด็กที่มีปัญหา หรือเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม เป็นเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และไม่เป็นที่ยอมรับของครู เช่น ส่งเสียงดังขณะที่ครูสอน ไม่ทำ งานที่ครูมอบหมาย บางพฤติกรรมอาจก่ออันตรายแก่เพื่อนร่วมชั้นและต่อตัวนักเรียนเอง เช่น การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ทำ ลายทรัพย์สินของผู้อื่น ก่อกวนชั้นเรียน จนทำ ให้กิจกรรมการเรียนการสอนต้องหยุดชะงัก เป็นต้น บางลักษณะอาจเป็นพฤติกรรมทางด้านการถดถอย หลีกหนีจากความจริง เพ้อฝันหรือเซื่องซึม เป็นต้น
ในทางจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมทุกชนิดย่อมมีสาเหตุ เมื่อครูพบพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอาจจะวิเคราะห์ได้จากสาเหตุที่เกิดดังนี้
1. พัฒนาการทางกาย ได้แก่ ความไม่ครบถ้วน ความสมบูรณ์ของอวัยวะ เช่น พิการ ตาบอด ขาด้วน ผอมเกินไป อ้วนเกินไป
2. พัฒนาการทางสังคม ได้แก่ สังคมในครอบครัว สังคมรอบๆ ตัว เพื่อน ๆ เพื่อนบ้าน ครอบครัวที่พ่อแม่แตกแยกหรือครอบครัวที่อบอุ่น จะมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก
3. พัฒนาการทางจิตใจ ได้แก่ สะเทือนใจอย่างรุนแรงเนื่องจากพ่อแม่ตายตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว หน้าตาขี้เหร่ มีแผลเป็นชัดเจน เกิดในครอบครัวที่ตํ่าต้อย ครอบครัวยากจนถูกบีบคั้นมาก พ่อแม่ไม่ให้ความสนใจ เป็นต้น เด็กที่มีพัฒนาการทางจิตใจดี สุขภาพจิตก็จะดี มองคนในแง่ดี เป็นคนรักคนอื่น พร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด
บทสรุป เมื่อพบนักเรียนที่มีปัญหาในโรงเรียนสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ พฤติกรรมทุกชนิดต้องมีสาเหตุ ทางที่ดีแล้วควร หาพฤติกรรมนั้นเกิดมาจากสาเหตุใด โดยวิเคราะห์จากสถานการณ์ในอดีตและปัจจุบันของเด็ก ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของเด็ก เมื่อทราบสาเหตุแล้วอาจจะใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยการให้คำ ปรึกษาทางจิตวิทยา การปรับพฤติกรรม ฯลฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กลดการกระทำที่เป็นปัญหาลง
เบญจพร ปัญญายง (อ้างในกรมสุขภาพจิต 2544 : 14-19) กล่าวถึงการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน สรุปได้ว่า ปัญหาทางจิตเวชในเด็กพบประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั่วไป เด็กบางคนเท่านั้นที่ต้องการประเมินสภาพจิตและรักษาในคลินิก แต่โดยส่วนใหญ่พ่อแม่และครูแนะแนวสามารถให้การช่วยเหลือได้ โดยให้คำ แนะนำ ในระยะเริ่มแรกก่อนเกิดปัญหารุนแรง หลังจากมีโปรแกรมการเฝ้าระวังโรคทางจิตเวชที่ดีทำ ให้พบปัญหาสุขภาพจิตในเด็กจำนวนมากขึ้น การช่วยเหลือจะได้ผลดี ถ้าทีมผู้รักษามีความตั้งใจในการช่วยเหลือ ให้กำลังแก่เด็กและพ่อแม่ เมื่อครูประจำชั้นพบเด็กที่มีปัญหาควรทำ ความตกลงและวางแผนร่วมกับพ่อแม่จากนั้นแนะนำ เข้าโปรแกรมเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต ควรหลีกเลี่ยงที่จะระบุว่าเด็กมีปัญหา ถ้าปัญหานั้นยังไม่รุนแรงและมีอาการช่วงสั้น ๆ ครูและครูแนะแนวที่ผ่านการฝึกงานหรือการอบรมทางสุขภาพจิตสามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ และถ้าหากยังไม่ได้ผลจึงส่งต่อเพื่อพบจิตแพทย์เด็กต่อไป
ศูนย์การศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาส คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อ้างถึงในสารปฏิรูป, 2545 : 18-22) ได้ระบุว่าปัจจุบันมีเด็กไทยติดยาบ้าถึง 6 แสนคน และได้ศึกษาวิจัยเจาะลึกพฤติกรรมเด็กเที่ยว เด็กเสพยาและเด็กขายบริการที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก พบว่าเด็กเหล่านี้มีปัญหาความไม่มั่นคงทางด้านอารมณ์และจิตใจ จนกระทั่งได้รับการเรียกขานว่าเป็น “เด็กไทยพันธุ์ใหม่” นอกจากนี้ยังมีเด็กอาชีวะ ยกพวกตีกันและทำ ร้ายนักเรียนต่างสถาบันเกิดขึ้นเป็นประจำ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า เด็กและเยาวชนไทยจำนวนไม่น้อยกำลังประสบภาวะปัญหาด้าน “อีคิว” ตกต่ำอย่างรุนแรงและไร้ภูมิต้านทานทางอารมณ์ ในการพัฒนาอีคิวนั้นโรงเรียนเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้เกิดขึ้นกับเด็ก เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนอย่างน้อย 9-12 ปี เป็นช่วงอายุที่เหมาะสมต่อการพัฒนาทักษะทางด้านอีคิว
การพัฒนาอีคิวให้แก่เด็กนักเรียนสามารถบูรณาการได้ในแทบทุกรายวิชาและทุกระดับชั้น โดยครูอาจจะต้องเลือกและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียน อาทิ สุขศึกษาสอนให้เด็กรู้จักตนเองทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฝึกการพูดและเขียนที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกวิทยาศาสตร์ ให้เด็กแบ่งกลุ่ม ทำงานร่วมกับเพื่อนเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและการแบ่งปัน ประวัติศาสตร์เลือกตัวละคร ในประวัติศาสตร์ที่มีบุคลิกต่างๆ กันทั้งที่มีอีคิวดีและ อีคิวตํ่า ให้นักเรียนวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเหล่านั้น เป็นต้น นอกจากการ บูรณาการแล้วยังสามารถจัดค่ายนอกสถานที่เพื่อฝึกทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความมีนํ้าใจ และการสร้างเสริมระเบียบวินัย ดังที่ได้มีหน่วยงานบางแห่งในขณะนี้จัดกิจกรรมค่ายเด็กอาชีวะและค่ายเด็กติดยาเสพติด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหา และสร้างค่านิยมใหม่ในทางบวกให้แก่เด็กจากเอกสารข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สรุปได้ว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่จะเลือกทิศทางเดินของตนเอง ถ้าวัยรุ่นได้รับการเลี้ยงดูในวัยเด็กเป็นอย่างดี เขาจะก้าวไปสู่วัยผู้ใหญ่ด้วยความมั่นคง แต่ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูเขาไม่ดี เด็กขาดความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย จากพ่อแม่ และถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดีอีกด้วยแล้ว โอกาสที่เด็กจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมย่อมมีมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเด็กขาดประสบการณ์หรือขาดความยั้งคิดตามลักษณะของวัยรุ่นที่เรียกว่าวัยพายุบุแคม ดังนั้นสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องหันมาให้ความสนใจวัยรุ่นกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ ครอบครัว พ่อแม่ต้องให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูก ปรับปรุงสภาพครอบครัวให้น่าอยู่อาศัย สร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอย่างมีคุณภาพ ในขณะที่โรงเรียนก็ต้องมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าการให้ความรู้เพียงอย่างเดียว คือต้องมีส่วนร่วมในการให้ความรู้ สร้างทักษะทางสังคมและความสามารถในการปรับตัวให้กับวัยรุ่น เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติต่อไป
3 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมากครับ ที่ได้อธิบายและรวบรวม จิตวิทยาวัยรุ่น
เป็นประโยชน์มากในการสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองและคุณครู ต้องสนใจ เอาใจใส่วัยรุ่นมากขึ้นอีก ขอแสดงความคารวะ จากบาทหลวง ชวินทร์ เสงี่ยมแก้ว
ขอคุณมากครับ
สาระดีมากครับ
แสดงความคิดเห็น